Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27703
Title: การสร้างแบบฝึกหัดทักษะภาษาไทยเรื่องสระเสียงสั้น สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่งและสอง
Other Titles: Construction of a Thai excrcise on "short vowels" for prathom suksa one and two
Authors: ศิรินาถ เพชรทองคำ
Advisors: กิติยวดี บุญซื่อ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิยาลัย
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อสร้างแบบฝึกหัดทักษะภาษาไทยเรื่องสระเสียงสั้น สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่งและสอง 2. เพื่อสำรวจความเหมาะสมของแบบฝึกหัดที่จะนำไปให้นักเรียนใช้โดยการสอบถามความคิดเห็นจากอาจารย์ผู้มีประสบการณ์ทางการสอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่งและสอง วิธีดำเนินงาน ผู้วิจัยได้ศึกษาหนังสือซึ่งเป็นส่วนประกอบของสร้างแบบฝึกหัด แล้วนำมาสร้างเป็นแบบฝึกหัดทักษะที่มีแบบฝึกหลาย ๆ ลักษณะประกอบกันสำหรับใช้นักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่งและสอง แต่ก่อนจะนำไปใช้กับนักเรียน ผู้วิจัยได้สร้างแบบสำรวจความคิดเห็นขึ้น 1เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับแบบฝึกหัดทักษะนี้ โดยสอบถามจากอาจารย์ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญ 6 แห่ง จำนวน 50 คน และอาจารย์โรงเรียนสาธิต 5 แห่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 40 รวม 90 คน หลังจากนั้นได้นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากแบบสอบถามมาทำการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ผลการวิจัย ค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดเห็นของอาจารย์โรงเรียนสาธิตเท่ากับ 4.136 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .727 และค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดเห็นของอาจารย์ในสังกัดกรมสามัญศึกษาเท่ากับ 3.975 ส่วนเบนมาตรฐานเท่ากับ .666 จากค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดเห็นอาจารย์โรงเรียนสาธิตทั้ง 5 แห่ง และอาจารย์โรงเรียนในสังกัดศึกษา 6 แห่งดังกล่าว แสดงว่าแบบฝึกหัดทักษะภาษาไทยเรื่องสระเสียงสั้นสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่งและสองอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมที่จะนำไปให้นักเรียนใช้เป็นแบบฝึกหัดเสริมทักษะเกี่ยวกับสระเสียงสั้นเป็นอย่างมาก
Other Abstract: Purposes The purposes of this thesis were: 1. to construct the Thai Short Vowels Exercise for Prathom Suksa One and Two; 2. to investigate the suitability of the exercise for the students by distributing questionnaire to the teachers of Prathom Suksa One and Two.whq had experiences in teaching Thai Language. Procedure To collect the data, the researcher had studied the books that were the components of the construction of the exercise for Prathom Suksa One and Two. Before using the exercise with the students, the researcher had designed the questionnaire in order to gather the teachers‘ opinions about this exercise in the sense of validity and usability. The samples of this study were 50 teachers who teach Thai Language in Prathom Suksa One and Two from six schools of Government Elementary Schools and 40 teachers from five Demonstration Schools in Bangkok Province. The obtained data were analyzed in terms of means and standard deviations. Results The mean and the standard deviation of the pooled data, evaluated by those teachers in five Demonstration Schools were 4.135 and 0.702, respectively; where as the mean and the standard deviation obtained from those teachers who were teaching in the Government Elementary Schools were 3,975 and 0.666, respectively. According to Best, the means and the standard deviations show that the Thai short Vowels Exercise for Prathom Suksa One and Two are very suitable for the students.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27703
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirinart_Ph_front.pdf531.17 kBAdobe PDFView/Open
Sirinart_Ph_ch1.pdf552.87 kBAdobe PDFView/Open
Sirinart_Ph_ch2.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Sirinart_Ph_ch3.pdf608.03 kBAdobe PDFView/Open
Sirinart_Ph_ch4.pdf838.15 kBAdobe PDFView/Open
Sirinart_Ph_ch5.pdf432.83 kBAdobe PDFView/Open
Sirinart_Ph_back.pdf4.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.