Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31020
Title: เกียรติภูมิของอาชีพในเขตชนบท
Other Titles: Occupational prestige in thai rural areas
Authors: อัญชลี แย้มพยนต์
Advisors: สุภางค์ จันทวานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งที่จะศึกษาเกียรติภูมิของอาชีพซึ่งให้ค่าโดยชาวชนบทไทยโดยผลการศึกษาจะปรากฎออกมาในรูปคะแนนเกียรติภูมิ จากนั้นนำค่าที่ได้รับไปใช้ในการจัดช่วงชั้นทางสังคมในเขตชนบทไทย อาชีพที่นำมาใช้ในการศึกษาคั้งนี้มีทั้งสิ้น 9 กลุ่มอาชีพหรือ 89 อาชีพ การศึกษาใช้วิธีสำรวจโดยการสุ่มตัวอย่างชาวชนบทในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 371 คน การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามควบคู่กับมาตรวัดคะแนนที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะ ผลที่ได้รับจากการวิจัยพบว่ากลุ่มอาชีพผู้บริหารระดับต่างๆ ได้คะแนนเกียรติภูมิของอาชีพสูงสุด รองลงมาได้แก่กลุ่มทหาร-ตำรวจ นักวิชาการวิชาชีพ, ผู้ปฏิบัติงานเสมียนพนักงาน, ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการค้า, เกษตรกร ผู้ผลิตพนักงานและคนงาน และกลุ่มผู้ประกอบอาชีพบริการตามลำดับ ในระดับอาชีพพบว่าอาชีพรัฐมนตรีได้คะแนนสูงสุด รองลงมาได้แก่นายทหารระดับนายพล, แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ เภสัชกร, อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด, พยาบาล ฯลฯ และอาชีพหญิงบริการ เช่น หมอนวด พาร์ตเนอร์ ได้คะแนนต่ำสุด รองมาได้แก่ กระเป๋ารถ, โหร หมอดู, ผู้ปฏิบัติงานบริการอื่นๆ กรรมกรหรือคนงาน ฯลฯ ตามลำดับ อาชีพในกลุ่มเกษตรกรซึ่งเป็นอาชีพหลักในเขตชนบทได้รับคะแนนส่วนใหญ่ระดับปานกลางและค่อนข้างต่ำ และเมื่อจัดช่วงชั้นทางสังคมด้วยค่าเกียรติภูมิของอาชีพ พบว่าค่อนข้างสมดุลย์โดยช่วงชั้นสูงมากและช่วงชั้นต่ำมีจำนวนอาชีพช่วงชั้นละ 1 อาชีพเท่ากัน ช่วงชั้นสูงมี 15 อาชีพ และ 22 อาชีพ ช่วงชั้นกลางมีอาชีพมากที่สุด 50 อาชีพ ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับตะวันตก การเปรียบเทียบผลการวิจัยครั้งนี้กับค่ามาตรฐานสากลของไทรแมน พบว่าส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกันและให้ค่าสูงกว่ามาตรฐานสากล
Other Abstract: This study of occupational prestige in Thai rural areas used 9 groups or 89 occupations. The occupational prestige scores were given by 371 rural thais in the four regions. The findings revealed that rural Thai people gave highest scores to administrative workers group and lowest to service workers group. When considering by occupation, the highest prestige scores were ranked respectively : ministers, high armed forces officer, medical dental veterinary and related workers, provincial governors, professional nurses, etc. The lowest prestige scores were given to the following occupation : masseuses and prostitutes, transport conductors, fortune tellers, other service workers, laborers, etc. From the prestige scores rated, we can classify the Thai social stratification into 5 strata : very high, high, middle, relatively low, and low classes. When we compared the Thai occupational prestige scores to the Standard International Prestige Scores given by Treiman1 most of the occupations did not receive the same score. Thai scores were higher than Treiman's scores.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31020
ISBN: 9745687839
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anchallee_ya_front.pdf930.63 kBAdobe PDFView/Open
Anchallee_ya_ch1.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
Anchallee_ya_ch2.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Anchallee_ya_ch3.pdf4.42 MBAdobe PDFView/Open
Anchallee_ya_ch4.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open
Anchallee_ya_ch5.pdf562.21 kBAdobe PDFView/Open
Anchallee_ya_back.pdf5.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.