Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25662
Title: พัฒนาการของหลักสูตรวิชาพื้นฐานทั่วไปของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Other Titles: Development of gerneral education curriculum of Thammasat University
Authors: เรณู ผลสวัสดิ์
Advisors: ปทีป เมธาคุณวุฒิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการของหลักสูตรวิชาพื้นฐานทั่วไปของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในอดีตถึงปัจจุบัน และเปรียบเทียบหลักสูตรวิชาพื้นฐานทั่วไปของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในอดีตกับสถานภาพและปัญหาของหลักสูตรวิชาพื้นฐานทั่วไปของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบัน วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยใช้วิธีการวิจัยประวัติศาสตร์ (Historical Research) และการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) โดยเน้นที่วิธีวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ ขั้นตอนของการวิจัยใช้การศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 13 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Specified Sampling) ออกแบบสอบถามอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาผู้เรียนในปัจจุบัน จำนวนอาจารย์ 40 คน นักศึกษา 100 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เครื่องมือวิจัยมี 3 แบบ คือ การรวบรวมเอกสารโดยใช้เกณฑ์ภายนอกและเกณฑ์ภายในพิจารณา แบบสัมภาษณ์แบบUnstructured Interview และแบบสอบถามใช้มาตราส่วนแบบประเมินค่า (Likert scale) แบ่งเป็น 5 ระดับ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้เป็นเอกสาร 6 ประเภท ข้อความในเทปบันทึกเสียงความยาวคิดเป็น 13 ชั่วโมง และแบบสอบถาม 140 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร สัมภาษณ์และการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าร้อยละและการจัดลำดับความสำคัญ ผลการวิจัย หลักสูตรวิชาพื้นฐานทั่วไปของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการเปลี่ยนแปลง 5 ระยะ ด้วยกันคือ พ.ศ. 2505, พ.ศ.2507,พ.ศ.2514,พ.ศ.2519 และ พ.ศ.2520 พัฒนาการของหลักสูตรเป็นไปในทางก้าวหน้ามากขึ้นในด้าน จุดมุ่งหมายเนื้อหาวิชาและการบริหารหลักสูตร แต่การเรียนการสอนมีแนวโน้มของพัฒนาการในทางกลับกัน ดังนี้ 1. การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หลักสูตรมีพัฒนาการจากหลักสูตรแกน (Core Curriculum) ไปเป็นหลักสูตรกระจายสัดส่วนรายวิชา (distribution Requirements Curriculum) 2. จุดมุ่งหมาย ในด้านของพัฒนาการ หลักการของจุดมุ่งหมายคงเดิม มีเปลี่ยนแปลงบ้างเฉพาะในรายละเอียด แนวโน้มของจุดมุ่งหมายเน้นที่วิธีการศึกษาหาความรู้มากกว่าตัวเนื้อหาวิชา เมื่อเปรียบเทียบจุดมุ่งหมายของหลักสูตรในอดีตกับปัจจุบัน ตามความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาแล้วพบว่าตรงกันคือ เพื่อสร้างเสริมให้นักศึกษามีความคิด และสติปัญญากว้างขวาง และเพื่อให้มีความรอบรู้เข้าใจเรื่องราวและปัญหาของสังคม 3. เนื้อหาวิชา แบ่งเป็น 4 หมวดวิชา คือ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ และภาษา รายวิชาใน 3 หมวดวิชาแรกเป็นรายวิชาสหวิทยาการเป็นส่วนใหญ่ เนื้อหาวิชาเน้นที่ความรู้ความเข้าใจ ขาดการเน้นทางด้านทัศนคติอย่างชัดเจน หมวดวิชาภาษาเป็นรายวิชาเบื้องต้น เนื้อหาวิชาเน้นที่ทักษะในด้านต่าง ๆ จำนวนรายวิชามรพัฒนาการในด้านเพิ่มขึ้น และมีวิชาให้เลือกเรียนมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบลักษณะเนื้อหาวิชาในอดีตกับปัจจุบันตามความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาพบว่าตรงกัน คือ เป็นความรู้กว้าง ๆ และเป็นเนื้อหาเบื้องต้น 4. การบริหารหลักสูตร มีพัฒนาการจากการบริหารโดยคณะศิลปะศาสตร์มาเป็นการบริหารโดยคณะกรรมการ และพัฒนาไปจนเป็นการบริหารโดยหน่วยงานอิสระในปี พ.ศ. 2519 แล้วย้อนกลับมาเป็นการบริหารโดยคณะกรรมการตั้งแต่ พ.ศ. 2520 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบการบริหารหลักสูตรในอดีตกับปัจจุบันตามความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาพบว่า ส่วนที่ตรงกันคือ มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญของวิชาพื้นฐานทั่วไปมาก อาจารย์ได้รับบริการด้านอาคารสถานที่มาก และจำนวนวิชาเลือกควรมีมากขึ้น ส่วนที่ต่างกันคือ การจัดพิมพ์เอกสารและตำรากับอุปกรณ์การสอนในอดีตอาจารย์ได้รับบริการมาก แต่ในปัจจุบันได้รับปานกลาง ในอดีตจัดสอนวิชาพื้นฐานทั่วไปในชั้นปีที่ 1 และ 2 แต่ในปัจจุบันควรจัดสอนในชั้นปีที่ 1 5. การเรียนการสอน พัฒนาการของวิธีการสอนเริ่มจากการบรรยายกลุ่มใหญ่และการอภิปรายกลุ่มย่อย มาเป็นการสอนที่มีการบรรยายกลุ่มใหญ่มากขึ้น วิธีการประเมินผลพัฒนาการจากระบบคะแนนมาเป็นระบบเกรด ปัญหาการเรียนการสอนมีในด้านผู้เรียนมีจำนวนมาก บางวิชาเนื้อหาวิชามากและซ้ำซ้อน ผู้เรียนขาดทัศนคติที่ดีในการเรียน การเปรียบเทียบการเรียนการสอนในอดีตกับปัจจุบันตามความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษา พบว่าตรงกันในด้านวิธีการสอน ปัญหาของการเรียนการสอน ส่วนที่แตกต่างคือ ในอดีตผู้สอนพิจารณาจากผลการทำงานตลอดภาค การทดสอบระหว่างภาคและผลการสอบปลายภาครวมกันเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันผู้สอนพิจารณาจากผลการทดสอบระหว่างภาคและผลการสอบปลายภาครวมกันเท่านั้นเป็นส่วนมาก และในอดีตนักศึกษาส่วนมากไม่เห็นความสำคัญและไม่ต้องการเรียนวิชาพื้นฐานทั่วไป แต่ในปัจจุบันเห็นความสำคัญและต้องการเรียนปานกลาง ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเสนอแนะให้จัดประเมินหลักสูตรวิชาพื้นฐานทั่วไปเพื่อปรับปรุง โดยเฉพาะด้านการเรียนการสอน รวมทั้งเสนอแนะรูปแบบหลักสูตรกระจายสัดส่วนรายวิชาโดยกำหนดขั้นต่ำให้ พร้อมทั้งมีวิชาเลือกให้มากขึ้น การบริหารหลักสูตรควรจัดในรูปของหน่วยงานอิสระ การวิจัยที่ควรจัดทำต่อไปคือ การวิจัยเชิงประเมินด้านการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานทั่วไปในสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ
