Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22022
Title: พัฒนาการของกลบทในวรรณคดีไทย
Other Titles: Development of konlabot in Thai literature
Authors: กีรติ ธนะไชย
Advisors: ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Cholada.R@Chula.ac.th
Subjects: กลบท
วรรณคดีไทย
กวีนิพนธ์ไทย
Thai literature
Thai poetry
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาพัฒนาการของกลบทในวรรณคดีไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลบท การใช้กลบท จำแนกประเภทของกลบท วิเคราะห์การสืบสรรค์และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลบทกับการเสนอเนื้อหาในวรรณคดีไทย ทั้งนี้ได้เลือกศึกษาวรรณคดีไทยภาคกลางตั้งแต่สมัยอยุธยา (พุทธศักราช 1893) ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ (พุทธศักราช 2553) โดยศึกษาวรรณคดีลายลักษณ์ร้อยกรองเฉพาะที่ปรากฏกลบทแทรกอยู่ในเรื่อง และแต่งเป็นกลบททั้งเรื่อง วรรณคดีที่เลือกมาศึกษามีจำนวนรวมกันทั้งสิ้น 235 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า กลบทเป็นกลวิธีทางวรรณศิลป์ในวรรณคดีที่ได้รับการสืบทอดและสร้างสรรค์มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีกำเนิดขึ้นมาจากความรู้ความเข้าใจลักษณะภาษาไทย ลักษณะคำประพันธ์ไทย การสังเคราะห์องค์ความรู้ทางประพันธศาสตร์บาลีสันสกฤต รวมทั้งยังเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการสร้างเสพวรรณคดีที่เน้นการอ่านและการฟัง อันเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิดการสร้างสรรค์และเผยแพร่กลบท ฉันทลักษณ์ที่เล่นกลบทได้หลากหลายคือกลอน โคลงสี่ทั้งแบบดั้นและสุภาพ และกาพย์ฉบัง 16 ทั้งนี้ กลอนเป็นฉันทลักษณ์ที่สามารถยักเยื้องเสียงและคำเพื่อสร้างลักษณะกลได้ไม่จำกัด วิธีเล่นกลบทในกลอนจึงทำได้มาก ปรากฏชัดเจนและโดดเด่นโดยเฉพาะในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กลบทในวรรณคดีจำแนกได้เป็น 5 ประเภท คือประเภทบังคับเสียง บังคับคำ บังคับเสียงและคำ บังคับอักขรวิธี และบังคับฉันทลักษณ์ กลบทประเภทบังคับคำมีใช้แพร่หลายในคำประพันธ์ทุกประเภทและมีชนิดย่อยมากที่สุด นอกจากนี้ การแต่งกลบทอาจแต่งแทรกไว้ในเนื้อหาตอนต่างๆ ของเรื่อง และแต่งเป็นกลบททั้งเรื่องเพื่อแสดงฝีมือของกวี ความต่อเนื่องและพัฒนาการด้านรูปแบบของกลบทที่พบในวรรณคดีตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ทำให้ประจักษ์ว่ากลบทเป็นวิธีการพิเศษซึ่งกวีใช้แสดงความสามารถ ที่มีมากกว่าการแต่งตามกฎเกณฑ์ของฉันทลักษณ์ ในด้านที่สัมพันธ์กับวรรณศิลป์ กลบทมีส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างสุนทรียภาพในเรื่องเสียง ทั้งเสียงสัมผัสและจังหวะของเสียงในคำประพันธ์ เรื่องคำและความหมายของคำ รวมทั้งมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาที่กวีต้องการเสนอด้วย โดยกวีใช้กลบทเพื่อเน้นย้ำความ ใช้กลบทเพื่อเสริมให้การพรรณนารายละเอียดที่มีขอบเขตเฉพาะมีความโดดเด่นยิ่งขึ้น ทั้งความงามของตัวละคร และความงามของฉากและบรรยากาศ ใช้กลบทเพื่อพรรณนาอารมณ์ความรู้สึกด้านต่างๆ ของทั้งกวีและตัวละครในวรรณคดี และใช้กลบทเพื่อประโยชน์ในการดำเนินเรื่องทั้งการเล่าเหตุการณ์ การสรุปเหตุการณ์ การเน้นเหตุการณ์สำคัญของเรื่อง และการเน้นปฏิสัมพันธ์ของตัวละครสำคัญ การใช้กลบทในวรรณคดีจึงมิใช่เรื่องที่จำกัดอยู่เพียงการแสดง “ฝีมือ” และ “ปัญญา” ในเชิงประพันธศาสตร์อย่างเดียว วิธีเลือกสรรคำให้สอดคล้องกับชนิดกลบท ประเภทคำประพันธ์ และเนื้อความที่ต้องการสื่อสารจึงนับเป็น “ศาสตร์” สำคัญที่กวีผู้ชำนาญภาษาต้องเรียนรู้ให้ลึกซึ้ง สมกับที่วรรณคดีเป็นสมบัติและงานศิลปะชั้นเลิศของแผ่นดิน
Other Abstract: To study the development of konlabot in Thai literature regarding the technique, its use, and its various types as well as to analyze the perpetuation of the technique and to study the relationship between konlabot and the presentation of content in Thai literature. Pertaining to this, Thai literature of the central region of the Ayuthya period (B.E. 1893) to the Rattanakosin period (B.E. 2553) was selected for the study, comprising a total number of 235 written pieces of verse/poetry type of literature. Konlabot is featured in parts of some, and in others konlabot is featured throughout the whole piece. The study has found that konlabot is a language art strategy in Thai literature that has been created and perpetuated from times past up to the present. It originated with the knowledge and understanding of the Thai language, the characteristics of Thai literary compositions, and the synthesis of the arts of literary composition in Pali and Sanskrit. It is also related to the process of creating literature that focuses on reading and listening, an important factor that lead to the creation and perpetuation of konlabot. Various kinds of Thai verse including klon, kloang, and kaap lend themselves to the use of konlabot. This is particularly true with klon as its prosody enhances the technique in unlimited ways. Konlabot was especially prominent and prevalent in the literary work of early the Rattanakosin period. There are five types of konlabot in literature: sound specified, word specified, sound and word specified, orthography specified, and prosody specified. The first type is used in all types of verse and incorporates the largest of the sub-types. Konlabot may appear at some points of the work or the whole piece of work may be composed using the konlabot technique which reflect the skills of the poet. The perpetuation/ continuation and the development of various types of konlabot found in literature, both in the past and present, prove that konlabot is a special strategy that poets use to show their ability to compose literary work beyond the ability to simply follow the conventional prosody. Regarding the relationship between konlabot and language art, konlabot plays a major role in adding to the literary aesthetics via the sounds, both in the rhymes and the rhythms, and via the words and their meaning. Konlabot is also related to the content that the poets want to present. It is used to give emphasis and to elaborate on particular descriptions that enhance the beauty of the characters as well as the scenes and atmosphere. It is used to describe the feelings and the emotions of the poets themselves as well as those of the characters in the work. Konlabot is also used to tell the story by providing a summary or an emphasis on certain events and/or the interaction between the lead characters. The use of konlabot in literature is not limited to the show of only “skills” or “intellect” of the art of the composition. The choice of words to correlate with the type of konlabot, the type of verse, and the content meant to be communicated is considered a serious challenge and a magnificent art that poets well-versed in the language need to learn in depth, as the literature is one of Thailand’s cultural treasures and a priceless work of art.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22022
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.545
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.545
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
keerati_dh.pdf10.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.