Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24815
Title: พฤติกรรมสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยของประชาชนที่ไม่มีหลักประกัน ทางด้านสุขภาพในอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: Health behavior among people without health insurance scheme in None Soong district, Nakhon Ratchasima province
Authors: วรรณา ธนานุภาพไพศาล
Advisors: บดี ธนะมั่น
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การมีหลักประกันทางด้านสุขภาพ เป็นองค์ประกอบสำคัญของการบรรลุการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าของประชาชนไทยทุกคน ที่กระทรวงสาธารณะสุขและรัฐบาลต้องการ จากข้อมูลของสำนักงานประกันสุขภาพในปี พ.ศ.2538 พบว่ามีผู้ไม่มีหลักประกันทางสุขภาพอยู่สูงถึงร้อยละ 33.43 ขากจำนวนประชากร 59.50 ล้านคน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมสุขภาพของผู้ไม่มีหลักประกันทางด้านสุขภาพ ตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ ผู้ไม่มีหลักประกันทางด้านสุขภาพ ในอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1,680 คน ในหมู่บ้านและตำบลที่สุ่มได้โดยวิธี Multistage cluster random sampling ทำการเก็บข้อมูลระหว่างเดือน ธันวาคม 2538 ถึง เดือน กุมภาพันธ์ 2539 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จากการศึกษาพบว่าผู้ไม่มีหลักประกันทางด้านสุขภาพ มีอัตราการเจ็บป่วยที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล 2.9 ครั้ง/คน/ปี ในจำนวนนี้ไม่ได้รักษาร้อยละ 1.2 รักษาด้วยสมุนไพรร้อย 0.5 ซื้อยากินเองร้อยละ 8.3 รักษาที่สถานีอนามัยร้อยละ 25.3 โรงพยาบาลชุมชนร้อยละ 31.9 โรงพยาบาลศูนย์ร้อยละ 4.7 สถานบริการอื่นๆของรัฐร้อยละ 0.7 คลีนิค/โรงพยาบาลเอกชนร้อยละ 27.3 มีอัตราการเจ็บป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาล 0.05 ครั้ง/คน/ปี ในจำนวนนี้รักษาโดย โรงพยาบาลชุมชนร้อยละ 69.0 โรงพยาบาลศูนย์ร้อยละ 15.5 สถานบริการอื่นๆของรัฐร้อยละ 8.3 คลีนิค/โรงพยาบาลเอกชนร้อยละ 7.2 มีอัตราความชุกของอาการ/โรคเรื้อรัง 253:พันประชากร ในจำนวนนี้ ไม่รักษาร้อยละ 1.9 รักษาโดยสมุนไพรร้อยละ 0.5 ซื้อยากินเองร้อยละ 16.9 สถานีอนามัยร้อยละ 21.2 โรงพยาบาลชุมชนร้อยละ 28.0 โรงพยาบาลศูนย์ร้อยละ 6.8 สถานบริการอื่นๆของรัฐร้อยละ 1.9 คลีนิค/โรงพยาบาลเอกชนร้อยละ 22.8 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย ในกรณีการเจ็บป่วยที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ได้แก่ อาชีพ สถานะทางการเงินของครอบครัว ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล วิธีเดินทางไปใช้บริการ ระยะเวลาเดินทางไปใช้บริการ และลักษณะของการเจ็บป่วย นอกจากนี้ พบว่าประชาชนที่มีรายได้ต่อครอบครัวต่ำกว่า 33,600 บาท/ปี ซึ่งควรจะได้รับหลักประกันสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล แต่ไม่ได้รับ มีถึงร้อยละ 35 ของประชากรตัวอย่าง 1,680 คน ในผู้เคยเป็นสมาชิกโครงการบัตรประกันสุขภาพ 220 คน มีผู้เลิกซื้อบัตรฯร้อยละ 45.0 ในผู้ไม่เคยเป็นสมาชิก 1,460 คน ต้องการซื้อบัตรฯ ในรอบจำหน่ายใหม่ร้อยละ 21.3
Other Abstract: Universal health insurance coverage is the target of the ministry of public health and the Government is the major factor for achieving good health for all of Thai. Reported data of 1 995 by Office of Health Insurance show about 33.43 % of Thai people without health insurance scheme. The objective of this research is to study of health behavior among people with out health insurance scheme. Multistage cluster random sampling technique was used to select 1,680 sampled persons. Data collection done between December 1995 and February 1 996 by researcher's questionnaires. The result showed non-admission illness rate was 2 .9 cases / person /year. As a result, health behavior among this group were grouped as following without treatment 1 .2 % , with herbal drug 0.5 %, self-prescribed 8.3%, using health center 25 .3%, district hospital 31 .9 %, center hospital 4.7 %, other public health facilities 0.7 %, private hospital 27.3 %. The admission illness rate was 0.05 cases / person/year. Health behavior among this group were using district hospital 69.0%, center hospital 1 5 .5 %, private hospital 7 .2% , other public health facilities 7.1 % . Chronic disorders / diseases with prevalence rate of 25: 1,000 population. Health behavior among this group were no treatment 1 .9%, using herbal drug 0.5 %, self­ prescribed 1 6.9 %, using health centers 21 .2 %, district hospital 28 .0%, clinic / private hospital 22.8%, center hospital 6 .8%. The health behavior relating factors on non-admission were occupations , financial status , cost of treatment , method of traveling to treatment place , using time to go to treatment place, and pattern of illness comparing between using and not-using either public or private health facilities . The poor households who should but not have public welfare was 5.4 % of 1,680 sampled people. The group of experienced with health card project 220 samples, quited to continued 45 .0%. The unex perienced group desired to buy health card in new selling round was 21 .3%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24815
ISBN: 9746341553
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanna_tan_front.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open
Wanna_tan_ch1.pdf3.35 MBAdobe PDFView/Open
Wanna_tan_ch2.pdf12.75 MBAdobe PDFView/Open
Wanna_tan_ch3.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open
Wanna_tan_ch4.pdf10.32 MBAdobe PDFView/Open
Wanna_tan_ch5.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open
Wanna_tan_back.pdf4.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.