Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28806
Title: การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของแมคเคลแลนด์และการเสริมสร้างอัตมโนทัศน์ตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาการศึกษานอกระบบ กลุ่มด้อยสัมฤทธิ์ที่เรียนด้วยวิธีเรียนทางไกล
Other Titles: The development of an English learning activity model based on McClelland's achievement motivation theory and an enhancement of self-concept based on neo-humanist concept to promote English learning achievement for underachievement non-formal education distance learners
Authors: สุนิดา ศิริพากย์
Advisors: เกียรติวรรณ อมาตยกุล
ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Kiatiwan.A@Chula.ac.th
Taweewat.p@chula.ac.th
Subjects: ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การศึกษานอกระบบโรงเรียน
การศึกษาทางไกล
การรับรู้ตนเอง
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)พัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎีแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ของแมคเคลแลนด์ และการเสริมสร้างอัตมโนทัศน์ตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาการศึกษานอกระบบ กลุ่มด้อยสัมฤทธิ์ ที่เรียนด้วยวิธีเรียนทางไกล (2) ทดลองใช้รูปแบบ กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของแมคเคลแลนด์ และการเสริมสร้างอัตมโนทัศน์ตาม แนวคิดนีโอฮิวแมนนิส เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของกลุ่มทดลองที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษา นอกระบบโรงเรียน เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม (3) ศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขในการนำรูปแบบกิจกรรม การเรียนรู้ที่ได้พัฒนาขึ้นไปใช้ โดยนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาการศึกษานอกระบบ จำนวน 40 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของแมคเคลแลนด์และการ เสริมสร้างอัตมโนทัศน์ตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษา การศึกษานอกระบบ กลุ่มด้อยสัมฤทธิ์ที่เรียนด้วย วิธีเรียนทางไกล และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมโดยศึกษาตาม เนื้อหาหลักสูตรของสถาบันการศึกษาทางไกลตามปกติ กลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรม 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเข้าร่วม กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ เป็นเวลา 48 ชั่วโมง ระยะที่ 2 เป็นการเรียนรู้ในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เป็นเวลา 21 ชั่วโมง และส่วนที่ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยเรียนจากคู่มือ เป็นเวลา 42 ชั่วโมง ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1.รูปแบบกิจกรรม ได้แก่ (1) วัตถุประสงค์ (2) ผู้เรียน (3) ผู้สอน (4) เนื้อหาสาระ (5) กิจกรรมการเรียนรู้ (6) ระยะเวลา (7) สภาพแวดล้อม (8) สื่อการ เรียนรู้ (9) ประเมินผล 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า กลุ่มทดลองมีการพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ อัตมโนทัศน์และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขในการนำรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ได้พัฒนาขึ้นไปใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ปัจจัย ได้แก่ ผู้เรียน ผู้สอน เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนรู้ ระยะเวลา สื่อการเรียนรู้ สภาพแวดล้อม การวัดและการประเมินผล และ เงื่อนไข ได้แก่ ผู้เรียน ผู้สอน ระยะเวลา สภาพแวดล้อม การวัดและการประเมินผล
Other Abstract: The objectives of this research were to (1) develop of an English learning activity model based on McClelland’s achievement motivation theory to enhance achievement motivation theory and an enhancement of self-concept based on Neo-Humanist concept to promote English learning achievement for underachievement non-formal education distance learner, (2) use an English learning activity model based on McClelland’s achievement motivation theory to enhance achievement motivation theory and an enhancement of self-concept based on Neo-Humanist concept to promote English learning achievement for the experimental group compare with the control group, (3) study factors and conditions of the implementation of an English learning activity model. An English learning activity model was used with 40 non-formal education learners as a sample group. The subjects were divided into 2 groups. Both groups were then divided into the experimental group and the control group with 20 people in each. The experimental group had been participated in this activity which consisted of 3 parts; part 1: workshop program for 48 hours, part 2 : learning theories and practices for 21 hours, and part 3 : do activities by self-study in handbook for 42 hours. The research results were as follow : 1. The model such as(1) learning objective (2) learner (3) instructor (4) learning content (5) learning activity (6) learning period (7) learning circumstance (8) learning material (9) evaluation 2. Summary of model for experimental group was that the posttest learning about developing achievement motivation, self-concept and English achievement scores of the experimental group was higher than that of the control group significantly at the .05 level 3. Study factors and conditions of the implementation of an English learning activity model. In this research factors compose of learner, instructor, learning content, learning activity, learning period, learning circumstance and learning material. Conditions compose of learner, instructor, learning period, and evaluation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28806
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2007
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.2007
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sunida_si.pdf3.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.