Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2574
Title: ผลของการฉีดเคตามีนเข้าช่องเหนือเยื่อดูราของไขสันหลัง เพื่อระงับความรู้สึกของขาหลังในสุนัข
Other Titles: Effect of epidural ketamine for hindlimb anesthesia in dogs
Authors: สมศักดิ์ วรรธนะนิตย์, 2520-
Advisors: มาริษศักร์ กัลล์ประวิทธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Marissak.K@Chula.ac.th
Subjects: ยาระงับความรู้สึก
สุนัข--ศัลยกรรม
เคตามีน
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาผลของการฉีดเคตามีนเข้าช่องเหนือเยื่อดูราของไขสันหลัง เพื่อระงับความรู้สึกของขาหลังในสุนัขทดลอง 20 ตัว สุนัขทุกตัวได้รับเคตามีนขนาด 2 มก./กก.ผสมกับน้ำเกลือ 0.9% ให้มีปริมาตร 1 มล./น.น.ตัว 4.5 กก. (กลุ่มทดลอง) และน้ำเกลือ 0.9% 1 มล./น.น.ตัว 4.5 กก. (กลุ่มควบคุม) ฉีดเข้าช่องเหนือเยื่อดูราโดยให้มีระยะห่างกันอย่างน้อย 7 วัน สุนัขทุกตัวได้รับยาเตรียมการสลบอะโทรปีนขนาด 0.04 มก./กก. ร่วมกับไซลาซีน ขนาด 2 มก./กก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และเอซโปรมาซีนขนาด 0.2 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ แล้วจึงฉีดยาหรือน้ำเกลือเข้าช่องเหนือเยื่อดูราของไขสันหลัง ทำการผ่าตัดเข้าหากระดูก tibia ด้านใน ประเมินผลโดยการสังเกตการตอบสนองของสุนัขขณะผ่าตัด และวัดอัตราการหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันเลือดแดง systolic, diastolic, ความดันเลือดเฉลี่ย และค่าก๊าซในเลือด พบว่าการผ่าตัดใช้เวลาเฉลี่ย 24 นาที ภายหลังฉีดเคตามีนสามารถทำการผ่าตัดสุนัขทั้ง 20 ตัวได้โดยไม่ต้องให้ยาระงับความรู้สึกอื่นๆ เพิ่มเติม ในขณะที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดสุนัข 19 จาก 20 ตัวของกลุ่มควบคุม ถ้าไม่ได้รับยาระงับความรู้สึกอื่นร่วมด้วย ค่าเฉลี่ยอัตราการหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันเลือดแดง และค่าก๊าซในเลือด ที่เวลาต่างๆ ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างอย่างนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ยกเว้นค่าเฉลี่ยความดันเลือดแดง systolic ที่ 120 นาทีหลังฉีดยาเข้าช่องเหนือเยื่อดูรา การฉีดเคตามีนเข้าช่องเหนือเยื่อดูราของไขสันหลัง สามารถระงับความรู้สึกของขาหลังได้เพียงพอสำหรับการผ่าตัด โดยไม่มีผลต่อการหายใจและการไหลเวียนเลือด
Other Abstract: The effects of epidural ketamine for hindlimb anesthesia were studied in 20 experimental dogs. Every dog was epidurally administered with ketamine 2 mg/kg diluted in 0.9% normal saline (NSS) to a volume of 1 ml/4.5 kg. (treatment group) and NSS at the same volume (control group) at least 7 days apart. All dogs were premedicated with atropine (0.04 mg/kg) and xylazine (2 mg/kg) intramuscularly, and acepromazine (0.2 mg/kg) intravenously. After epidural administration, medial aspect of tibia was surgically approached. The response to the surgical procedure was observed and respiratory rate, heart rate, arterial blood pressure, and blood gases were measured. The average surgical time was 24 min (range 14-38 min). Surgical anesthesia was observed in all twenty dogs receiving epidural ketamine. Nineteen of twenty dogs in the control group still felt pain and needed intraoperative thiopental intravenously or lidocaine locally. The respiratory rate, heart rate, arterial blood pressure, and blood gases were not significantly different (p>0.05) between those of the treatment and the control groups, except systolic pressure at 120 min after epidural injection. In conclusion epidural administration of ketamine can be used for surgical anesthesia on the hindlimb of the dog.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2574
ISBN: 9741736878
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsak.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.