Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29373
Title: การออกแบบและสร้างโปรเซสเซอร์สำหรับระบบเครื่องเตรียมข้อมูล ลงจานแม่เหล็กแบบฟลอปบี
Other Titles: Design and construction of a processor for a floppy disk data entry system
Authors: พิษณุ สถิตศาสตร์
Advisors: กฤษดา วิศวธีรานนท์
สมชาย ทยานยง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบบการเตรียมข้อมูลลงจานแม่เหล็กแบบฟลอปปีนับว่าเป็นระบบการเตรียมข้อมูลที่สำคัญน่าสนใจ ที่จะนำมาสร้างและพัฒนาระบบหนึ่ง ระบบเครื่องเตรียมข้อมูลชนิดนี้จะประกอบด้วย ส่วนรับข้อมูลเป็นแป้นกดข้อมูล ส่วนแสดงผลเป็นจอภาพ ส่วนควบคุมเป็นโปรเซสเซอร์ ส่วนบันทึกข้อมูล เป็นจานแม่เหล็กโดยมีตัวขับจานแม่เหล็กทำหน้าที่บันทึก ความสามารถของระบบ ขึ้นอยู่กับโปรเซสเซอร์และซอฟท์แวร์ที่ใช้ เครื่องโดยทั่วไป มักจะออกแบบโปรเซสเซอร์ให้ใช้งานเฉพาะการเตรียมข้อมูลเท่านั้น การที่จะนำมาพัฒนาไปใช้งานทางด้านอื่น ทำได้ยาก เพราะถูกกำหนดโดยฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ของระบบ ถ้าเป็นเครื่องที่ใช้งานได้หลายประเภท เช่น เตรียมข้อมูลและประมวลผลได้ด้วย ส่วนใหญ่จะมีราคาแพง การวิจัยนี้เป็นการออกแบบและสร้างโปรเซสเซอร์ ให้สามารถใช้งานได้ทั้งการเตรียมข้อมูลและประมวลผลโปรเซสเซอร์ที่ออกแบบนี้ ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์เบอร์ Z-80A เป็นหน่วยควบคุมกลาง มีหน่วยความจำแบบไดนามิคแรม ขนาด 64 กิโลไบท์ หน่วยอินเตอร์เฟสแบบอนุกรม 2 ชุด สำหรับต่อกับเทอร์มินอลและอื่นๆ มีอินเตอร์เฟสแบบขนาน สำหรับต่อกับเครื่องพิมพ์ และมีหน่วยควบคุมจานแม่เหล็กต่อได้ถึง 4 ตัว สามารถใช้งานกับจานแม่เหล็กได้ ทั้งแบบซิงเกิลและดับเบิลเดนซิตี้ตามมาตรฐานไอบีเอ็ม และได้พัฒนาติดตั้งระบบซีพีเอ็ม ขนาด 62 กิโลไบท์ ให้กับโปรเซสเซอร์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้สามารถใช้งานกับโปรแกรมสำเร็จรูปในระบบซีพีเอ็มได้ ในขณะเดียวกัน ยังพัฒนาสร้างโปรแกรมสำหรับใช้งานเพื่อเตรียมข้อมูลลงจานแม่เหล็กแบบฟลอปปีตามมาตรฐานไอบีเอ็ม 3740 ขึ้นอีกด้วย ผลจากการสร้างโปรเซสเซอร์ และทดลองใช้งานเตรียมข้อมูลลงจานแม่เหล็กแบบฟลอปปี ตามมาตรฐานไอบีเอ็ม 3740 ปรากฏว่า สามารถใช้งานเตรียมข้อมูลได้ถูกต้อง แต่การใช้งานตอนเตรียมข้อมูล ยังไม่ค่อยสะดวกนัก เนื่องจากใช้เอดิเตอร์ของระบบซีพีเอ็ม ดังนั้นถ้าหากมีการพัฒนาเอดิเตอร์ขึ้นเอง ก็จะทำให้ระบบสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ส่วนการใช้งานทางด้านการประมวลผล สามารถนำซอฟท์แวร์ของระบบซีพีเอ็มมาใช้ได้ จากผลการวิจัยครั้งนี้ ทำให้สามารถสร้างเครื่องต้นแบบ สำหรับใช้เตรียมข้อมูลลงจานแม่เหล็กได้สำเร็จ ปัจจุบันสถาบันบริการคอมพิวเตอร์ จุฬาฯ ได้นำเครื่องต้นแบบนี้ ไปพัฒนาสร้างเป็นเครื่องเตรียมข้อมูลที่ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ และได้ทำการติดตั้งใช้งานแล้วจำนวน 8 เครื่อง เพื่อให้ผู้ใช้ และนิสิตได้ใช้เตรียมข้อมูล และโปรแกรมให้กับเครื่องไอบีเอ็ม 3031 ที่สถาบันบริการคอมพิวเตอร์ จุฬาฯ
Other Abstract: The key-to-floppy-disk data entry system is an important and interesting concept in data entry and is feasible for development and implementation. This type of data entry system consists of a keyboard as an input unit, a CRT as an output unit, a processor as a control unit and one or more floppy disks and disk drives as secondary storage unit. The capability of the system depends on the processor and the associated software. Most systems are designed with a processor that is specifically tailored for data entry work. Hardware and software restrictions impede the development of these systems for other applications. Currently, machines which are suitable for many kinds of work besides data entry, such as data processing, tend to be expensive. This research focusses on designing and implementing a processor to serve both data entry and data processing functions. The target processor employs a Z-80 A microprocessor as the central control unit. There are 64 KBytes of dynamic RAM, two serial interfaces for connecting with the terminal and other peripherals, a parallel interface for the printer, and a disk controller which can support either single or double density IBM-format diskette. The processor is installed with a 62-KByte CP/M operating system so as to benefit from other CP/M-based software packages. Also, a program is developed to perform the data entry function based on standard IBM 3740 floppy disk. Results obtained from data entry sessions using the implemented system are found to be correct. However, the system is still not convenient to use due to the limitation of the editor native to the CP/M system. Should a suitable editor be developed, the utilization of the system will be markedly increased. As for data processing work, CP/M-based software readily serves the purpose. This research enabled the successful construction of a prototype of floppy-disk bases data entry system. This prototype was further developed into a complete data entry system by the Computer Service Center of Chulalongkorn University. Currently, there are eight of such machines in use. These machines provide data entry facilities for users and students whose programs and data are to be used on the IBM 3031 installation at the Computer Service Center.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29373
ISBN: 9745640638
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pissanu_st_front.pdf6.57 MBAdobe PDFView/Open
Pissanu_st_ch1.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Pissanu_st_ch2.pdf11.02 MBAdobe PDFView/Open
Pissanu_st_ch3.pdf5.47 MBAdobe PDFView/Open
Pissanu_st_ch4.pdf29.88 MBAdobe PDFView/Open
Pissanu_st_ch5.pdf10.17 MBAdobe PDFView/Open
Pissanu_st_ch6.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open
Pissanu_st_back.pdf39.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.