Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27692
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จามร ชุมสาย ณ อยุธยา | |
dc.contributor.author | อนุวัธ อนุตรโชติกุล | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-12-14T14:23:54Z | |
dc.date.available | 2012-12-14T14:23:54Z | |
dc.date.issued | 2529 | |
dc.identifier.isbn | 9745661813 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27692 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en |
dc.description.abstract | จากการที่ประเทศไทยสามารถเพาะพันธ์ปลากะพงขาวในโรงเพาะฟัก เป็นผลสำเร็จชาติแรกในโลกเมื่อปี 2516 เป็นต้นมา ทำให้การเลี้ยงปลากะพงขาวได้รับความสนใจจากประชาชนผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นจำนวนมากขึ้น ทั้งนี้เพราะปลากะพงขาวเป็นปลาที่มีราคาแพงสามารถทำรายได้ให้กับผู้เลี้ยงได้เป็นอย่างดี โดยจะสังเกตได้จากการที่ประชาชนขอจองพันธุ์ปลากะพงขาวในแต่ละปีมีเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งทางราชการและเอกชนทำการผลิตแทบไม่ทันกับความต้องการของประชาชนที่ขอจองพันธุ์ปลา วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงต้นทุนและผลตอบแทนจากการเลี้ยงปลากะพงขาวในบ่อดิน โดยเลือกศึกษาจากเกษตรกรในตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ซึ่งเริ่มต้นเลี้ยงปลากะพงขาวเป็นอาชีพเสริม ใช้เงินทุนเริ่มแรกจำนวนไม่มากนักอันจะเป็นประโยชน์สำหรับเกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปได้ทราบเป็นแนวทางเบื้องต้น การศึกษาได้จากการสอบถาม สัมภาษณ์ และประมวลข้อคิดเห็นจากเกษตรกรและบุคคลต่าง ๆ ในวงการตลอดจนการค้นคว้าจากตำรา บทความ หนังสือ และเอกสารต่าง ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงต้นทุนและผลตอบแทนที่ได้รับจากการเลี้ยงปลากะพงขาวเป็นปลาเนื้อ (ขนาดปลาจาน) โดยแสดงการเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างกลุ่มผู้เลี้ยงปลาขนาด 2½ นิ้ว ให้เป็นปลาเนื้อ และกลุ่มผู้เลี้ยงปลาขนาด 3 นิ้ว ให้เป็นปลาเนื้อว่ามีผลแตกต่างกันในด้านใดเพียงไร ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้เลี้ยงปลากะพงขนาด 2½ นิ้ว และ 3 นิ้ว ใช้เงินลงทุนเริ่มแรกเฉลี่ยฟาร์มละ 14,364 บาท และ 17,205 บาท มีขนาดบ่อเลี้ยงปลาโยเฉลี่ยฟาร์มละ 2,000 ตารางเมตร และ 2,800 ตารางเมตร ตามลำดับ ค่าใช้จ่ายผันแปรเฉลี่ยฟาร์มละ 61,622 บาทต่อปี และ 137,410 บาทต่อปี หรือแตกต่างกันในอัตรา 1 : 2.23 เท่าตามลำดับ แต่ผลกำไรสุทธิของฟาร์มแต่ละกลุ่มเฉลี่ยฟาร์มละ 20,934 บาทต่อปี และ 89,430 บาทต่อปี หรืออัตรา 1 : 4.27 เท่าตามลำดับ ซึ่งกลุ่มผู้เลี้ยงปลากะพงขาวขนาด 3 นิ้ว มีความได้เปรียบกว่ากลุ่มผู้เลี้ยงปลาขนาด 2½ นิ้ว แสดงให้เห็นว่าการเลี้ยงปลากะพงขาวในบ่อดิน ควรคำนึงถึงขนาดของลูกปลาที่ปล่อยลงเลี้ยง เพราะจะมีผลอย่างมากต่อการอยู่รอด (Survival Rate) อัตราการเจริญเติบโต (Growth Rate) และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ ( Food Conversion Rate) จึงทำให้ผลผลิต (Production) ที่ได้รับมีความแตกต่างกัน การเลี้ยงปลากะพงขาวในบ่อดินนอกจากจะต้องคำนึงถึงขนาดของลูกปลาที่ปล่อยลงเลี้ยงแล้ว ควรคำนึงถึงปริมาณลูกปลาให้อยู่ในอัตราที่พอเหมาะไม่น้อยหรือมากเกินไป รวมทั้งความชำนาญในการเลี้ยง สภาพแวดล้อมของภูมิประเทศและภูมิอากาศ ตลอดจนคุณภาพของน้ำอาหารปลา และการดูแลเอาใจใส่ ซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิตที่ได้รับ ปัญหาที่พบในการเลี้ยงปลากะพงขาวได้แก่ การขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง คุณภาพของน้ำที่มีความเป็นกรดมากเกินไป ความไม่แน่นอนของราคาปลาในท้องตลาด รวมทั้งอาหารปลาได้แก่ ปลาข้างเหลืองหรือปลาเป็ดที่นำมาใช้เลี้ยงปลามีแนวโน้มว่าจะขาดแคลนและมีราคาแพงขึ้นจนเกษตรกรไม่สามารถประกอบอาชีพนี้เป็นหลักในระยะยาวได้ ข้อเสนอแนะในการทำฟาร์มเลี้ยงปลากะพงขาว 1. ควรพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งใกล้แหล่งน้ำ และควรมีบ่อพักน้ำเก็บสำรองไว้เพื่อให้มีการทดสอบคุณภาพของน้ำก่อนนำมาใช้เลี้ยงปลา 2. รัฐควรให้ความสนับสนุนผู้เลี้ยงปลาทางด้านวิชาการ เช่น วิธีการเลี้ยง การให้อาหาร การป้องกันรักษาโรค และการพัฒนาอาหารเทียมที่สามารถนำมาใช้แทนปลาเป็ดได้ 3. รัฐควรให้ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อเพื่อการผลิตระยะสั้น รวมทั้งการส่งเสริมด้านการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ 4. ควรมีการรวมกลุ่มผู้เลี้ยงปลากะพงขาวเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและให้ความช่วยเหลือระหว่างสมาชิกด้วยกัน | |
