Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33717
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวัฒนา วิบูลย์เศรษฐ์-
dc.contributor.authorฐิติมา สุภภัค-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-08-01T11:27:17Z-
dc.date.available2013-08-01T11:27:17Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746353993-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33717-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางประชากร ปัจจัยทางเศรษฐกิจ และปัจจัยทางสังคม กับการใช้เวลาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานครได้สุ่มตัวอย่างโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษา ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 828 คน สำหรับการเก็บข้อมูลได้ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตารางไขว้ และค่าไคสแควร์ การใช้เวลาของนักเรียนได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามลักษณะของกิจกรรม คือกิจกรรมการเรียน กิจกรรมในครัวเรือน และกิจกรรมนันทนาการ ในช่วงวันธรรมดาและวัสดุสัปดาห์ ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้เวลาในการทำกิจกรรมการเรียน กับปัจจัยทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคม พบว่า รายได้ครอบครัว การศึกษาของบิดา การศึกษามารดา แลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับการใช้เวลาในการทำกิจกรรมการเรียนทั้งในช่วงวันธรรมดาและวันสุดสัปดาห์ ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้เวลาในการทำกิจกรรมในครัวเรือน กับปัจจัยทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคม พบว่า เพศ อาชีพของมารดา รายได้ครอบครัว การศึกษาของบิดา การศึกษาของมารดา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับการใช้เวลาในการทำกิจกรรมในครังเรือนทั้งในช่วงวันธรรมดาและวันสุดสัปดาห์ ยกเว้นอาชีพของบิดามีความสัมพันธ์ กับการใช้เวลาในการทำกิจกรรมในครัวเรือนเฉพาะในวันสุดสัปดาห์เท่านั้น ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้เวลาในการทำกิจกรรมนันทนาการ กับปัจจัยทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคม พบว่า เพศ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับการใช้เวลาในการทำกิจกรรมนันทนาการทั้งในช่วงวันธรรมดาและวันสุดสัปดาห์ ยกเว้นลำดับที่ของบุตรมีความสัมพันธ์ กับการใช้เวลาในการทำกิจกรรมนันทนาการเฉพาะในช่วงวันธรรมดาเท่านั้น-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to investigate the relationship between demographic, economic and social factors and time allocation of mathayom suksa three students in Bangkok. A multi-stage sampling technique was used in selecting students from schools under the General Education Department, the ministry of Education Eight hundred and twenty eight students were selected to answer the questionnaires. The chi-square test was used in testing the validity of hypothesis. Time allocation of students was divided into academic, household and recreational activities. The research results showed firstly that economic and social factors such as family income, fathers’ and mothers’ education and students’ educational achievement have statistically significant effect on academic activities from Monday to Sunday. Secondly, it was found that sex, mothers’ occupation, family income, fathers’ and mothers’ education and educational achievement have statistically significant effect on household activities from Monday to Sunday. However, fathers’ occupation correlated with household activities only on weekend. Thirdly, this analysis showed that only sex and educational achievement have a statistically significant impact on recreational activities from Monday to Sunday. But birth order of the students correlated with recreational activities only from Monday to Friday.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการใช้เวลาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeTime allocation of Mathayom Suksa Three students in Bangkok Metropolisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสังคมวิทยามหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thittima_su_front.pdf996.21 kBAdobe PDFView/Open
Thittima_su_ch1.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open
Thittima_su_ch2.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open
Thittima_su_ch3.pdf4.6 MBAdobe PDFView/Open
Thittima_su_ch4.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Thittima_su_back.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.