Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27796
Title: แบบจำลองโครงการศึกษาสำหรับเด็กวัยเรียน ในชุมชนแออัดกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A model of educational program for the school age children in Bangkok metropolis slum area
Authors: เอนก ดุลบุตร
Advisors: สุมน อมรวิวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแบบจำลองโครงการศึกษาสำหรับเด็กวัยเรียนซึ่งขาดโอกาสเข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาในชุมชนแออัด ต่อสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการสัมภาษณ์ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้างแบบจำลองโครงการศึกษา เป็นประชาชนจากชุมชนแออัดประดู่ 1 หลังโรงเรียนอัสละฟียะฮ์ ซอยสวนหลวง 1 และวัดจันทร์ใน โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่มคือ กลุ่มหัวหน้าครอบครัว แม่บ้าน ผู้นำชุมชน เด็กวัยเรียนที่ไม่ได้เรียน และเจ้าหน้าที่ของรัฐและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหาและความต้องการทางการศึกษา ที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยเรียนการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งไร้โอกาสเข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาในชุมชนแออัดกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และบันทึก แล้วรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ เกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบ และสรุปผลข้อมูลอื่นเป็นความเรียง ผลการวิจัย ข้อมูลเบื้องต้น พบว่า สภาพชุมชนแออัดที่ศึกษาในครั้งนี้มีลักษณะที่อยู่อาศัยชำรุดทรุดโทรม มีปัญหาด้านสุขภาพอนามัยและเป็นแหล่งอบายมุข ประชาชนส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีรายได้ต่ำ สาเหตุที่เด็กไม่ได้เรียนเกิดจาก ความยากจน ครอบครัวแตกแยก และขาดหลักฐานเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์ ตัวอย่างประชากรมีความเห็นว่า รัฐควรช่วยเหลือจัดการศึกษาเป็นพิเศษแก่เด็กวัยเรียนที่ไม่ได้เข้าเรียน โดยจัดโรงเรียน ครู และวัสดุอุปกรณ์การเรียนในเพียงพอ การจัดการศึกษาที่เหมาะสมนั้น ควรจัดแบบผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ และการศึกษานอกระบบ โดยหลักสูตรเน้นหนักวิชาชีพ วิชาสามัญ จริยศึกษา และสุขภาพอนามัยให้เหมาะสมกับสภาพชุมชน แบบจำลองโครงการศึกษา การจัดการศึกษาสำหรับเด็กวัยเรียนที่ไม่ได้เข้าเรียนในชุมชนแออัด จัดแบบผสมผสานส่วนดีของการศึกษาในระบบเข้าด้วยกันกับการศึกษานอกระบบ เสริมด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาให้เหมาะสม โดยจัดเป็นโรงเรียนย่อยขึ้นภายในโรงเรียนใหญ่ (school with in school) มีการบริหารเป็นสัดส่วน แต่เชื่อมโยงกับการบริหารของโรงเรียนใหญ่ บุคลากรและทรัพยากรที่ดำเนินการส่วนหนึ่งมาจากโรงเรียนสงเคราะห์เคลื่อนที่กรุงเทพมหานคร วิธีจัดการเรียนการสอน ใช้ห้องเรียนบางส่วนหรือบางอาคารเรียนในโรงเรียนกรุงเทพมหานคร จัดเป็นห้องเรียนพิเศษ จัดเวลาเรียนตั้งแต่ 15.30 น. ถึง 19.00 น. การมาเรียนใช้วิธีไป-กลับ แบ่งชั้นเรียนออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับ 1 เทียบเท่าชั้นประถมปีที่ 1-2 ระดับ 2 เทียบเท่าชั้นประถมปีที่ 3-4 ระดับ 3 เทียบเท่าชั้นประถมปีที่ 5-6 ใช้เวลาเรียนตลอดหลักสูตร 4 ½ปี สำเร็จแล้วสอบเทียบเพื่อรับวุฒิบัตรเทียบเท่าชั้นประถมปีที่ 6 หลักสูตรแบ่งเป็นกลุ่มวิชาภาคบังคับ และวิชาเลือก ประกอบด้วยวิชาชีพ วิชาสามัญ จริยศึกษา และพลานามัย ระบบบริหารแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การบริหารนอกสถานศึกษามีการร่วมมือประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เข้าไปปฏิบัติงานในชุมชนแออัด และประชาชนในชุมชนมีสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการประสานงาน ส่วนการบริหารในสถานศึกษาจัดเป็นหน่วยงานย่อยที่มีระบบงานเป็นของตัวเองในการบริหารงานแต่มีความเชื่อมโยงกับโรงเรียนใหญ่ด้วย งบประมาณใช้จากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร รัฐบาล และการบริจาคมูลนิธิ องค์กรต่างๆ และเอกชน การบริการ มุ่งแก้ปัญหาและบริการเด็ก ผู้ปกครอง และชุมชน โดยมีบริการแนะแนวเด็ก การบริการด้านสุขภาพอนามัย จัดอาหารและอุปกรณ์การเรียนที่ให้เปล่า การแก้ปัญหาเฉพาะของเด็ก จัดหางานพิเศษเพื่อให้เด็กมีรายได้ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ การดำเนินการ ขั้นจัดตั้งและกำหนดนโยบาย เป็นไปในรูปคณะกรรมการ 3 คณะ คือ กรรมการอำยวนการ กรรมการดำเนินการ และอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ โดยกำหนดนโยบาย กำหนดหลักสูตร เลือกโรงเรียนเข้าโครงการ ประชาสัมพันธ์กับชาวชุมชนแออัด อบรมสัมมนาผู้ปฏิบัติงานในโรงเรียนโครงการ ตลอดจนปรับปรุงการรับเด็กเข้าเรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์
