Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3281
Title: ผลของการแต่งพฤติกรรมที่มีต่อพฤติกรรมการตั้งใจทำงาน และความถูกต้องของงานของนักเรียนอายุ 7 ถึง 10 ปี ทีมีสมาธิบกพร่องและมีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง
Other Titles: Effect of shaping on on-task and task accuracy of 7 to 10 year-old pupils with attention deficit/hyperactivity disorder
Authors: มณฑิรา ศรีชัย, 2519-
Advisors: ประไพพรรณ ภูมิวุฒิสาร
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
Advisor's Email: psy@chula.ac.th
Sompoch.I@chula.ac.th
Subjects: เด็กสมาธิสั้น
พฤติกรรมการเรียน
การปรับพฤติกรรม
ความตั้งใจ
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของการแต่งพฤติกรรมที่มีต่อพฤติกรรมตั้งใจทำงาน และความถูกต้องของงานของนักเรียนอายุ 7-10 ปี ที่มีสมาชิกบกพร่องและมีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่ได้รับการรักษาที่ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมถ์ เนื่องจากมีปัญหาพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากสมาธิบกพร่อง และมีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่งจำนวน 6 คน กลุ่มตัวอย่างถูกคัดเลือกมาจากการประเมินพฤติกรรมจากแบบทดสอบ Disruptive Behavior Rating Scale-Teacher/Parent Form (DBRS) โดยมีคะแนนที่ตรงตามเกณฑ์ของแบบทดสอบว่า เป็นเด็กนักเรียนที่มีสมาธิบกพร่องและมีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง ชนิดขาดสมาธิ (ADHD-I) และชนิดผสมระหว่างกลุ่มอาการขาดสมาธิ กับกลุ่มอาการหุนหันพลันแล่น-ไม่อยู่นิ่ง (ADHD-C) หลังจากนั้นผู้วิจัยได้แบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคการแต่งพฤติกรรม ส่วนกลุ่มควบคุมจะได้รับการสอนโดยวิธีปกติ หลังจากนั้นทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจะได้รับมอบหมายงานให้ทำ เพื่อทดสอบพฤติกรรมตั้งใจทำงานและความถูกต้องของงาน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยเทคนิคการแต่งพฤติกรรม มีพฤติกรรมตั้งใจทำงานและคะแนนความถูกต้องของงาน สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมในระยะทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: To study the effect of shaping on on-task behavior and task accuracy of 7 to 10 year-old pupils with attention deficit/hyperactivity disorder. The subjects were six pupils from Yuwaprasartwaithayopathum were tested by disruptive behavior rating scale-teacher/parent form (DBRS) to identify that they were attention-deficit/hyperactivity disorder, predominantly inattentive type (ADHD-I) and attention-deficit/hyperactivity disorder, combined type (ADHD-C). The subjects were divided into two groups, the control group and the experimental group. The experimental group was taught by shaping method. After that both groups were given the task to evaluate the task performance on both on-task and task accuracy. The results were as follows; the experimental group who were taught by shaping method showed significantly better score on on-task behavior and task accuracy than the control group. (p<.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3281
ISBN: 9741201677
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Montira.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.