Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30877
Title: ปรัชญาการศึกษากับประชาธิปไตย : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนหมู่บ้านเด็กกับโรงเรียนถาวรวิทยา จังหวัดกาญจนบุรี
Other Titles: Philosophy of education and democracy : a comparative study of children village (Moa Ban Dek) and Tawornwitaya school Kanchanaburi province
Authors: ไพฑูรย์ คล้ายวงศ์
Advisors: อนุสรณ์ ลิ่มมณี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงตัวแปรที่มีผลต่อกระบวนการเรียนรู้ทางการเมืองแบบประชาธิปไตย โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนหมู่บ้านเด็กและโรงเรียนถาวรวิทยาในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นการศึกษาในเชิงผสมผสานระหว่าง การสังเกต การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์เอกสาร และการสร้างแบบสอบถาม ส่วนตัวแปรที่นำมาใช้พิจารณาในการศึกษานี้แบ่งตามสมตติฐานได้ คือ 1. ตัวแปรในสมมติฐานหลัก คือปรัชญาการศึกษาและสภาพแวดล้อม 2. ตัวแปรในสมตติฐานหาความสัมพันธ์คือ เพศ อายุ ศาสนา ระดับการศึกษาและพื้นฐานทางครอบครัว ผลการวิจัยพบว่า ในส่วนของสมมติฐานหลักนั้น ทั้งปรัชญาการศึกษาและสภาพแวดล้อมทางการศึกษาจะมีผลต่อการเรียนรู้ทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเด็กแตกต่างกัน คือกรณีของโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก ปรัชญาและสภาพแวดล้อมจะมีผลต่อการสร้างวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยในเชิงปฏิบัติ คือ เด็กสามารถเรียนรู้ประชาธิปไตยได้จากการใช้ชีวิตในโรงเรียน ส่วนโรงเรียนถาวรวิทยานั้น ปรัชญาการศึกษาและสภาพแวดล้อมจะมีผลต่อการเรียนรู้ในเชิงทฤษฎี เพราะโรงเรียนจะเน้นการเรียนรู้ในเชิงวิชาการจากการเรียนการสอนมากกว่า ในส่วนของสมมติฐานหาความสัมพันธ์ พบว่ามีตัวแปรเพียงสองตัวคือ อายุ และระดับการศึกษาของนักเรียนโรงเรียนถาวรวิทยาที่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับการเรียนรู้ทางการเมือง คือ เมื่ออายุ และระดับการศึกษาสูงขึ้นก็จะทำให้มีผลต่อการเรียนรู้ทางการเมืองสูงขึ้นตามไปด้วย
Other Abstract: Aimed at identifying variables which affect the process of democratic socialization in Children Village (Moo Ban Dek) and Tawornwitaya Schools in Kanchanaburi Province, this comparative study uses both qualitative and quantitative techniques in its data collection and analysis. Based on the hypothesis that the political socialization depends on not only the existing philosophy of education and the learning environment but also the personal background of students, the study finds that, on the one hand, the philosophy and the environment have an influence over the practical aspect of democratic socialization in Moo Ban Dek School and the theoretical aspect in Tawornwitaya School. On the other hand, only two variables of personal background-age and level of education-produce positive effects on the political socialization of the students in the schools.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.บ.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30877
ISBN: 9746337408
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paitoon_kl_front.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Paitoon_kl_ch1.pdf731.97 kBAdobe PDFView/Open
Paitoon_kl_ch2.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open
Paitoon_kl_ch3.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open
Paitoon_kl_ch4.pdf854.67 kBAdobe PDFView/Open
Paitoon_kl_ch5.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open
Paitoon_kl_ch6.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open
Paitoon_kl_ch7.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Paitoon_kl_ch8.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Paitoon_kl_back.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.