Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22904
Title: พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนและพฤติกรรมทางสังคม ของนักเรียนระดับปฐมวัย : เปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนอนุบาล และศูนย์เด็กปฐมวันในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Teacher-pupil interaction and pre-schooler's social behavior : a comparison among kindergartens and child centers in Bangkok Metropolis
Authors: ณัฏฐา แก้วสุวรรณ
Advisors: สุมน อมรวิวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และวิเคราะห์ พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน และพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนระดับปฐมวัย พร้อมทั้งเปรียบเทียบพฤติกรรมดังกล่าว ระหว่างโรงเรียนอนุบาล และศูนย์เด็กปฐมวัยและศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมปฎิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน กับพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนระดับปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้เป็นครูอนุบาล และนักเรียนอายุ 4-6 ปี ในโรเรียนอนุบาล สังกัดงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา เอกชน ทบวงมหาวิทยาลัย กรมการฝึกหัดครู ศูนย์เด็กปฐมวัย สังกัดกรมการศาสนา และสภาสตรีแห่งชาติ จำนวน 28 โรง ครู 28 คน และนักเรียน 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสังเกตพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ประกอบด้วนหัวข้อพฤติกรรม 42 พฤติกรรม ซึ่งดัดแปลงมา จากแบบบันทึกพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ ของ เนต เอ แฟลนเดอร์ส (Ned A. Flanders) และแบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคม ของนักเรียน ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อพฤติกรรมทางสังคมของเด็ก 26 พฤติกรรม ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยงวิธีสังเกต และจดบันทึก ผู้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละของความถี่ และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS (Statistical Package for Social Sciences) โดยใช้ Subprogram ANOVA และ Crosstabulation เพื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนและหาค่าความสัมพันธ์ของพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ และพฤติกรรมทางสังคม ผลการวิจัย พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนส่วนมาก ครูใช้บรรยายอธิบาย สรุป เล่าเรื่อง สาธิต อบรม และใช้คำสั่ง ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางวาจา ส่วนนักเรียนมีพฤติกรรมตอบสนองครูอย่างมากทั้งทางท่าทาง และวาจานอกจากนั้น พฤติกรรมบางอย่าง เช่น ครูถามที่ไม่ต้องการคำตอบ ครูตำหนิ ขู่ วิจารณ์ ทางวาจา เงียบ และสับสน เกิดขึ้นในระดับปานกลาง ส่วนพฤติกรรมที่ไม่เกิดขึ้นเลย คือ พฤติกรรมนักเรียนก้าวร้าวต่อครู เมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนของพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนอนุบาลกับศูนย์เด็กปฐมวัย พบว่า พฤติกรรมที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ P < .05 คือ พฤติกรรมนักเรียนไม่ตอบสนองคำสั่งครู หรือตอบสนองในทางลบ ทั้งทางท่าทางและทางวาจา กับพฤติกรรที่นักเรียนร้องไห้ ร้องขอ ขออนุญาติ กล่าวโทษ ในเรื่องที่เกี่ยวกับตนเองทั้งทางท่าทางและทางวาจา พฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนที่เกิดขึ้นมาก คือ พฤติกรรมนักเรียนเล่นกับเพื่อน และคุยกับเพื่อน นอกจากนั้น พฤติกรรมบางอย่าง เช่น นักเรียนสั่ง บอกแนะนำ พูดท้าพนัน โอ้อวด ช่วยเหลือผู้อื่นทำงานหรือเล่น เกิดขึ้นในระดับปานกลางพฤติกรรมที่เกิดขึ้นน้อย ได้แก่ พฤติกรรมนักเรียนยอมรับในความผิดของตน และนักเรียนชมเชยเพื่อน ส่วนพฤติกรรมที่นักเรียนโรงเรียนอนุบาล กับศูนย์เด็กปฐมวัยมี ความแตกต่างกันที่ P< .05 คือ พฤติกรรมที่นักเรียนทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันนักเรียนพูดหรือแสดงท่าทางแล้วผู้อื่นยิ้มหรือหัวเราะ และนักเรียนเล่นกับเพื่อน คุยกัยเพื่อน การหาความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียน พบว่า พฤติกรรมที่สัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ P < .05 มี 19 คู่ ด้วยกัน นอกจากนั้น ไม่สัมพันธ์กัน
Other Abstract: The purposes of this research were to analyse teacher-pupil interaction and pre-schooler’s social behaviors, and to compare them among kindergartens and child centers in Bangkok Metropolis. The third purpose was to study relationship between teacher-pupil inter and pre-schoooler’s social behavior. The subjects were 28 teachers and 280 pupils age 4 – 6 in 28 Bangkok kindergartens and child centers agencies under the auspices of the Office of National Primary Education Commission, Office of the Private Education Commission. Office of Universities Affairs, Department of Teacher Education, Department of Religious Affairs, and the National Council of Women of Thailand. The instruments used in this research were teacher-pupil interaction behavior pattern composed of 42 item, modified from Flanders’ Interaction Analysis Category, and pre-school’s social behavior pattern included 26 items. Data were collected by observing and recording. In analysing data, the researcher find out percentage of frequency, variance and relationship between teacher-pupil interaction and pre-school’s behaviors, by using computer program SPSS ( Statistical Package for Social Science) in subprogram ANONA and Crosstabulation. Results : According to teacher-pupil interaction behavior, the teachers always talked, explained, summarized, told, demonstrated guided and ordered the pupils directly and indirectly. The pupils responded to the teachers by verbal and non-verbal behaviors. Besides, some teachers’ behaviors such as asking questions without waiting for answer, blaming, treating, criticising, silence and confusing, occured in moderate level. Behavior that never occurred was pupils’ aggression. When analizing the variance of interaction between kindergartens and child centers, it found that the statistically significant differences at .05 level were the pupils’ ignored behavior to the teachers’ order. They responded in negative way including crying, begging asking and accusing themselves by nonverbal and verbal behaviors. Pupils’ social behaviors mostly happened, were playing and chatting with peer. Besides, some behaviors such as ordering, telling. Persuading, boasting, betting, helping others and playing occured in moderate level. Behaviors which rarely occurred were self guilty acceptance and praising friends. Comparing kindergartens to child centers, pupils behaviors which maintained variance significant differences at P < .05 were hurting each other, talking or joking and playing with others. Finding relationship between teacher-pupil interaction and pupil’s social behaviors, 19 pairs of them were significantly related at .05 level. Others were negative.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22904
ISBN: 9745612596
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nutha_ko_front.pdf725.04 kBAdobe PDFView/Open
nutha_ko_ch1.pdf745.17 kBAdobe PDFView/Open
nutha_ko_ch2.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
nutha_ko_ch3.pdf594.89 kBAdobe PDFView/Open
nutha_ko_ch4.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
nutha_ko_ch5.pdf903.77 kBAdobe PDFView/Open
nutha_ko_back.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.