Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24655
Title: ภาวะวิตกกังวลของสตรีวัยเปลี่ยนที่มารับบริการที่คลิกนิกวัยหมดประจำเดือนโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์จังหวัดนครสวรรค์
Other Titles: Anxiety in women during the climacteric period attending menopausal clinic at sawanpracharak hospital, nakhonsawan
Authors: ธนิกานต์ สังฆโสภณ
Advisors: บุรณี กาญจนถวัลย์
เอม อินทกรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะ วิตกกังวลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของสตรีวัยเปลี่ยนที่มารับบริการที่คลินิกวัยหมดประจำเดือน โรงพยาบาลสวรรค์ ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 295 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลแบบสำรวจอาการวัยหมดประจำเดือน แบบประเมินเหตุการณ์ ความเครียดในชีวิต แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินภาวะวิตกกังวล STAI ( Form Y )( The State-Trait Anxiety Inventory) วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test, One-Way ANOVA, Pearson correlation coefficient และการพยากรณ์โดยใช้การวิเคราะห์ถดทอยพหุแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า สตรีวัยเปลี่ยนมีความชุกของภาวะวิตกกังวลต่อสถานการณ์เฉพาะ (A-State) อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 59.3 อาการวัยหมดประจำเดือนและเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ภาวะวิตกกังวลต่อสถานการณ์เฉพาะ (A-State) การสนับสนุนทางลังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะวิตกกังวล ต่อสถานการณ์เฉพาะ (A-State) ภาวะวิตกกังวลต่อสถานการณ์เฉพาะ (A-State) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะ วิตกกังวลที่เป็นลักษณะประจำตัวของบุคคล (A-Trait) โดยภาวะวิตกกังวลที่เป็นลักษณะประจำตัวของบุคคล (A-Trait) สูงอาการวัยหมดประจำเดือนมาก การสนับสนุนทางสังคมต่ำ ความไม่เพียงพอของรายได้ และสถานภาพหม้าย หย่า แยกกันอยู่ เป็นปัจจัยที่ทำนายการเกิดภาวะวิตกกังวลต่อสถานการณ์เฉพาะ(A-State) ได้ถึงร้อยละ 53.6
Other Abstract: The purpose of this cross-sectional descriptive study was to examine the prevalence of anxiety and factors related with anxiety among 295 women during the climacteric period attending menopausal clinic at Sawanpracharak Hospital. The instrument was self reported questionnaires which consisted of questions for demographic data, Menopausal symptoms Rating Scale, Life Stress Event Rating Scale, Social Support Rating Scale and The State-Trait Anxiety Inventory (STAI)(Form Y). Data were analyzed by using descriptive and inferential statistics and were presented as percentage, mean, standard deviation. The Inferential Statistics were t-test, One-way ANOVA, Pearson’s product moment correlation coefficient and Stepwise multiple regression analysis. The result of this study was found that prevalence of severe anxiety state was 59.3 %. Menopausal symptoms and life stress event were significantly positive correlated to anxiety state .On the other hands, social support was negatively correlated to anxiety state and anxiety state was positively correlated to anxiety trait. In conclusion, severe anxiety trait, severe menopausal symptoms and loss of spouse were significant predictive factors (53.6%) for anxiety state.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24655
ISBN: 9745317713
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanikan_su_front.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open
Thanikan_su_ch1.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open
Thanikan_su_ch2.pdf11.64 MBAdobe PDFView/Open
Thanikan_su_ch3.pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open
Thanikan_su_ch4.pdf11.83 MBAdobe PDFView/Open
Thanikan_su_ch5.pdf6.48 MBAdobe PDFView/Open
Thanikan_su_back.pdf7.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.