Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22393
Title: การศึกษาเปรียบเทียบการรับทราบข่าวสารและความรู้ ระหว่างผู้ใช้กับผู้ไม่ใช้ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านถ้ำคะนอง ตำบลสากเหล็ก อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
Other Titles: A comparative information assimilation of users and nonusers of book reading center in Muban Thamkhanong Thambon Sklek Amphoe Muang-Phichit Chamgwat Phichit
Authors: สุมน ชูประสิทธิ์
Advisors: สุพรรณี วราทร
เยาวดี วิบูลย์
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผู้ใช้และผู้ไม่ใช้ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านถ้ำคะนอง ตำบลสากเหล็ก อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร เกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวสภาพการใช้มูลเหตุของการมาใช้หรือไม่มาใช้ และปัญหาที่ประสบในการมาใช้ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน และเปรียบเทียบการรับทราบข่าวสารและความรู้ระหว่างกลุ่มผู้ใช้และผู้ไม่ใช้ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านนี้ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านถ้ำคะนอง ตำบลสากเหล็ก อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป การศึกษาจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และไม่ได้ศึกษาต่อ ไม่เคยย้ายถิ่นฐาน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มผู้ใช้และกลุ่มผู้ไม่ใช้ กลุ่มผู้ใช้คือประชากรที่มาใช้ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านอย่างสม่ำเสมอเฉลี่ยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือมากกว่าจำนวน 95 คน และกลุ่มผู้ไม่ใช้คือประชากรที่ไม่เคยมาใช้ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านเลยจำนวน 71 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบทดสอบใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้และผู้ไม่ใช้ในด้านต่างๆ แบบทดสอบใช้สำหรับหาข้อมูลเกี่ยวกับการรับทราบข่าวสารและความรู้และผู้ใช้และผู้ไม่ใช้ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยคำนวนหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยแสดงว่า ผู้ใช้ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านเป็นชายมากกว่าหญิง ผู้ใช้ส่วนใหญ่มีอายุ 40-49 ปี และจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มาแล้ว 16 ปีขึ้นไป นอกเหนือจากการได้รับความรู้และข่าวสารจากที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านแล้วผู้ใช้ได้รับความรู้และข่าวสารจากผู้ใหญ่บ้านและครูใหญ่มากกว่าแหล่งอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถหาหนังสือพิมพ์อ่านได้นอกจากในที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน คือที่ร้านกาแฟหรือร้านอาหาร รองลงมาคือ ที่บ้านของตนเอง ผู้ใช้ส่วนใหญ่เข้าใช้ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านสัปดาห์ละ 2-6 ครั้ง โดยมีช่วงเวลาเข้าใช้ไม่แน่นอน และให้ความเห็นว่ามีความสะดวกในการเข้าใช้ในระดับมาก ผู้ใช้มีเหตุผลหลายประการในการมาใช้ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน ที่สำคัญได้แก่ มีเวลาว่างมากคิดเป็นร้อยละ 78.95 รองลงมาคือ ชอบอ่านหนังสือและต้องการอ่านหนังสือเก่งขึ้นคิดเป็นร้อยละ 75.79 และ 60.00 ตามลำดับ ผู้ใช้สนใจอ่านหนังสือพิมพ์มากที่สุด โดยอ่านข่าวในประเทศมากกว่าเรื่องอื่นๆ ในสารการศึกษานอกโรงเรียน ผู้ใช้สนใจอ่านเรื่องงานอาชีพ เรื่องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และวัฒนธรรมในระดับมาก เรื่องอื่นๆ สนใจในระดับปานกลาง ในสารการศึกษานอกโรงเรียนฉบับประชากรศึกษา ผู้ใช้สนใจอ่านความรู้เพื่อนำไปประกอบอาชีพในระดับมาก เรื่องอื่นๆ สนใจในระดับปานกลาง สำหรับข่าวเกษตรผู้ใช้สนใจอ่านปัญหาเกษตรกรในระดับมาก เรื่องอื่นๆ สนใจในระดับปานกลาง สำหรับผู้ไม่มาใช้ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านเป็นหญิงมากกว่าชาย ส่วนใหญ่มีอายุ 30-39 ปี และจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มาแล้ว 16 ปี ขึ้นไป ผู้ไม่ใช้ได้รับความรู้และข่าวสารจากผู้ใหญ่บ้านมากกว่าแหล่งอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถหาหนังสือพิมพ์อ่านได้จากที่บ้านตนเอง และจากร้านกาแฟหรือร้านอาหารตามลำดับ สาเหตุสำคัญบางประการที่ผู้ไม่ใช้ ไม่มาใช้ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านคือ มีภาระมากจนไม่มีเวลามาอ่านหนังสือในที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน และมีปัญหาด้านสุขภาพหรือสายตา ผลการศึกษาเปรียบเทียบการรับทราบข่าวสารและความรู้ของกลุ่มผู้ใช้และผู้ไม่ใช้ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน จากการทดสอบพบว่าผู้ใช้มีการรับทราบข่าวสารและความรู้มากกว่าผู้ไม่ใช้ซึ่งตรงกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ พิจารณาตามเนื้อหาพบว่าผู้ใช้มีการรับทราบข่าวสารและความรู้ในหมวดการอนามัยและการพยาบาลเบื้องต้น หมวดความรู้เกี่ยวกับอาชีพหมวดความรู้ในหน้าที่ตนต่อชุมชน และหมวดการวางแผนครอบครัว มากกว่าผู้ไม่ใช้ แต่ในหมวดเหตุการณ์บ้านเมืองท้องถิ่นและประเทศในปัจจุบัน และหมวดกฎหมายที่บุคคลควรรู้ทั้งผู้ใช้และผู้ไม่ใช้มีการรับทราบข่าวสารและความรู้ใน 2 หมวดนี้ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เพื่อแก้ปัญหาและปรับปรุงที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน ผู้วิจัยเสนอแนะดังนี้คือ ด้านวัสดุการอ่าน ควรผลิตหรือจัดหาหนังสือชนิดพิเศษสำหรับผู้มีปัญหาด้านสายตา และผู้ที่อ่านหนังสือไม่คล่อง เร่งรัดการผลิตและการจัดส่งเอกสารต่างๆ ให้แก่ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านต่างๆ รวมทั้งขอความร่วมมือในการจัดหาเอกสารต่างๆ ด้านการดำเนินงาน ควรจัดให้มีคณะกรรมการดำเนินงานที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านเป็นวาระคือ 2-3 ปี จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ชักชวนให้มีผู้มาใช้บริการมากขึ้น รวมทั้งสำรวจความต้องการของผู้ใช้ เพื่อให้ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดพิจิตรทำงานได้มีประสิทธิภาพขึ้น และสนองความปรารถนาของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี
