Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24437
Title: วิธีการวิเคราะห์รูปแบบทางเลือกอาคารตามความสัมพันธ์ด้านการลงทุน : กรณีศึกษาอาคารสำนักงาน
Other Titles: An analytical techique for generating schematic design alternative in accordance with financial constraints : a case of office building
Authors: นายวิทวัส เทศชูกลิ่น
Advisors: วิมลสิทธิ์ หรยางกูร
ไกรวิชิต ตันติเมธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานออกแบบทางสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน มีความสัมพันธ์กับศาสตร์ทางด้านอื่นๆ มากมายหลายสาขา ทำให้เงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆ ด้านการออกแบบงานทางสถาปัตยกรรมมีจำนวนมากและมีความซับซ้อน การวิเคราะห์งานออกแบบเพื่อทำให้งานออกแบบทางสถาปัตยกรรมมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นนั้นกลายเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการทำงานออกแบบของสถาปนิก เช่น การวิเคราะห์หาพื้นที่รวมของโครงการและพื้นที่องค์ประกอบต่างๆ ของโครงการภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆ จำนวนมาก และให้เป็นไปตามเป้าหมายด้านการลงทุนโดยที่สามารถทำเป็นรูปแบบทางเลือกของโครงการได้เป็นหลายๆ รูปแบบนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยากอย่างยิ่ง วิทยานิพนธ์นี้แสดงวิธีการหาพื้นที่รวมของโครงการและพื้นที่ขององค์ประกอบต่างๆ ในแต่ละข้ออาคารของรูปแบบทางเลือกอาคารในลักษณะต่างๆ กันที่ผู้ออกแบบหรือสถาปนิกเป็นผู้กำหนดขึ้น และแสดงขั้นตอน วิธีการในการวิเคราะห์รูปแบบทางเลือกอาคารตามความสัมพันธ์ด้านการลงทุน เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยสถาปนิกวิเคราะห์รูปแบบทางเลือกอาคารที่เกิดจากแนวความคิดในการออกแบบของแบบของสถาปนิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยประยุกต์จากทฤษฎีการโปรแกรมเชิงเส้น (LINEAR PROGRAMMING THEORY) ซึ่งเป็นทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง โดยเริ่มจากการกำหนดรูปแบบอาคารเบื้องต้นตามแนวความคิดในการออกแบบของสถาปนิก การจัดวางองค์ประกอบตามชั้นต่างๆ ของอาคารและการกำหนดตัวแปรตัดสินใจด้านขนาดพื้นที่ขององค์ประกอบตามชั้นต่างๆ ของอาคาร การกำหนดเงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆ เช่น เงื่อนไขด้านการออกแบบ เงื่อนไขด้านงบลงทุน เงื่อนไขด้านกฎหมาย ฯลฯ และเป้าหมายด้านกำไรสูงสุด ในการกำหนดนี้ กำหนดได้เป็นหลายๆ รูปแบบทางเลือกที่มีลักษณะต่างๆ กัน สำหรับการหาผลลัพธ์ของการวิเคราะห์รูปแบบทางเลือกอาคารตามความสัมพันธ์ด้านการลงทุนนี้ ใช้วิธีซิมเพล็กซ์ (SIMPLEX METHOD) โดยอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ MPSX/370 (MATHEMATICAL PROGRAMMING SYSTEM EXTENED/370) ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม เมื่อทำการวิเคราะห์หาผลลัพธ์ของแต่ละรูปแบบออกมา จะได้ผลลัพธ์ที่มีค่าเหมาะสมที่สุดภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดและบรรลุเป้าหมายด้านกำไรสูงสุดของแต่ละรูปแบบทางเลือกนั้นๆ สำหรับผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ของแต่ละรูปแบบทางเลือก สถาปนิกสามารถนำมาสร้างรูปแบบทางกายภาพภาพและนำมาเปรียบเทียบกันให้ผู้ลงทุนตัดสินใจเลือกรูปแบบทางเลือกต่างๆ ได้อย่างมีหลักเกณฑ์และเหตุผลมากขึ้น นอกจากวิธีการและกระบวนการวิเคราะห์ดังกล่าว ได้ทำการทดลองกับโครงการตัวอย่าง อาคารสำนักงานไทวา ถนนสาธร ซึ่งเป็นโครงการของบริษัทไทวา มีรูปร่างที่ดินเป็นรูปสี่เหลี่ยมใกล้เคียงรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้าง 62.00 ม. ยาว 63.00 ม. รวมพื้นที่ดินทั้งสิ้น 3906 ม2 โดยทำการทดลองในลักษณะของรูปแบบทางเลือกหลักๆ 4 รูปแบบ สรุปผลลัพธ์ออกมาเป็นพื้นที่(ตารางเมตร) ของพื้นที่รวมของโครงการและพื้นที่องค์ประกอบตามขั้นต่างๆ ของแต่ละรูปแบบทางเลือกผลลัพธ์ของทั้ง 4 รูปแบบทางเลือกนี้จะแตกต่างกันออกไป และจากรูปแบบทางเลือกที่มีกำไรของโครงการมากที่สุดของทั้ง 4 รูปแบบ คือ รูปแบบทางเลือกแบบที่ 4 มีแนวความคิดเบื้องต้นในการออกแบบของสถาปนิก คือ เป็นอาคาร 13 ชั้น มีชั้นใต้ดินอีก 1 ชั้น และทำการวิเคราะห์หาผลลัพธ์ได้ดังนี้ คือ รูปแบบเป็นอาคารสูง 10 ชั้น ชั้นที่ 11 เป็นหลังคาและไม่มีการก่อสร้างพื้นที่ชั้นใต้ดิน พื้นที่สำนักงานรวม 12040.620 ม2 พื้นที่แกนสัญจรทางตั้งและพื้นที่ทางเดินรวม 3282.273 ม^2 พื้นที่ห้องเครื่องรวม 301.010 ม2 พื้นที่จอดรถรวม 6916.150 ม2 กำไรของแบบทางเลือกที่ 4 36,493,861.807 บาท