Other Abstract: Purposes of the Study This research was to study the historical development of the general education curriculum of Thammasat University from the beginning to the present. Specifically, the study was intended to compare the historical development with the present situation and problem of the education curriculum. Method and Procedures This study employed a historical and a descriptive research method. It included documentary study, interviews with thirteen persons of concerns selected by specified sampling and questionnaires sent to 40 present lecturers and 100 students selected by systematic random sampling. Three research instruments were used, namely the document collection utilizing both external and internal criteria, the unstructured interview questions and two sets of rating scale-typed questionnaires. With the aforesaid instruments, these data were obtained: 6 types of documents, the information from 13 hour tape recorder and 100 questionnaires. Then the documents and tape recorder information were analyzed by using content analysis, and questionnaires by using means, standard deviation, percentage and ranking. Research Conclusion From the analysis, the general education curriculum of Thammasat University has gone through five changes, each of which occurred in B.E. 2505, B.E. 2507, B.E. 2514, B.E. 2519 and B.E. 2520. The developmental trend of the three aspects of the curriculum: purposes, content and administration has been in progress while teaching and learning has been in reverse. The following were brief details: 1. Curriculum Changes The curriculum has developed from the pattern of Core Curriculum Distribution Requirements Curriculum. 2. Purposes The principle of the curriculum purposes has been unchanged except in details. However, the purpose trend reflected the more emphasis on the imquiry method than subject matters. In comparing the past curriculum purposes with those of the present according to lecturers’ and students’ opinions, they agreed that the purposes were to develop in the students’ broad perspective and ideas as well as their understanding of the society and its problems. 3. Content The content of the curriculum was categorized in 4 dissiplines-humanities, sciences and mathematics, social science and languages. Most of the courses in the first three disciplines were inter-disciplinary in nature. They emphasized knowledge and understanding but not attitude. All the language courses were introductory courses which emphasized skills. The number of courses increased; consequently, more electives were provided. In comparing the past content with the present according to lecturers’ and studets’ opinions the result was an agreement that the content was broad and it was at an introductory level. 4. Administration The administration of the general education curriculum has changed many times. It was in the beginning administered by the Faculty of Liberal Arts, then by the committee, by the institute of general education in B.E.2519 and by the committee again in B.E. 2520 until the present time. In comparing the past curriculum administration with the present one according to lecturers’ and students’ perceptions, the agreements were the university gave much recognition much building services and there should be more electives. The disagreements were the lecturers received much services in the note and text publishing and the teaching-aids in the past but they received these services at the average level at present; the general education curriculum was taught in the first and second year in the past but it should be taught in the first year at present. 5. Teaching and Learning The teaching method has developed from large class lectures and group discussions to more large class lectures. The evaluation has developed from mark system to letter-grade system. There were teaching and learning problems in large class, however. Some courses were repetitive; some offered a lot of subject matters and students lacked positive attitude toward studying. In comparing the past teaching and learning with the present according to lecturers’ and students’ perceptions, the agreements were found in the teaching method and the teaching and learning problems. The disagreements were that in evaluation examination were considered in the past while only tests and the final examination were considered at present; most students neither realized the importance of the general education nor wanted to study it in the past while they both realized its importance and wanted to study it at present. Recommendations It is recommended that an evaluation of the general education curriculum in all aspects especially the teaching and learning area be conducted for curriculum improvement. The Distribution Requirements Curriculum with more electives and the administration by an institute of general education are suggested. Further research dealing with the teaching and learning evaluation of the general education should be done in other higher education institutes.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25662
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Renu_Ph_front.pdf621.41 kBAdobe PDFView/Open
Renu_Ph_ch1.pdf359.1 kBAdobe PDFView/Open
Renu_Ph_ch2.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open
Renu_Ph_ch3.pdf388.56 kBAdobe PDFView/Open
Renu_Ph_ch4.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open
Renu_Ph_ch5.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Renu_Ph_ch6.pdf866.97 kBAdobe PDFView/Open
Renu_Ph_back.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.