Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22788
Title: การใช้วิธีทางสถิติในการเลือกคณะที่เหมาะสมกับความสามารถทางการศึกษา ของนักเรียนเพื่อสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา
Other Titles: The use of statistical methods in selecting faculties appropriate to students' academic ability in the joint higher education entrance examination
Authors: อาพร อัมไพรวรรณ
Advisors: สุชาดา กีระนันทน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การตัดสินใจเลือกคณะหรือประเภทวิชา เพื่อสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษานอกจากจะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สมัครแล้ว ผู้สมัครควรพิจารณาข้อมูลอื่นๆ ประกอบได้แก่ ระดับความรู้สามารถ หรือความถนัดทางการศึกษา จำนวนผู้สมัครรวมทุกอันดับการเลือก และคะแนนต่ำสุดของแต่ละคณะหรือประเภทวิชา เพื่อจะได้เลือกคณะหรือประเภทวิชาที่ต้องการและพอเหมาะกับความรู้ความสามารถของตน งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาหาตัวแบบการถดถอย เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนสอบคัดเลือกกับคะแนนแต่ละหมวดวิชา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนสตรีวิทยา 2 โรงเรียนทวีธาภิเศก และโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย รวมทั้งศึกษาหาตัวแบบทางสถิติที่เหมาะสมเพื่อนำไปใช้พยากรณ์ จำนวนผู้สมัครรวมทุกอันอับการเลือก และคะแนนต่ำสุดของแต่ละคณะหรือประเภทวิชาต่อไป ผลการวิจัยสรุปได้ว่า คะแนนหมวดวิชาต่าง ๆระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนสตรีวิทยา 2 โรงเรียนทวีธาภิเศก และโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย มีความสัมพันธ์เชิงเส้นและสามารถนำไปอธิบายค่าคะแนนสอบคัดเลือกได้ในระดับแตกต่างกัน ทั้งนี้อาจทำการประมาณค่าคะแนนสอบคัดเลือกด้วยคะแนนหมวดวิชาต่าง ๆ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือคะแนนรวมทุกหมวดวิชาที่เกี่ยวข้อง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประมาณค่าคะแนนสอบคัดเลือกแต่ละรายวิชา ด้วยคะแนนหมวดวิชาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่สมนัยกัน แล้วจึงนำมารวมกันเป็นค่าประมาณคะแนนสอบคัดเลือก ซึ่งค่าประมาณคะแนนสอบคัดเลือกที่ได้จากสมการถดถอยรูปแบบต่างๆ ดังกล่าวนี้มีคุณภาพแตกต่างกันไม่มากนัก จึงสามารถเลือกใช้ได้ตามความสะดวกในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับคะแนนหมวดวิชาต่าง ๆ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่วนการศึกษาตัวแบบแนวโน้มตามเวลาของจำนวนผู้สมัครรวมทุกอันดับการเลือก แต่ละคณะหรือประเภทวิชา สามารถจำแนกคณะหรือประเภทวิชาออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. คณะหรือประเภทวิชาที่ข้อมูลมีแนวโน้มตามเวลาแบบเส้นตรงหรือพาราโบล่า 2. คณะหรือประเภทวิชาที่ข้อมูลไม่มีแนวโน้มตามเวลา จึงใช้ค่าพยากรณ์จากวิธีการเฉลี่ยเคลื่อนที่ ซึ่งมีจำนวนพจน์ของการเฉลี่ยเคลื่อนที่แตกต่างกันในแต่ละคณะหรือประเภทวิชา และในการศึกษาตัวแบบทางสถิติติของคะแนนต่ำสุด ของแต่ละคณะหรือประเภทวิชา ปรากฏว่า คะแนนต่ำสุดของแต่ละคณะหรือประเภทวิชาไม่มีความสัมพันธ์เชิงเส้นกับเวลา (ปีการศึกษา) และเมื่อเปรียบเทียบค่าพยากรณ์คะแนนต่ำสุดจากวิธีการเฉลี่ยเคลื่อนที่กับค่าเฉลี่ยเลขคณิต สรุปได้ว่า ค่าพยากรณ์ทั้งสองชนิดมีคุณภาพพอ ๆ กัน แต่เนื่องจากค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนต่ำสุดมีข้อได้เปรียบในกรณีที่สามารถพยากรณ์เป็นช่วงคะแนน จึงใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนต่ำสุดของแต่ละแต่ละคณะหรือประเภทวิชาเป็นค่าพยากรณ์
Other Abstract: The choice of faculty selection in the joint higher education entrance examination does not only depend on the applicant’s preference. In order to select the faculty which is both preferable and appropriate to the applicant’s academic ability, other factors needed to be taken into consideration are the applicant’s academic ability, the total number of applicants and minimum entrance examination score of each faculty. This research constructs a regression model predicting the entrance examination score from the individual subject score of M.S. 4 and M.S. 5 of students of Streevidaya School, Streevidays II School, Taweetapisek school and Samsenvidayalai School. This research also provides a statistical Model which enables the prediction of the total number of applicants and the minimum entrance examination score of each faculty. It can be summarized that the M.S. 4 and M.S. 5 individual subject score of students of of Streevidaya School, Streevidays II School, Taweetapisek school and Samsenvidayalai School display a linear relationship with the entrance examination score. Hence, the entrance examination score can be estimated by using the M.S. 4 and M.S. 5 individual subject score or the total score of related subjects of M.S. 4 and M.S. 5. Besides, score of each subject in the entrance examination can be estimated by corresponding subject score of M.S. 4 and M.S. 5. These estimated scores can be combined to be the estimated entrance examination score. Estimates of the entrance examination score form the above three regression models appear to vary insignificantly in terms of quality. Therefore, selection of a model may depend on the availability of M.S. 4 and M.S. 5 subject score. As for the study of the future trend of the total number of applicants for each faculty, the faculties can be classified into two groups as follows : 1. Faculties which have linear or parabola trend model 2. Faculties which have no linear trend model. The latter group is study by using simple moving average method. In estimating the minimum entrance examination score of each faculty, it is found that the minimum score has no linear relationship with the academic year or time. When comparing the estimate of the minimum score obtained from the simple moving average method and simple mean, it can be summarized that both estimates are equally valuable. However, as simple mean has the benefit of providing estimates in terms of confidence interval, it is recommended that mean of past minimum entrance examination scores be used.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22788
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
aphon_um_front.pdf461.3 kBAdobe PDFView/Open
aphon_um_ch1.pdf500.07 kBAdobe PDFView/Open
aphon_um_ch2.pdf422.32 kBAdobe PDFView/Open
aphon_um_ch3.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
aphon_um_ch4.pdf418.52 kBAdobe PDFView/Open
aphon_um_back.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.