Other Abstract: Purpose : The purpose of this study was to introduce a model of educational program for the underprivileged school age children in Bangkok Metropolis slum area to the Bureau of Education, Bangkok Metropolitan Administration. Procedures : The sample of this study were the people who lives in Pradu 1 slum area behide Asalapheeyah school, and Wat Channai. They were devided into five groups : the head family, the housewife , the community’s leader, the underprivileged school age children, the government officers and the technocrats who involves in the slum area. The instrument of this research was form of interview concerning the educational needs and problems of the underprivileged children in the Bangkok Metropolis slum areas. The data were collected and analyzed by percentage and itemized conclusion for the basic information. Result : The basic data showed that, the condition of the people of the slum area, studied in this research, was poor in both standard of living and sanitation. The environment leads to immoral deeds and crime. Most of the people were educated at the elementary level, and having low income. The school age children could not attend the school because of poverty, broken home and lack of legal birth certificate. The sample urged that the government had to support the budget for the school, personnel and teaching aids, so that these children would have an opportunity to learn. The adequate educational management was to integrate formal and non-formal system into a special program. The curriculum should be organized with emphasis of vocational training, literacy, moral education and community health. The proposed model : The educational program of the underpriviledged school age children in the slum area should be set by integrating good concepts of formal and non-formal education and supporting by educational innovation and technology. It should be operated as “the school with in school” , administered this special program with cooperation of the main school administration. The personnel and resources should be transferred from the mobile school units of Bangkok Metropolis Administration. Instruction and methodology. The classroom for this group of children as a special room with in the main school building. The teaching learning period was from 3.30 p.m. to 7.00 p.m. The class system was devided into 3 levels : Level 1 = grade 1-2 in normal class system. Level 2 = grade 3-4 in normal class system. Level 3 = grade 5-6 in normal class system. The children of this program studied through level 1 – level 3 with in4 ½ yearsand took grade 6 examination with the Department of Nonformal Education to get the certificate of compulsory education. The special curriculum of this program consisted of compulsory subjects and elective subjects. Those were vocational training courses, academic courses, moral education and health education. There were two levels of the administration of this program : B.M.A.’s Division of Education level and the school level. For the first one, the Division of Education, B.M.A. would be the organizing center, working cooperatively with other institution and the people in the communities. At the school level, the administration of this special program would be the complete unit operated with in itself for this purpose but it had to be practically related to the main school. The financial resources come from the B.M.A. budget, government and donation from foundations, organization, and private sector. The program aimed to serve the underpriviledged children and parents in the slum areas and helped them to solve their problems. The services would be emphasized on guidance, health and sanitation, nutrition and free education. The children should be trained for special job, and correct use of leisure times. The organization and policy setting of this program should be manage by 3 groups of committee, directing committee, operating committee and sub-committee in different tasks. These committees would work cooperatively in making decision for the policy, the curriculum implementation, schools selection, public relation, personnel training and improvement of the program to serve the objectives of this model.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27796
ISBN: 9745627224
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anake_Do_front.pdf409.17 kBAdobe PDFView/Open
Anake_Do_ch1.pdf426.79 kBAdobe PDFView/Open
Anake_Do_ch2.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Anake_Do_ch3.pdf381.1 kBAdobe PDFView/Open
Anake_Do_ch4.pdf698.72 kBAdobe PDFView/Open
Anake_Do_ch5.pdf959.75 kBAdobe PDFView/Open
Anake_Do_back.pdf791.18 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.