Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21231
Title: ผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อความเชื่อมั่นในตนเองของกลุ่มสตรีในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการ
Other Titles: Effects of organizing non-formal education activities on self-confidence of women in Kredtrakarn Protection and Occupational Development Center
Authors: ภานุพันธุ์ ประสิทธิคุณาพร
Advisors: อาชัญญา รัตนอุบล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Archanya.R@Chula.ac.th
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) เพื่อนำเสนอกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อ ความเชื่อมั่นในตนเองด้านทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มสตรีในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการ โดยใช้แนวคิดการพูดด้านบวกและกิจกรรมดนตรี (2) เพื่อเปรียบเทียบผลของความเชื่อมั่นในตนเองด้านทัศนคติและพฤติกรรม ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มสตรีในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการ ที่ได้รับกิจกรรมการเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง (3) เพื่อเปรียบเทียบผลความเชื่อมั่นในตนเองด้านทัศนคติและพฤติกรรม ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมของกลุ่มสตรีในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มสตรี ในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการ จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองซึ่งจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ตามแนวคิดการพูดด้านบวกและกิจกรรมดนตรีบำบัด จำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุมไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ จำนวน 20 คน การจัดกิจกรรมมีระยะเวลา 15 วัน วันละ 2 ชั่วโมง รวมเป็นเวลา 30 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือ ที่ใช้ในการทดลอง เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความเชื่อมั่นในตนเองด้านทัศนคติ และ แบบวัดความเชื่อมั่นในตนเองด้านพฤติกรรม และเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนใช้แนวคิดการพูดด้านบวกและกิจกรรมดนตรีบำบัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่า t (t-test) โดยโปรแกรม SPSS Version 16.0 ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการของกิจกรรม ได้แก่ (1) การสำรวจเพื่อค้นหาความต้องการ (2) การออกแบบกิจกรรม (3) การจัดกิจกรรม (4) การประเมินผลการเรียนรู้ 2. ผลการทดลองจัดกิจกรรม พบว่า หลังเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มทดลองมีระดับความเชื่อมั่นในตนเอง สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ด้านการกล้าแสดงออก และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการทดลองจัดกิจกรรม พบว่า หลังเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มทดลองมีระดับความเชื่อมั่นในตนเอง สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. จากการสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการ และแบบวัดความเชื่อมั่นในตนเองด้านพฤติกรรม พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีระดับความเชื่อมั่นในตนเองสูงขึ้น
Other Abstract: The purposes of the study were to (1) propose the non-formal education activities on the participant’s self- confidence in term of their attitudes and behaviors, (2) compare the results between pre-test and post-test of the participants’ self-confidence, and (3) compare the results between the experimental group and controlled group of the participants. The research methodology was Quasi Experimental design. The research samples were 40 women in Kredtrakarn Protection and Occupational Development center. The samples comprised of 2 groups: the experimental group and the controlled group with 20 samples each. Activities were organized for fifteen days, two hours per day, totally thirty hours. Research instruments were the self-confident form in attitude, the self-confident form in behavior, and non- formal education activities. The activities were organized based on positive approach and music therapy. The data were analyzed by using means , Standard Deviation (S.D.), and independent-samples t (t-test) with SPSS version 16.0 program. The results revealed that: 1. The program’s processes were; (1) needs finding, (2) activities design, (3) activities management, and 4) learning evaluation. 2. There were significantly differences of the pre-test and the post-test of the experimental group. The post-test was higher than the pre-test at the .05 level (of significance). 3. There were also significantly differences of the post-test of the experimental group and the controlled group. The post-test of the experimental group was higher than the controlled group at the .05 level (of significance). 4. According to the results from the non-participative observation, staffs’ interview, and the self- confident form in behavior, most of the participants had increased their self-confidence.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21231
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
panuphan_pr.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.