Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27561
Title: ความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมสังคมของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง
Other Titles: Moral congnition concerning social behaviors of pupils, teachers and parents
Authors: อภิญญา จันทร์เจนจบ
Advisors: พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายคือ (1) ศึกษาและสำรวจความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมสังคม ของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง และ (2) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมสังคมของบุคคลตามตัวแปรอิสระ 6 ตัว อันได้แก่ สถานภาพ เพศ ศาสนา อาชีพหลักของครอบครัว ภูมิภาค และสภาพความเป็นเมือง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครู และผู้ปกครอง จากภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพมหานคร จำนวน 2,888 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง และมาตรวัดความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมสังคม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีการของเซฟเฟ ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมสังคมที่กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีความรู้ความเข้าใจว่าเป็นพฤติกรรมที่ดี ถูก และควรอย่างมากคือ การบำเพ็ญประโยชน์ การให้ความช่วยเหลือผู้อื่น การแสดงความกตัญญูแม้ว่าการกระทำนั้นจะยากลำบาก การคำนึงถึงความอาวุโส การให้อภัยและการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น พฤติกรรมที่ไม่ดี ผิด และไม่ควรอย่างมากคือ การให้ร้ายป้ายสี การเบียดเบียนผู้อื่น การอิจฉาริษยา การผิดจริยธรรมทางเพศของหญิง การไม่รักษาระเบียบวิจัย และการพูดปด ส่วนพฤติกรรมที่ยังตัดสินแน่นอนไม่ได้ว่าดีหรือไม่ดีถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควร ได้แก่การปฏิบัติต่อผู้ชายดีกว่าผู้หญิง การประจบ การแสดงความกตัญญูแม่ว่าการกระทำนั้นจะผิดระเบียบ การรักษาหน้า การปฏิบัติต่อลูกคนโตดีกว่าลูกคนรองลงมา และการปฏิบัติต่อคนที่ร่ำรวยดีกว่าที่ไม่ร่ำรวย 2. ในตัวแปรอิสระทั้ง 6 ตัว พบว่าตัวแปร “สถานภาพ “ มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำให้บุคคลมีความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมสังคมแตกต่างกันมากที่สุด รองลงมาคือ สภาพความเป็นเมือง ภูมิภาค เพศ และอาชีพหลักของครอบครัวส่วนตัวแปรที่มีส่วนเกี่ยวข้องน้อยที่สุดคือ “ศาสนา” ดังมีรายละเอียดดังนี้คือ 2.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครู และผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05 ขึ้นไป) จำนวน 20 พฤติกรรม (จากพฤติกรรมทั้งหมด 24 พฤติกรรม) 2.2 บุคคลในเขตใจกลางมหานคร ชานมหานคร อำเภอเมือง และอำเภอชนบท มีความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมสังคมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p < .05 ขึ้นไป) จำนวน 16 พฤติกรรม 2.3 บุคคลที่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร มีความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p < .05 ขึ้นไป) จำนวน 15 พฤติกรรม 2.4 เพศหญิงและเพศชาย มีความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมสังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p < .05 ขึ้นไป) จำนวน 13 พฤติกรรม 2.5 บุคคลจากครอบครัวที่มีอาชีพรับราชการ ลูกจ้างเอกชน ธุรกิจการค้า และผู้ใช้แรงงาน มีความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมสังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p <.05 ขึ้นไป) จำนวน 12 พฤติกรรม 2.6 บุคคลที่นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม มีความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมสังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p < .01) จำนวน 2 พฤติกรรม 3. กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีความปรารถนาต่อผลการกระทำทั้ง 7 ลักษณะในระดับสูง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ คือ ความสำเร็จในชีวิตการงาน ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความเป็นผลดีต่อสังคม การเป็นที่รักใคร่ชื่นชมของผู้อื่น ความสุขสบายใจ ความรู้สึกว่าตนเองมีค่าน่าภาคภูมิใจ และความมั่งมีทรัพย์สินเงินทอง
Other Abstract: The purpose of this research was (1) to survey and investigate moral cognition concerning social behaviors of pupils, teachers and parents, and (2) to compare the moral cognition in the three different groups according to six independent variables: status, sex, religion, occupation of the family, region and residential area. The sample of this survey consisted of 2,888 subjects which included of pupils from Pathomsuksa 6, Mathayom 3 and Mathayomsuksa 5, teachers and parents from the five regions of Thailand, namely the North, Centre, South, Northeast and the Bangkok Metropolis. The subjects were selected by a multi-stage sampling method. Data were collected through a questionnaire for biographical data and through the Moral Cognition Scale : Social Behaviors for opinions on social behaviors. The data were analyzed by using the one way analysis of variance and Scheffe’s method of multiple comparison. The Main findings of this study were as follows: 1. The social behaviors according to the subjects’ moral cognition which were rated as “very good and proper” were welfare work, helping others, showing gratitude even if difficult to do, being aware of seniority, forgiving and being sympathetic toward others. The social behaviors according to the subjects’ moral cognition which were rated as “very bad and improper” were calumny, oppressing others, envy, women violating sexual moral ethics, lacking discipline and telling lies. Behaviors for which decision of good or bad, right or wrong could not be given included sexism, flattering, showing gratitude even if against the rule, face saving, favoring older children and favoring rich people. 2. Of the six independent variables, “status” was the one variable which accounted for greatest differences in moral cognition concerning social behaviors. Next, came area of residence, than region sex and occupation of family. The less relevant variable was religion. 2.1 There was a significant difference in moral cognition 20 out of the 24 social behaviors, among pupils from Pathomsuksa 6, Mathayom 3 and Mathayomsuksa 5, teachers and parents (p <.05 and beyond). 2.2 There was a significant difference in moral cognition concerning 16 social behaviors, among subjects from Bangkok, the suburbs, the Amphoes Muang and the Amphoes in the rural areas (p <.05 and beyond). 2.3 There was a significant difference in moral cognition concerning 15 social behaviors, among subjects from the Northern Central, Northeasthern, Southern and the Bangkok Metropolis regions (P < .05 and beyond). 2.4 There was a significant difference in moral cognition concerning 13 social behaviors, between male and female subjects (P < .05 and beyond). 2.5 There was a significant difference in moral cognition concerning 12 social behaviors, among subjects from families with various occupations: civil service, employees, business of warkers (P < .05 and beyond) 2.6 there was a significant difference in moral cognition concerning 2 social behaviors, among Buddhists, Christians and Moslems (P < .01). 3. As for the seven types of consequences of one’s own behaviors, all subjects perceived them as highly desirable according to the following order: success in life and occupation, security in life and property, good effects to the society, esteem and praise by others, happiness, self-esteem and wealth.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27561
ISBN: 9745616257
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Apinya_Ch_front.pdf615.77 kBAdobe PDFView/Open
Apinya_Ch_ch1.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
Apinya_Ch_ch2.pdf939.63 kBAdobe PDFView/Open
Apinya_Ch_ch3.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
Apinya_Ch_ch4.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open
Apinya_Ch_ch5.pdf443.05 kBAdobe PDFView/Open
Apinya_Ch_back.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.