Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32887
Title: ผลของการบำบัดทางการพยาบาลแบบบูรณาการต่อความเจ็บปวดจากการเจาะหลังของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
Other Titles: The effect of integrative nursing intervention on pain of school-age children with leukemia undergoing lumbar puncture
Authors: ธนิกา คชาอนันต์
Advisors: วราภรณ์ ชัยวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: waraporn.ch@chula.ac.th
Subjects: มะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก -- การพยาบาล
ผู้ป่วย -- การดูแล
ความเจ็บปวดในเด็ก -- การพยาบาล
การเจาะไขสันหลัง
Leukemia in children -- Nursing
Care of the sick
Pain in children -- Nursing
Spine -- Puncture -- Nursing
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบสองกลุ่มที่ไม่เท่าเทียมกันวัดผลหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบำบัดทางการพยาบาลแบบบูรณาการต่อความเจ็บปวดจากการเจาะหลังของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยมีทฤษฎีการควบคุมประตูของ Melzack and Wall (1965) เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเด็ก วัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว อายุ 8 -12 ป ที่อยู่ในระยะของการรักษาตั้งแต่ช่วง Consolidation ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง จำนวน 50 ราย จัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบโดยผู้ป่วย 25 รายแรกที่เข้ารับการเจาะหลังจัดเป็นกลุ่มเปรียบเทียบ และผู้ป่วย 25 รายหลังเป็นกลุ่มทดลอง กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการบำบัดทางการพยาบาลแบบบูรณาการ ซึ่งประกอบด้วยการบริหารการหายใจร่วมกับการประคบแอลกอฮอล์แช่เย็น ควบคุมให้ผู้ป่วยเด็กในทั้งสองกลุ่มมีความเท่าเทียมกันในเรื่องระดับความกลัว และการที่ผู้ปกครองอยู่ด้วยขณะเจาะหลัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการทดสอบค่าที (Independent t-test) ผลการวิจัยพบว่า ความเจ็บปวดของผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการบำบัดทางการพยาบาลแบบบูรณาการมีความปวดน้อยกว่า ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .05
Other Abstract: The purpose of this experimental research, post-test only designs with nonequivalent groups, was to study the effect of the integrative nursing intervention on pain of school-age children with leukemia undergoing lumbar puncture. The Gate Control Theory of Melzack and Wall (1965) provided the conceptual framework for this study. Subjects were 50 leukemia 8 – 12 years old children in a tertiary hospital. The first 25 children were assigned to the comparison group and the last 25 children were in the intervention group. Children in both groups were matched by fear and parental presence during the lumbar puncture. Children in the comparison group received usual nursing care and those in the treatment group received integrative nursing intervention that included refrigerated alcohol compression and breathing exercises. Data were analyzed using independent t-test. It was found that children receiving the integrative nursing intervention had significantly lower pain than children receiving the usual nursing care, at the statistical level of .05
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลเด็ก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32887
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1060
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1060
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanika_kh.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.