Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/278
Title: การพัฒนากระบวนการการเรียนการสอนโดยการประยุกต์แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นหลัก ในการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์
Other Titles: The development of an instructional process by applying a problem-based learning approach to enhance mathematical competencies of prathom suksa five gifted students in mathematics
Authors: ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล, 2505-
Advisors: ดวงเดือน อ่อนน่วม
ปานทอง กุลนาถศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Duangduen.O@chula.ac.th
Subjects: คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน
การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน
เด็กปัญญาเลิศ
ความสามารถทางคณิตศาสตร์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยการประยุกต์แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นหลัก ในการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนแรกเป็นการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอน โดยการประยุกต์แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นหลักในการเรียนรู ้เพื่อสร้างเสริมสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ ขั้นตอนที่สองเป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อทดสอบกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบเสนอชื่อโดยครู แบบทดสอบความสามารถทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองสอนคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ในโรงเรียนพญาไท ปีการศึกษา 2545 จำนวน 15 คน ผู้วิจัยทดลองสอนเป็นเวลา 6 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 41 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่า t ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กระบวนการเรียนการสอนโดยการประยุกต์แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นหลัก ในการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ 1) เตรียมปัญหา 2)สร้างความเชื่อมโยงสู่ปัญหา 3) สร้างกรอบของการศึกษา 4) ศึกษาค้นคว้าโดยกลุ่มย่อย 5)ตัดสินใจหาทางแก้ปัญหา 6)สร้างผลงาน และ 7) ประเมินผลการเรียนรู้ 2. ผลการทดลองใช้กระบวนการการเรียนการสอนพบว่า กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น สามารถพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเชื่อมโยงให้เพิ่มสูงขึ้นกว่าเกณฑ์ 20% ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้ แต่พัฒนาทักษะการให้เหตุผลเพิ่มขึ้นเท่ากับเกณฑ์ และพัฒนาทักษะการสื่อสารและทักษะการสื่อความหมายเพิ่มชึ้นยังไม่ถึงเกณฑ์ ผู้วิจัยได้นำผลการทดลองใช้กระบวนการการเรียนการสอนไปปรับปรุง กระบวนการการเรียนการสอนโดยเพิ่มบทบาทของครู ในการพัฒนาทักษะการให้เหตุผล ทักษะการสื่อสาร และทักษะการสื่อความหมาย
Other Abstract: To design an instructional process by applying problem-based learning approach to enhance mathematical competencies of prathom suksa five gifted students. This study was consisted of two stages. The first stage involves the designing of the instructional process. The second stage is to test the designed instructional process. The quasi-experimental design was used in the study. The research instruments were teacher nomination form, mathematical ability test and mathematical competencies test. The sample was consisted of fifteen grade five mathematical gifted students at Payatai school in academic year 2002. The data were analyzed by the t-test. The research findings were as follows : 1. The designed instructional process consists of seven steps : setting up the problem, connecting with the problem, preparing study framework, doing group work, choosing a solution, producing a product , and evaluating learning outcome. 2. When the designed instructional process was implemented with the sample, it was found that the designed instructional process could develop the problem solving and connection skills significantly higher than criteria (20% of total score). the reasoning skill equal to the criteria and the communication and representation skill lower than the criteria at the .05 level. The designed instructional process was improved by adding teacher's roles on developing reasoning, communication and representation skill.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/278
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.631
ISBN: 9741720483
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.631
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yurawat.pdf43.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.