Other Abstract: The purpose of this research was to study the users and nonusers of the book reading center in Muban Thamkhanong, Thambon Saklek, Amphoe Muang-Phichit, Changwat Phichit, on personal background, nature of using, reasons for use and not use, and problems in using the book reading center; and to compare the information assimilation and knowledge between the users and nonusers. The population used in this research were 166 people, living in the purpose area who were 15 years old and over, did not continue their education after having finished Prathomsuksa 4 and had never moved out of the village. The population were divided into 2 groups; users and nonusers. The users were those who used the reading center regularly at least once per week. Nonusers were those who did not use the reading center at all. The research tools were questionnaire and test. The questionnaire was used for acquiring data on users in various aspects. The test was used for acquiring data on information assimilation and knowledge of users and nonusers. Statistical analysis was done through the use of percentage, mean, standard deviation and t-test. The research result showed that males used the reading center more than females. Most of the users were 40-49 years old, and had finished Prathomsuksa 4 over 16 year ago. Users not only gained knowledge and news from village reading center, but also from head of the village and head of the school there. Besides, they could read newspapers at coffee shop and food shop or home. Most of the users used the book reading center from 2-6 times a week at irregular time. They stated that they were convenient in using the book reading center. Reasons for using the book reading center were given, the most important one was their ample leisure time. Other reasons were their preference of reading and their need to increase reading ability. Users are interested mostly in newspaper, reading of which local news reached at the high level. In Sarn Karnsuksa Nok Rongrien (Nonformal Education Bulletin) users liked to read news and articles on occupation, the Nation, Religion, the King, and Thai cultures at high level. In the Nonformal Education Bulletin on Population Study; users were interested in knowledge for their occupation at high level. As for Khao Kasetr (Agriculture News), users were interested at high level in the column on problems faced by agriculturist. The majority of nonusers were females. Most of sampled nonusers were 30-39 years old, and had finished Prathomsuksa 4 over 16 years ago. They gained knowledge and news from head of the village more than other people. Besides, they could read newspapers at home or coffee shop and food shop in the village, respectively. Some main reasons for not use the village book reading center were too much burden to have free time to read and had the problems concerning their health and sight. The comparative study of information assimilation and knowledge of users and nonusers shows that users had gained information more than nonusers which supported the hypothesis of the research. Considering by contents, it was found that users assimilated news and knowledge more than nonusers on health and first which were found significantly different. Yet, there was no difference on information assimilation and knowledge between users and nonusers in current local and national news and laws. The researcher recommends the following ideas for the improvement of the use of the village book reading center. On reading materials, special reading materials for people with sights impaired and for those with low reading ability should be acquired. The production and dissemination of reading materials for book reading centers should be quickened, and cooperative acquisition among responsible agencies should be exercised. On administrative aspect, the present village committee of the book reading center should be termed at 2-3 years intervals. More publicity should be made in order to attract more users, users survey should be done.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22393
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumon_Ch_front.pdf647.3 kBAdobe PDFView/Open
Sumon_Ch_ch1.pdf957.53 kBAdobe PDFView/Open
Sumon_Ch_ch2.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
Sumon_Ch_ch3.pdf603.91 kBAdobe PDFView/Open
Sumon_Ch_ch4.pdf960.84 kBAdobe PDFView/Open
Sumon_Ch_ch5.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Sumon_Ch_back.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.