Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24446
Title: การนำเสนอเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา ประจำเขตการศึกษา
Other Titles: A proposed criteria for jjob performance evaluation of the regional supervisory units' supervisors
Authors: สมลักษณ์ พรหมมีเนตร
Advisors: สงัด ยุทรานันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อนำเสนอเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา ประจำเขตการศึกษา โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์การปฏิบัติงาน 2. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษาประจำเขตการศึกษา ทั้งงานประจำและงานพิเศษที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา วิธีดำเนินการ กลุ่มประชากร กลุ่มประชากรประกอบด้วยคณะศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา ประจำเขตการศึกษา ที่ปฏิบัติงานประจำอยู่ตามเขตการศึกษาต่างๆ ทั้ง 12 เขตการศึกษา และเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างปีงบประมาณ 2526 แบ่งกลุ่มประชากรเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิเคราะห์งาน เลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเขตการศึกษาออกตามภาคภูมิศาสตร์ แล้วเลือกมาภาคภูมิศาสตร์ละ 1 เขตการศึกษา รวมได้ 4 เขตการศึกษา คือ เขตการศึกษา 1,3,7 และ 11 ใช้ศึกษานิเทศก์ทุกคนในการทำการวิเคราะห์งาน รวมทั้งหมด 105 คน กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มประชากรที่ใช้ศึกษาความคิดเห็นแบบประเมินและแบบสอบถาม ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่ตามเขตการศึกษาที่นอกเหนือจากกลุ่มที่ 1 ได้แก่ เขตการศึกษา 2,4,5,6,8,9,10,12 และ เขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 218 คน ขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย การทำการวิจัยเรื่อง “การนำเสนอเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา ประจำเขตการศึกษา” นี้ มีขั้นตอนดำเนินงานตามลำดับดังนี้คือ ขั้นที่ 1 ขั้นวิเคราะห์และสร้างเกณฑ์ประเมิน ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์การปฏิบัติงานที่คณะศึกษานิเทศก์ได้ปฏิบัติจริงในรอบปีงบประมาณ 2525 ที่ผ่านมา กับกลุ่ม ประชากรกลุ่มที่ 1 นำผลการวิเคราะห์ที่ได้มากำหนดเป็นรายการประเมินลงในแบบประเมินผลโดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผู้ทรงคุณวุฒิตลอดเวลา ขั้นที่ 2 ขั้นศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เกณฑ์ประเมิน นำรายการประเมินที่ได้จากการวิเคราะห์มาเขียนเป็นเกณฑ์ ประเมินผลการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์เขตได้แบบประเมินผล 4 แบบประเมิน จำนวน 110 รายการประเมิน แล้วส่งไปศึกษาความคิดเห็นกลุ่มประชากรกลุ่มที่ 2 จำนวนแบบสอบถามที่ส่งไปทั้งสิ้น 218 ชุด ได้รับคืน 173 ชุด คิดเป็นร้อยละ 79.35 ของที่ส่งไป ขั้นที่ 3 ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาความคิดเห็น นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาความคิดเห็นมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติเกี่ยวกับ ค่าคะแนนเฉลี่ย (X̅) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายของคะแนนความคิดเห็น (C.V.) แล้วพิจารณาเลือกรายการประเมินที่จะนำไปใช้เป็นเกณฑ์ประเมินโดยพิจารณาค่าคะแนนเฉลี่ยของรายการที่จะนำไปใช้ให้มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.51 ขึ้นไป ขั้นที่ 4 ขั้นหาค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมิน เลือกรายการประเมินที่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มประชากรจากการศึกษาความคิดเห็นกลุ่มที่ 2 ส่งกลับไปศึกษาความคิดเห็นจากกลุ่มประชากรกลุ่มที่ 1 อีกครั้งหนึ่ง เพื่อหาค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินผลแต่ละแบบ วิเคราะห์ความคิดเห็นโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์ ∝ ( ∝ - coefficient of variance) โดยมีเกณฑ์พิจารณาว่า แบบประเมินผลที่สามารถนำไปใช้ประเมินผลการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์เขตได้จะต้องมีค่าความเชื่อมั่น 0.50 ขึ้นไป สรุปผลการวิจัย จากผลการศึกษาค้นคว้า เรื่อง “การนำเสนอเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา ประจำเขตการศึกษา” พบว่า 1. กลุ่มประชากรเห็นด้วยกับการที่จะนำรายการประเมินทั้ง 110 รายการ ในแบบประเมินผลทั้ง 4 แบบ คือแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติงาน แบบประเมินพฤติกรรมหรือขบวนการในการปฏิบัติงาน แบบประเมินคุณลักษณะเฉพาะตัวผู้ปฏิบัติงาน และแบบประเมินคุณภาพผลงานศึกษานิเทศก์ ซึ่งแยกออกเป็น 3 ชุดคือ แบบประเมินคุณภาพผลงานศึกษานิเทศก์ฝ่ายนิเทศการสอน แบบประเมินคุณภาพผลงานศึกษานิเทศก์ผ่ายนิเทศการบริหาร และ แบบประเมินคุณภาพผลงานศึกษานิเทศก์ฝ่ายวิจัยและบริการการศึกษา ไปใช้เป็นเกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา ประจำเขตการศึกษาได้ แต่ละแบบประเมินมีค่าความเชื่อมั่นสูงกว่า 0.80 ซึ่งถือว่าค่าความเชื่อมั่นสูงมากและเมื่อคำนวณค่าความเชื่อมั่นรวมของชุดประเมินผลที่จะนำไปใช้ประเมินผลศึกษานิเทศก์แต่ละฝ่าย ปรากฏว่าทุกชุดมีค่าความเชื่อมั่นชุดละ 0.90 2. จากผลการวิจัย พบว่า ในการจัดลำดับความสำคัญของแบบประเมินผลศึกษานิเทศก์เขตเห็นว่า ควรให้ลำดับความสำคัญดังนี้คือ อันดับที่ 1 เกณฑ์ประเมินคุณภาพผลงานศึกษานิเทศก์ (แต่ละฝ่าย) อันดับที่ 2 เกณฑ์ประเมินความสามารในการปฏิบัติงาน อันดับที่ 3 เกณฑ์ประเมินพฤติกรรมหรือขบวนการในการปฏิบัติงาน และอันดับที่ 4 เกณฑ์ประเมินคุณลักษณะเฉพาะตัวผู้ปฏิบัติงาน และให้ความเห็นสอดคล้องกันว่าน้ำหนักคะแนนของแบบประเมินควรให้เป็น 4 ส่วน 3 ส่วน 2 ส่วน และ 1 ส่วน ตามลำดับ 3. กลุ่มประชากรส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการที่หน่วยงานจะจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ที่เป็นระบบระเบียบขึ้น แล้วนำเกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงานที่สร้างขึ้นนี้ไปใช้จริง โดยเห็นว่าควรจัดทำอย่างเปิดเผยในรูปของคณะกรรมการแล้วแจ้งผลการประเมินให้ศึกษานิเทศก์แต่ละคนได้ทราบถึงข้อดีและข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์เป็นการกระตุ้นให้ศึกษานิเทศก์มีสมรรถภาพและความตั้งใจในการปฏิบัติงานสูงขึ้น
Other Abstract: Purposes : 1. To propose the criteria for job performance evaluation of the regional supervisory units’ supervisors by using the sources of the performance analysis. 2. To study and analyze the outcomes of the supervisors’ performance of both the routine and extra works which were being assigned. Research Methodology Population The population using in this research were all the supervisors of each of 12 regional and Bangkok Metropolitan supervisory units. The population were devided into 2 groups: the first group was the supervisors of the supervisory units in the educational region 1,3,7 and 11 which were used as the sources for analyzing the outcomes of the performance performed within the year of B.E. 2525. The second group were the population used in studying the opinions concerning with the evaluation criteria. Two hundred and eighteen supervisors in the other nine regional and Bangkok Metropolitan supervisory units were assigned to as this group. Methodology The research was conducted by the following steps : The first step was to analyze and to determine the performance evaluation criteria. The researcher analyzed the job which were performed within the year B.E. 2525. By the first group of supervisors. With the consultation of the experts, the outcomes of job analysis were assigned to those the evaluation items in the appraisal forms. The second step was studying the opinions concerning with the evaluation criteria. The 110 evaluation items constructed in the first step were listed in four performance appraisal forms and were sent to the second group of the supervisors and asked for their considerations. The third step was the analyzing of the considerations of the second group of the supervisors by using the statistics of the mean (X̅), the standard deviation (S.D.) and the coefficient of variance (C.V.). The results were taken to the selection for the performance evaluation criteria. The fourth step was finding out of the reliability of the performance evaluation criteria forms. The selected items which were sent to the first group of supervisors for their considerations. Findings and Conclusion 1. The supervisors agreed to use the 110 evaluation items for the four appraisal forms: the Appraisal Form for the Ability of Performance, the Appraisal Form for Behavior or Process in Performance, the Appraisal Form for Personal Characteristic, and the Appraisal Form for the Quality of the outcomes. The reliability of each form was more than 0.80 and the reliability of each form for evaluating each section of the supervisors was 0.90. 2. The Provision of the importance of the appraisal forms rated by the supervisors was indicated that the quality of the outcomes was ranked the first, the ability of performance was ranked the second, the behavior or process in performance was ranked the third, and the personal characteristic was ranked the fourth. The consideration of the ratio of the scores weight for those forms ranked above was called is running number as 4:3:2:1. 3. The supervisors agreed that the appraisal forms should be used by the committee and preferred to be informed the level of their competence in order to improve their performance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24446
ISBN: 9745623601
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somlark_So_front.pdf462.14 kBAdobe PDFView/Open
Somlark_So_ch1.pdf400.35 kBAdobe PDFView/Open
Somlark_So_ch2.pdf489.52 kBAdobe PDFView/Open
Somlark_So_ch3.pdf258.14 kBAdobe PDFView/Open
Somlark_So_ch4.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Somlark_So_ch5.pdf661.42 kBAdobe PDFView/Open
Somlark_So_back.pdf558.58 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.