Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29764
Title: ปัญหาการใช้หลักสูตรวิชาสุขศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ตามการรับรู้ของครูสุขศึกษา เขตการศึกษา 8
Other Titles: Problems of the implementation of Health Education Curriculum at the lower Secondary Education level B.E.2521 as perceived by gealthe education teachers, Educational Region Eight
Authors: อรชร อินทกุล
Advisors: เทพวาณี หอมสนิท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการใช้หลักสูตรวิชาสุขศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ตามการรับรู้ของครูสุขศึกษา เขตการศึกษา 8 ตามตัวแปรพื้นฐานการศึกษาของครูสุขศึกษา โดยแยกออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 วิชาเอก/โทสุขศึกษา กลุ่มที่ 2 วิชาเอก/โทพลศึกษา กลุ่มที่ 3 วิชาเอก/โทอื่น ๆ ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มประชากรซึ่งเป็นครูสุขศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 8 จำนวน 337 คน ได้รับแบบสอบถามคืนมา 312 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 92.58 ผู้วิจัยนำแบบสอบถามมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) และทดสอบรายคู่โดยวิธีของเชอเฟ (Scheffe’ test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูสุขศึกษามีปัญหาการใช้หลักสูตรวิชาสุขศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อยทั้ง 7 ด้าน คือ ด้านจุดประสงค์ของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร เนื้อหาวิชาตามหลักสูตร หนังสือเรียนและหนังสืออ่านประกอบ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และกิจกรรมเสริมหลักสูตร สำหรับปัญหาการใช้หลักสูตรวิชาสุขศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ที่เป็นปัญหาอยู่ในระดับมากที่เป็นรอยข้อ ได้แก่ ขาดอุปกรณ์การสอน เช่น โปสเตอร์ สไลด์ แผนภูมิ หุ่นจำลอง ฯลฯ หนังสืออ่านประกอบการเรียนมีไม่เพียงพอ โรงเรียนขาดงบประมาณในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน การประเมินผลนักเรียนในด้านทัศนคติทำได้ยาก เนื้อหาในหนังสือเรียนบางเล่มมีมากเมื่อเทียบกับจำนวนคาบเรียนที่จัดให้สอน และหน่วยการเรียนของแต่ละรายวิชา จำนวน 0.5 หน่วยการเรียนซึ่งน้อยเกินไป 2. การเปรียบเทียบปัญหาการใช้หลักสูตรวิชาสุขศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ตามการรับรู้ของครูสุขศึกษาที่มีพื้นฐานการศึกษาต่างกัน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่างครูสุขศึกษาที่มีพื้นฐานทางวิชาเอก/โทสุขศึกษา กับครูสุขศึกษาที่มีพื้นฐานทางวิชาเอก/โทพลศึกษา และครูสุขศึกษาที่มีพื้นฐานทางวิชาเอก/โทสุขศึกษา กับครูสุขศึกษาที่มีพื้นฐานทางวิชาเอก/โทอื่น ๆ แต่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่าง ครูสุขศึกษาที่มีพื้นฐานทางวิชาเอก/โทพลศึกษา กับครูสุขศึกษาที่มีพื้นฐานทางวิชาเอก/โทอื่น ๆ โดยครูสุขศึกษาที่มีพื้นฐานทางวิชาเอก/โทพลศึกษามีปัญหาการใช้หลักสูตรมากกว่าครูสุขศึกษาที่มีพื้นฐานทางวิชาเอก/โทอื่น ๆ
Other Abstract: The purposes of research were to study and to compare the problems of the implementation of Health Education Curriculum at the lower Secondary Education level B.E. 2521 as perceived by health education teachers, Educational region Eight. Questionnaires were sent to three-hundred and thirty-seven health education teachers. Three-hundred and twelve questionnaires, accounted for 92.58 percent, were returned and then analyzed by means of percentages, means, and standard deviations. One-way Analysis of Variance, and Scheffe’ test were also applied to determine the significant differences. Findings: 1. The problems of the implementation of Health Education Curriculum at the Lower Secondary Education Level B.E. 2521 of health education teachers were in the low level in all seven areas : curriculum’s objectives, structures, contents, textbooks and supplementary reading books, activities, evaluation and measurement, and co-curricular activities. The main problems were : most of schools did not have instructional media, students did not have enough textbooks and supplementary reading books, schools lacked of financial support for students health promotion, the attitude evaluations were difficult to implement, contents of textbooks were more in details than time available, and the number of credit were insufficient. 2. There were no significant differences at .05 level among health education teachers who had different educational backgrounds except between the groups of physical education major/minor, and other majors/minors.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29764
ISBN: 9745689068
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orrachon_in_front.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open
Orrachon_in_ch1.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open
Orrachon_in_ch2.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open
Orrachon_in_ch3.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
Orrachon_in_ch4.pdf14 MBAdobe PDFView/Open
Orrachon_in_ch5.pdf6.6 MBAdobe PDFView/Open
Orrachon_in_back.pdf13.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.