Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30675
Title: การปรับแก้ข้อมูลไลดาร์ระหว่างแนวบินโดยอาศัยจุดควบคุมจากภาพถ่ายทางอากาศ
Other Titles: LiDAR strip adjustment with aiding of aerial photograph control points
Authors: กรีฑา สุวรรณสะอาด
Advisors: ธงทิศ ฉายากุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: thongthit.c@chula.ac.th
Subjects: การรังวัด
การสำรวจด้วยภาพถ่าย
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เทคโนโลยี LiDAR (Light Detection and Ranging) เป็นระบบสำรวจรังวัดความสูงภูมิประเทศ ที่มีลักษณะการบินสำรวจข้อมูลของลำแสงเลเซอร์ที่ส่งออกและสะท้อนกลับมายังเซ็นเซอร์ มีการจัดเก็บข้อมูลเป็นจุด (x,y,z) ในการบินสำรวจข้อมูล LiDAR จะทำการบินตามแนวบิน (flight line หรือ flight strip) ต่อเนื่องครอบคลุมพื้นที่ที่ได้ออกแบบไว้ โดยมีการซ้อนทับระหว่างแนวบิน (overlap) เมื่อผู้วิจัยทำการศึกษาข้อมูลในส่วนซ้อนทับ พบว่าจุดข้อมูลความสูงภายหลังการสะท้อนวัตถุเดียวกันมีค่าไม่เท่ากัน ซึ่งในความเป็นจริงวัตถุเดียวกัน ต้องมีความสูงเท่ากัน งานวิจัยครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการศึกษาการปรับแก้ความคลาดเคลื่อนทางความสูงของข้อมูล LiDAR ในบริเวณพื้นที่ซ้อนทับระหว่างแนวบิน ซึ่งจุดควบคุมที่จะทำการปรับแก้จะใช้การเลือกจากบริเวณพื้นที่อาคารในภาพถ่ายทางอากาศทั้งหมด โดยกำหนดระยะความห่างของจุดระหว่างสองแนวบินที่ระยะ 5 เซนติเมตร และ 10 เซนติเมตร เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ แล้วทำการปรับแก้ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นด้วยวิธีลีสท์สแควร์ โดยทำการปรับแก้ด้วยกัน 3 กรณี คือ 1)ปรับแก้ข้อมูล LiDAR เฉพาะพื้นที่อาคาร 2)ปรับแก้ข้อมูล LiDAR บนพื้นที่ซ้อนทับทั้งหมด และ 3)ปรับแก้ข้อมูล LiDAR ทั้งแนวบิน จากผลการปรับแก้กรณีที่ 1 นั้นได้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.06744 เมตร และ 0.03864 เมตร ตามลำดับ ซึ่งที่ระยะห่างจุด 5 เซนติเมตร มีค่ามากกว่าเนื่องจากจำนวนจุดข้อมูลมีจำนวนน้อยจึงมีผลต่อค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดังนั้นจึงใช้พารามิเตอร์จากการปรับแก้กรณีที่ 1 ทำการปรับแก้ในกรณีที่ 2 ทั้งสองระยะ เพื่อใช้เปรียบเทียบและเลือกค่าพารามิเตอร์เพื่อที่จะนำไปปรับแก้ทั้งแนวบิน ซึ่งได้ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.13846 เมตร และ 0.37832 เมตร ตามลำดับ จากการปรับแก้กรณีที่ 1 และ 2 ผลจากการปรับแก้แนวบินที่ซ้อนทับกันทั้งหมดปรากฏว่าที่ระยะห่างจุด 5 เซนติเมตร มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานน้อยกว่า ดังนั้นจึงเลือกใช้ค่าพารามิเตอร์ที่ระยะ 5 เซนติเมตร ไปทำการปรับแก้ทั้งแนวบิน การปรับแก้ข้อมูล LiDAR ระหว่างแนวบินโดยการเลือกจุดควบคุมจากภาพถ่ายทางอากาศสามารถใช้พารามิเตอร์จากการปรับแก้ดังกล่าว ปรับแก้ค่าความสูง LiDAR ตลอดทั้งแนวบิน โดยได้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แนวบินที่ 1 เท่ากับ 0.13886 เมตร และ แนวบินที่ 2 เท่ากับ 0.27767 เมตร
Other Abstract: LiDAR (Light Detection and Ranging) was a height terrain survey system which is consist of the aviational survey of laser went out and came back to the sensor. It also has storaged data as a point in three dimension coordinate (x,y,z). The aviational survey of LiDAR would continuously flight along the flight line or flight strip cover a overlap area between the flight that were designed. When the researchers studied data on the overlap and found that the point in height data after reflecting in the same object were not the same and unequal. In fact, the same object must have the same height. This research was intended to be used in the study of error correction in height of LiDAR in the area of the overlap between the flight line. The control point would be adjusted were selected from all of the area of building in aerial imagery which it set the distance between two points along miles of flight distance to 5 centimeters and 10 centimeters in comparison. Then adjusted and error by lease squares method .There are three adjustment follows 1) modify the LiDAR data specific building area 2) modify the LiDAR data on the total area of overlap and 3 ) modify the LiDAR data from the fright line according to the modifying in the first case respectively got the standard deviation value 0.06744 m. and 0.03864 m. At the 5 cm distance is greater than 10 cm distance because the number of data point have a smaller number so it was affected to the standard deviation value
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสำรวจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30675
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.181
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.181
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kreeta_su.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.