Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24314
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุชาติ ตันธนะเดชา
dc.contributor.advisorวิรัช อภิเมธีธำรง
dc.contributor.authorธัชพล กาญจนกูล
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned2012-11-16T07:49:36Z
dc.date.available2012-11-16T07:49:36Z
dc.date.issued2545
dc.identifier.isbn9741719256
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24314
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา แนวทางแก้ไขปัญหาด้านการบริหารการเงินของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารการเงินสำหรับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐของไทย การพัฒนากลยุทธ์การบริหารการเงินสำหรับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้บริหารด้านการเงิน และด้านอื่นที่เกี่ยวข้องของสถาบันอุดมศึกษาไทย จำนวน 19 ท่าน และการจัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Focus Group) ด้านการเงินอุดมศึกษา จำนวน 11 ท่าน เพื่อร่วมกันพัฒนาร่างกลยุทธ์การบริหารการเงินสำหรับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 3 ประเภท ได้แก่ มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ มหาวิทยาลัยเฉพาะทาง และมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย ทั้งนี้โดยได้แบ่งกลยุทธ์การบริหารการเงิน ออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ กลยุทธ์การวางแผนทางการเงิน กลยุทธ์การระดมทรัพยากรทางการเงิน กลยุทธ์การจัดสรรทรัพยากรทางการเงิน และกลยุทธ์การบริหาร/ใช้ทรัพยากรทางการเงิน จากนั้นได้ทำการตรวจสอบกลยุทธ์ในด้านความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของกลยุทธ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Connoisseursship) ที่มีประสบการณ์สูงในด้านการเงินทั่วไป และการเงินอุดมศึกษา จากมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน หน่วยงานที่กำกับดูแลด้านการเงิน งบประมาณและการศึกษาของภาครัฐ รวมทั้งธุรกิจภาคเอกชน จำนวน 22 ท่าน เพื่อให้ได้มุมมองที่หลากหลายอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากลยุทธ์ดังกล่าวให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ผลการวิจัยพบว่า มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ควรมีลักษณะการบริหารการเงินที่เป็นอิสระ คล่องตัวเพิ่มขึ้น โดยมีการวางแผนทางการเงินที่เน้นแผนเชิงกลยุทธ์ที่มีเป้าหมายและทิศทางที่ชัดเจน เฉพาะเจาะจง สามารถวัดและประเมินได้ รวมทั้งมีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมได้ ประกอบกับมุ่งเน้นการวางแผนระยะกลางและระยะยาว โดยมีรูปแบบการจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน การระดมทรัพยากรทางการเงินจากแหล่งเงินทุนมาจากเงินบริจาคของศิษย์เก่า และเงินอุดหนุนจากหน่วยงานและธุรกิจภาคเอกชน ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น เงินอุดหนุนที่ได้จากภาครัฐ มีลักษณะเป็นการจัดสรรตามอุปสงค์หรือตามตัวผู้เรียน (Demand-Side Financing) ประกอบกับมีการจัดตั้งกองทุนคงยอดเงินต้นและกองทุนเพื่อพัฒนาการศึกษาและวิจัย เพื่อความมีเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาว แหล่งรายได้ของมหาวิทยาลัยมาจากผลงานด้านการวิจัย ด้านบริการทางวิชาการ และด้านการพัฒนานวัตกรรมใหม่ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้จากค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมต่างๆ รวมทั้งมีการบริหารทรัพย์สินที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น รูปแบบของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย มีลักษณะเป็นศูนย์ความรับผิดชอบ (Responsibility Center) ศูนย์กำไร (Profit Center) และหน่วยธุรกิจ (Business Unit) การจัดสรรทรัพยากรทางการเงินพิจารณาจากค่าใช้จ่ายต่อหัวของนักศึกษา (Cost per Head) แต่ละคณะโดยการปันส่วนค่าใช้จ่าย (Cost Allocation) การจัดสรรตามกิจกรรม (Activity-Based Approach) และตามต้นทุนและผลประโยชน์ที่ได้รับ (Cost & Benefit Approach) โดยคำนึงถึงปรัชญาอุดมศึกษาเป็นปัจจัยประกอบการพิจารณา รวมทั้งมีแนวโน้มการจัดสรรเพื่อการวิจัยในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น การบริหาร/ใช้ทรัพยากรทางการเงิน มีการนำแนวคิด เทคนิคการบริหารสมัยใหม่ที่เป็นเชิงธุรกิจ เช่น TQM Risk Management Balanced Scorecard และ Benchmarking รวมถึงการบริหารแบบมืออาชีพ และแบบมีส่วนร่วมมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบริหารทรัพยากรทางการเงินให้เกิดประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของมหาวิทยาลัย
dc.format.extent3589132 bytes
dc.format.extent5042941 bytes
dc.format.extent19672643 bytes
dc.format.extent10724099 bytes
dc.format.extent43579086 bytes
dc.format.extent19147821 bytes
dc.format.extent5461981 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการพัฒนากลยุทธ์การบริหารการเงินสำหรับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐen
dc.title.alternativeA development of financial management strategies for public autonomous universitiesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tachaphol_ka_front.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open
Tachaphol_ka_ch1.pdf4.92 MBAdobe PDFView/Open
Tachaphol_ka_ch2.pdf19.21 MBAdobe PDFView/Open
Tachaphol_ka_ch3.pdf10.47 MBAdobe PDFView/Open
Tachaphol_ka_ch4.pdf42.56 MBAdobe PDFView/Open
Tachaphol_ka_ch5.pdf18.7 MBAdobe PDFView/Open
Tachaphol_ka_back.pdf5.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.