dc.description.abstractalternative | Thailand is the first country in the world that has succeeded in artificial fertilization of “White Seabass” in hatchery and can ensure the production of fish seed in mass production scale since 1973. Since then the rearing of such species in various confinements have increased tremendously, due to the fact that such species is high value fish and can yield a very high return to investors. The annual demand for fingerling is so high that it exceeds the production capability of both private and governmental hatcheries. The objectives of this thesis are to study the basic structure on costs and returns of rearing white seabass in earthen pond. Samples were selected from farmers at Tambon Bankao, Ampher Parnthong, Cholburi Province., who initially invested small amount of money in rearing such species to earn an additional income to farming. It is expected that the result of this study will provide basic information and investment guide-line to farmers as well as to the public. Data were obtained from field survey through interview of active operators and other people concerned. The analysis was based on information from field survey and literature survey. The analysis has given emphasis to two groups of farmers who stocked the fish with two different sizes, 2½ inches and 3 inches. The study revealed that it required an initial investment of Baht 14,364 and Baht 17,205 for fingerlings of 2½ inches and 3 inches on an average farm area of 2,000 square metres and 2,800 square metres respectively. The average annual variable cost per farm for rearing 2½ inches and 3 inches fingerlings was Baht 61,622 and Baht 137,410 respectively or at the ratio of 1 : 2.23 Net profit per annum of each farm was Baht 20,934 and Baht 89,430 or at the ratio of 1 : 4.27 respectively. The stocking of fingerling of 3 inches yielded a higher return than that of 2½ inches. It was found that fingerlings of bigger sizes would achieve a better survival rate, faster growing and better food conversion that eventually would result in a higher return. Besides the size of fish, other variable parameters such as quality of water, experiences of farmers, environment, temperature, quality of water, food and special care should also be taken into consideration. Such parameters had great influence in the production efficiency that would reflect directly to the level of return. Some major problems in rearing white seabass were : shortage of water during summer, high water acidity, price fluctuation and rising price of fish seed. Recommendations : 1. Site must be close to the main source of water supply. A reservoir is needed to retain water for a period of time before it is used. 2. The government should provide technical support such as : techniques of rearing, appropriate fish feed, disease preventive methods and how to develop artificial food for substitution. 3. The government should extend credit to investors for short term production as well as help towards market promotion both domestically and internationally. 4. The investors need to form a collective society to improve better bargaining power and assist each other in times of need. | |
dc.format.extent | 465611 bytes | |
dc.format.extent | 357219 bytes | |
dc.format.extent | 933218 bytes | |
dc.format.extent | 655545 bytes | |
dc.format.extent | 981180 bytes | |
dc.format.extent | 643971 bytes | |
dc.format.extent | 343189 bytes | |
dc.format.extent | 776339 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ต้นทุนการเลี้ยงปลากะพงขาวในบ่อดิน | en |
dc.title.alternative | The cost of white seabass culture in Earthern pond | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | บัญชีมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การบัญชี | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anuwat_An_front.pdf | 454.7 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anuwat_An_ch1.pdf | 348.85 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anuwat_An_ch2.pdf | 911.35 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anuwat_An_ch3.pdf | 640.18 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anuwat_An_ch4.pdf | 958.18 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anuwat_An_ch5.pdf | 628.88 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anuwat_An_ch6.pdf | 335.15 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anuwat_An_back.pdf | 758.14 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.