Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27175
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะโภชนาการของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดสุรินทร์
Other Titles: Factors affecting nutritional state of primary school students grade 6 in surin province
Authors: ศรีสว่าง มุกต์ธนะอนันต์
Advisors: ภัสสร ลิมานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางประชากร เศรษฐกิจสังคม และภาวะแวดล้อมทางกายภาพของชุมชน กับภาวะโภชนาการของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดสุรินทร์ โดยมีปัจจัยทางพฤติกรรมการบริโภคคือ ความถี่ในการบริโภคอาหารหลัก 3 ประเภท และพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ เป็นตัวแปรกลาง หน่วยตัวอย่างที่เป็นตัวแทนในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และสังกัดการประถมศึกษา เป็นชาย 515 คน หญิง 531 คน รวมทั้งสิ้น 1,046 คน ผลการศึกษาพบว่าตัวแปรอิสระหลายตัว เมื่อไม่มีตัวแปรกลางคือ ความถี่ในการบริโภคอาหารหลัก 3 ประเภท และพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ มีตัวแปรอิสระหลายตัว ได้แก่ จำนวนสมาชิกในครอบครัว จำนวนพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน ลำดับที่ของการเป็นบุตร อาชีพหลักของบิดามารดา ระดับการศึกษาของบิดามารดา รายได้ของครอบครัว ความเชื่อเกี่ยวกับการบริโภคอาหารเขตที่อยู่อาศับ การมีโครงการประมงหรือเลี้ยงสัตว์ในชุมชนที่อยู่อาศัย มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า .05 แต่เมื่อมีตัวแปรกลางคือ ความถี่ในการบริโภคอาหารหลัก 3 ประเภทพบว่า ตัวแปรอิสระคือความเชื่อในการบริโภคอาหารในทุกระดับความถี่ในการบริโภคอาหารหลัก 3 ประเภท ไม่ว่าในระดับสูง ปานกลาง และต่ำ อาชีพหลักของบิดา และการมีโครงการประมงหรือเลี้ยงสัตว์ในชุมชนที่อยู่อาศัยเฉพาะกลุ่มที่มีความถี่ในการบริโภคอาหารหลัก 3 ประเภทในระดับสูงและปานกลาง ระดับการศึกษาของมารดาเฉพาะกลุ่มที่มีความถี่ในการบริโภคอาหารหลัก 3 ประเภทในระดับปานกลาง รายได้ของครอบครัวและระดับการศึกษาของบิดาเฉพาะกลุ่มที่มีการบริโภคอาหารหลัก 3 ประเภท ในระดับต่ำ ที่มีอิทธิพลต่อภาวะโภชนาการของนักเรียนอย่างชัดเจน และเมื่อมีตัวแปรกลางคือ พฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ พบว่าตัวแปรอิสระที่มีอิทธิพลอย่างชัดเจนต่อภาวะโภชนาการของนักเรียน ได้แก่ ความเชื่อในการบริโภคอาหารและการมีโครงการประมงหรือเลี้ยงสัตว์ในชุมชนที่อยู่อาศัย ในทุกระดับของพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการไม่ว่าในระดับสูง ปานกลาง และต่ำ จำนวนสมาชิกในครอบครัว อาชีพหลักของบิดาเฉพาะกลุ่มที่มีพฤติกรรมการบริโภคตามหลักโภชนาการในระดับปานกลาง และต่ำ อาชีพหลักของมารดา และระดับการศึกษาของบิดา เฉพาะกลุ่มที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการในระดับปานกลาง เพศของนักเรียน จำนวนพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน รายได้ของครอบครัว และเขตที่อยู่อาศัย เฉพาะกลุ่มที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการในระดับต่ำเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาครั้งนี้ได้พบประเด็นสำคัญคือ ปัจจัยที่เป็นตัวแปรกลางทั้งสองตัวแปรมีบทบาทต่อภาวะโภชนาการของนักเรียนมาก แม้ว่าในบางกรณีปัจจัยเหล่านี้จะไม่มีอิทธิพลโดยตรงก็ตามแต่มีผลให้เกิดความแตกต่างในภาวะโภชนาการระดับต่างๆ ได้ โดยพิจารณาได้จากค่าร้อยละในทุกตารางที่แสดงไว้ในบทที่ 3 พบว่านักเรียนที่อยู่ในกลุ่มตัวแปรกลางสองตัวที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารในระดับสูง มีสัดส่วนน้อยมากที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าระดับปกติ ขณะที่นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มของตัวแปรกลางทั้งสองตัวแปรที่มีพฤติกรรมการบริกโภคอาหารในระดับต่ำ มีแนวโน้มการมีภาวะโภชนาการต่ำกว่าระดับปกติในสัดส่วนที่สูงขึ้นมาก เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มแรก
Other Abstract: The objective of this study was to investigate the relationship between nutritional state of primary school students, their demographic, socio-economic factors and physical environment of the community. The intervening variable introduced into the study was consumption behavior consisting of two different variables; frequency of consumption of 3 major types of diet, and consumption behavior of proper diet. The sample population of this study were 1,046 primary school students (515 boys and 531 girls) who were studying in grade 6 in Surin Province at the time of interview. The analysis revealed that the following independent variables had a close relationship with nutritional state of these students at less than .05 level of statistical significance; namely number of household members, number of siblings, birth order, parents’ occupation and educational background, household income, dieting beliefs, residence, occupational development projects existing in the community. However, once one of the intervening variables; frequency of consumption of 3 major types of diet, was introduced into the analysis, it was found that the following independent variables were strong determinants of nutritional state of the students; namely dieting beliefs for students in all 3 levels of frequency of consumptions of 3 majors types of diet; father’s occupation, occupational development projects exists in the community for those who were in the high and medium levels of frequency of consumption; household income and father’s education for those who were in the low level of frequency of consumption. On the other hand, when another intervening variable; consumption behavior of proper diet, was introduced into the analysis, it was found that only some of independent variables were important determinants of nutritional state of the sample students. The determinants included dieting beliefs and occupational development projects exists in the community for students in all 3 levels of frequency of consumption; numbers of household members, father’s occupation for students who were in medium and low levels of frequency of consumption; mother’s occupation, and father’s education for those who were in the medium level of frequency of consumption; and sex of students, number of siblings, household income, residence for those who were in the low level of frequency of consumption. The most important finding obtained from this study was that the two intervening variables introduced into the analysis had borne significant impacts both directly and indirectly on nutritional state of primary school students under study. That is, dieting or consumption behavior of students strongly determined their level and degree of malnutrition.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27175
ISBN: 9745798754
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Srisavang_mu_front.pdf3.66 MBAdobe PDFView/Open
Srisavang_mu_ch1.pdf9.65 MBAdobe PDFView/Open
Srisavang_mu_ch2.pdf8.15 MBAdobe PDFView/Open
Srisavang_mu_ch3.pdf33.88 MBAdobe PDFView/Open
Srisavang_mu_ch4.pdf2.93 MBAdobe PDFView/Open
Srisavang_mu_back.pdf7.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.