Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35205
Title: คณะกรรมการการเลือกตั้ง : ศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักวิชาการ ข้าราชการและนักการเมือง
Other Titles: A comparative study of the opinion of academics, government officials and politicians towards the election commission
Authors: พิรุณ วิมลอักษร
Advisors: ประหยัด หงษ์ทองคำ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบถึงความคิดเห็นของนักวิชาการ ข้าราชการและนักการเมืองว่ามีความคิดเห็นในเรื่องคณะกรรมการการเลือกตั้งในประเด็นที่มา องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ แตกต่างกันหรือไม่ โดยมีสมมติฐานของการศึกษาวิจัยว่า “ความคิดเห็นของนักวิชาการ ข้าราชการและนักการเมือง เกี่ยวกับที่มา องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งมีความเห็นที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาท สถานภาพ และผลประโยชน์ของบุคคลแต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ” วิธีการศึกษาที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้ใช้วิธีการวิจัยแบบสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวัดเพื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้งของกลุ่มประชากรสามกลุ่ม ได้แก่ นักวิชาการ ข้าราชการและนักการเมือง ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ถูกสุ่มขึ้นมาเพื่อเป็นตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทราบถึงความแตกต่างของความคิดเห็นได้ใช้ค่าสถิติไคสแควร์ และอโนวา ในการวิเคราะห์ ทั้งนี้ได้กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการศึกษาวิจัย พบว่านักวิชาการ ข้าราชการและนักการเมือง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่มา องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่แตกต่างกันแต่ประการใด สำหรับเหตุผลที่ทำให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่มาและองค์ประกอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่แตกต่างกันน่าจะเนื่องมาจาก ทุกกลุ่มต้องการที่จะเห็นคณะกรรมการการเลือกตั้งมีความเป็นกลางอย่างแท้จริงในการควบคุมดูแลบริหารการเลือกตั้ง ส่วนประเด็นอาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ไม่แตกต่างกัน น่าจะเนื่องมาจากอำนาจหน้าที่ที่กำหนดในแบบสอบถาม เป็นหน้าที่ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งในประเทศต่างๆ ถือเป็นหน้าที่หลักที่ต้องปฏิบัติอยู่แล้ว และเป็นหน้าที่ที่สะท้อนปัญหาการเลือกตั้งของประเทศไทยที่เป็นอยู่จริง
Other Abstract: This study is aimed to study the opinion of academics, government officers and politicians on the origin, components, authority of the Election Commission. The hypothesis of the research is that “the opinion of academics, government officials and politicians on the origin, components, authority of the Election Commission differ in response to the role, status, and interest of each group.” The method employed in this research is a survey research using questionnaire as the measurement tool. Sample groups are taken by random. Random sampling are taken systematically. Data analysis is done by using chi-square and anova statistical methods, which renders the signification at 0.05. The result of the study shows that the opinion of academics, government officials and politicians towards the origin, components, and authority of the Election Commission do not differ. The reason for this is that each group expect to have an impartial Election Commission in supervising the electoral administration. As regards the indifference of the authority of the Election Commission, the reason for this is that the authority stated in the questionnaire is in general accepted by most countries and is regarded as the general standard of practice. Also it has function in reflecting the actual problems of election of Thai politics.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35205
ISBN: 9746361503
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pirun_vi_front.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open
Pirun_vi_ch1.pdf4.83 MBAdobe PDFView/Open
Pirun_vi_ch2.pdf19.79 MBAdobe PDFView/Open
Pirun_vi_ch3.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open
Pirun_vi_ch4.pdf12.47 MBAdobe PDFView/Open
Pirun_vi_ch5.pdf9.91 MBAdobe PDFView/Open
Pirun_vi_ch6.pdf6.34 MBAdobe PDFView/Open
Pirun_vi_back.pdf11.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.