Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31820
Title: กลยุทธ์การสื่อสารเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม และการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน
Other Titles: Communication strategies for corporate social responsibility and communities' participation in environmental issue of the energy industry
Authors: วศินี นพคุณ
Advisors: พัชนี เชยจรรยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Patchanee.C@Chula.ac.th
Subjects: ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ -- การสื่อสาร
การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
Social responsibility of business -- Communication
Social responsibility of business -- Communication
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม และการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน ซึ่งดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการวิจัยเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า 1. กลยุทธ์การสื่อสารเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน ได้แก่ กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อให้ความรู้ กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ กลยุทธ์การใช้สื่อ และกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการสร้างเครือข่าย 2. กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อให้ความรู้ คือ ให้ความรู้ วัตถุประสงค์ด้านการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมด้านสิ่งแวดของบริษัทแก่พนักงานเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน และพนักงานสามารถปฏิบัติตามนโยบายของบริษัทได้ในทิศทางเดียวกัน 3. กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ เป็นการพูดโน้มน้าวใจให้พนักงานเห็นความสำคัญของการดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้พนักงานเกิดความสนใจในการเข้าร่วมโครงการ และเกิดการบอกกันปากต่อปากให้เกิดเป็นเครือข่ายภายในขึ้น 4. กลยุทธ์การใช้สื่อ พบว่าสื่อที่ใช้ในการดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่ สื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเฉพาะกิจและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสื่อบุคคลเป็นสื่อที่สำคัญที่สุด จากการวิจัยพบว่าควรมีการใช้สื่ออื่นเป็นสื่อผสมมากกว่านี้ในการสื่อสารกับชุมชนเพื่อให้เกิดความสนใจมากยิ่งขึ้น 5. กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างเครือข่าย แบ่งการสร้างเครือข่ายภายในบริษัท ได้แก่ (1) ความสนใจในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อม (2) การสื่อสารผ่านสื่อและการสื่อสารตัวต่อตัว (3) ความต้องการเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมองค์กรเพื่อสังคม และการสร้างเครือข่ายภายนอกได้แก่ (1) การร่วมมือกับองค์กรอื่นที่ทำโครงการความรับผิดชอบเพื่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อม (2) การสื่อสารผ่านสื่อและการสื่อสารตัวต่อตัว 6. การมีส่วนร่วมของชุมชนที่เข้าร่วมโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อม คือ ผู้นำชุมชนได้เป็นตัวแทนในการเข้าร่วมกับบริษัทฯ และได้นำความรู้ที่ทางบริษัทและเครือข่ายให้การสนับสนุนมาบูรณาการเข้ากับชุมชน และถ่ายทอดต่อไปยังชาวบ้านต่อไป 7. สำหรับแนวทางการมีส่วนร่วม พบว่า กิจกรรมการแจกรางวัล และการมีสิ่งจูงใจแลกเปลี่ยนเช่นเงินเป็นสิ่งที่ชุมชนให้ความสนใจ ส่วนกิจกรรมการมีส่วนร่วมชุมชนให้ผู้นำชุมชนให้ความสนใจในเนื้อหาของสารมากกว่าชาวบ้าน ได้แก่ การประชุม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ที่พบ การเข้าดูงาน การทำการทดลองด้วยตนเอง ส่วนชาวบ้านนั้นให้ความสนใจในรูปแบบของสารมากกว่า ได้แก่ การทำกิจกรรมโดยการนำเสนอ และผู้นำชุมชนที่ทำการลงพื้นที่ โดยการนำเสนอด้วยสื่อบุคคล ซึ่งพบว่าสื่อบุคคลมีความน่าเชื่อถือ
Other Abstract: The objective of this qualitative research is to study the communication strategies for corporate social responsibility and participation of the communities in the environmental issues of the Energy industry. The results are as followed: 1. Communication strategies for cooperate social responsibility include education strategy, persuasive strategy, channel strategy and network forming strategy. 2. The communication strategies in education are training. The objective of corporate social responsibility is to build the understanding to staff and they can process as company’s vision. 3. Persuasive strategy is to encourage employees’ mind in order that employees focus on the importance of project operation – environmental social responsibility. The expected goal is to interest employees to participate in this project and the next step is to cause various word s of mouth in order to be internal communication within the organization. 4. Channel strategies are human media, publishing media, specialized media, and electronic media. The most important media is human media. Furthermore, this issue should use mixed media to attract people to participate the activities. 5. The communication strategy in networking forming is composed of network forming inside and outside company. Network forming inside company includes (1) Similarity in attention of the environmental social responsibilities’ (2) The communication by using the media and face-to-face communication and (3) Desire to participate in the Corporate Social Responsibility. Network forming outside the company is cooperation with the exteriors organizations that are working on the environmental social responsibility. 6. According to the communities participating in the environmental social responsibility, the communication leaders have been chosen to be one of the representatives who corroborate with the organization. In addition, these leaders bring a variety of knowledge, which achieved from the company and supporting from networks, to adapt and teach their communities as well. 7. The participated technique found that giveaway activity or money interested among the people. In participation activities, the communication leaders interest content of activities more than activities such as meeting, deliberate, seminar and trial by themselves. The people interest in activities more than content. Finally, the human media is honorable.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31820
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.50
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.50
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wasinee_No.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.