Other Abstract: At present, architectural design work relates to many fields of study. As a result, the constraints in this architectural- design have increased in both number and complexity. Consequenty, complete analysis of design alternatives has become an increasingly difficult task. Problems and difficulties have arisen in various areas such as in the analysis of total project's area and individual functional spaces. Under these numerous constraints and in accordance with invesment targets, many possible choices of schematic designs exist. Analysis of each alternative design in consideration of all the various stipulations is extremely difficult. This thesis shows the various methods to analize the total project's area and individual functional spaces of each floor of each alternative design that architects have created. The thesis proceeds to explain the analytical technique for generating design alternatives in accordance with financial constraints. This method helps the architect to select the most efficient design of all the potential ones he has worked out. This technique involves the application of mathematical theory and methodology, namely the widely-accepted theory of LINEAR PROGRAMMING. The procedure begins by stipulating the building design along the line of the architect'ร imagination. Then plans for the elements of each floor and the constraints are laid out, specifying various constraints, including a profit maximization objective. The possible stipulations are numerous, thus creating a heterogenous set of design alternatives. With regards to seeking out the result of analysis in accordance with the financial constraints, the SIMPLEX technique, which depends on MPSX/370 (Mathematical Program System Extened/370) conducted on the main frame computer, should be used. When this analysis of expected results for each design alternative is carried out, the "optimal solution" satisfying the maximum profit objective under the given constraints can be attained. The results gained from this analysis of design alternative will enable the architect to provide a strong design. They also provide the investor with comparative information to help him rationally choose the most appropriate design Besides the aforementioned analytical method and procedure, a pilot project experimentation was a project of Taiwa Building on Sathorn Road. This was a project of Taiwa Company. The project area is a quadrilateral very close to a square, being 62 meters in length and 63 meters' in width. The total area is 3906 square meters. By conducting experiments on .4 main design alternatives, the 4th design alternative is the most appropriate solution in financial term. The following results were attened There are ten floors. The 11st is the roof. There is no underground floor. Total office area 12040.620 m2 Total vertical circulation core area 3282.273 m2 Total mechanical room area 301.010 m2 Total parking area 6916.150 m2 Net profit of the 4th design alternative 36.493.861.807 baht
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24437
ISBN: 9745647306
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Witawas_Te_front.pdf684.56 kBAdobe PDFView/Open
Witawas_Te_ch1.pdf812.87 kBAdobe PDFView/Open
Witawas_Te_ch2.pdf902.66 kBAdobe PDFView/Open
Witawas_Te_ch3.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Witawas_Te_ch4.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open
Witawas_Te_ch5.pdf681.32 kBAdobe PDFView/Open
Witawas_Te_back.pdf824.54 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.