Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29043
Title: ความคิดเห็นของอาจารย์ ผู้สำเร็จการศึกษา และเจ้าของสถานประกอบการเกี่ยวกับการเรียนการสอน วิชาออกแบบเครื่องเรือน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาช่างเคหภัณฑ์ ในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
Other Titles: Opinions of instructors, graduates and entrepreneurs concerning teaching and learning in furniture design course at the higher vocational education certificate level in the Division of Furniture Making in Rajamangala Institute of Technology
Authors: สุภาวดี พนัสอำพน
Advisors: สุลักษณ์ ศรีบุรี
Other author: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ ผู้สำเร็จการศึกษาและเจ้าของสถานประกอบการเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาออกแบบเครื่องเรือน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาช่างเคหภัณฑ์ ในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มประชากรประกอบด้วยอาจารย์ผู้สอนสาขาช่างเคหภัณฑ์ จำนวน 40 คน ผู้สำเร็จการศึกษาจำนวน 100 คน และเจ้าของสถานประกอบการจำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม แบบตรวจสอบคำตอบ แบบประมาณค่า แบบคำถามปลายเปิด แบบสอบที่ได้รับกลับรวม 165 ชุด คิดเป็นร้อยละ 74 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแปรปรวน (F-test) ผลการวิจัยพบว่า : 1. ความคิดเห็นของอาจารย์ ผู้สำเร็จการศึกษาและเจ้าของสถานประกอบการเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาออกแบบเครื่องเรือน โดยส่วนรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วย ในด้านหลักสูตรเนื้อหา วิธีการสอนและการจัดกิจกรรม การวัดและการประเมินผล คุณลักษณะและเจตคติ ส่วนด้านการนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานนั้นมีความเห็นอยู่ในระดับไม่แน่ใจ 2. เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์ ผู้สำเร็จการศึกษาและเจ้าของสถานประกอบการเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาออกแบบเครื่องเรือนพบว่า ความคิดเห็นส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.05
Other Abstract: The purpose of this research was to study the opinions of instructors, graduates and entrepreneurs concerning teaching and learning in Furniture Design course at the higher vocational education certificate level in the division of Furniture Making in Rajamangala Institute of Technology. Procedures: The population of the study were 40 instructors, 100 graduates and 60 entrepreneures. One hundred and sixty-five questionnaires or 74 percents were returned. The data were analyzed by using percentage, arithematic means, standard diviation and F-test. Findings: 1. The opinions of instructors, graduates and intrepreneures concerning teaching and learning in furniture Design course were at the level of agreement in the aspects of curriculum and content, learning teaching activity, measurement and evaluation, expectant personality. But the usable knowledge were at the level of uncertainly. 2. When comparing the opinions of instructors, graduates and entrepreneurs concerning teaching and learning in Furniture Design course it was found that there were no significant differences at the 0.05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29043
ISBN: 9745799106
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supawadee_pa_front.pdf5.23 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_pa_ch1.pdf5.24 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_pa_ch2.pdf21.01 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_pa_ch3.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_pa_ch4.pdf18.75 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_pa_ch5.pdf9.82 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_pa_back.pdf18.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.