Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36215
Title: ลักษณะการดำเนินชีวิตของกลุ่มผู้ใช้เทคโนโลยีหลอมรวมสื่อ
Other Titles: The Media Convergence lifestyle profile
Authors: ปาริชาต สายธนู
Advisors: ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Yubol.B@chula.ac.th
Subjects: รูปแบบการดำเนินชีวิต
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
สื่อมวลชน -- ผู้รับสาร
Lifestyles
Digital media
Mass media -- Audiences
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบแบบจำลององค์ประกอบลักษณะผู้รับสาร (The Composite Audience Profile: CAP model) และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะการดำเนินชีวิตของกลุ่มผู้ใช้เทคโนโลยีหลอมรวมสื่อ (อินเทอร์เน็ตโฟน) กับกลุ่มผู้ไม่ใช้เทคโนโลยีหลอมรวมสื่อ รวมทั้งศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีหลอมรวมสื่อ และการใช้เนื้อหาของผู้บริโภคผ่านเทคโนโลยีหลวมรวมสื่อ โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 1,035 ตัวอย่าง มีอายุระหว่าง 15 – 60 ปี อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลององค์ประกอบลักษณะผู้รับสารสามารถอธิบายลักษณะของกลุ่มผู้ใช้กับกลุ่มผู้ไม่ใช้เทคโนโลยีหลอมรวมสื่อได้ และยังแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันอย่างชัดเจน จากการศึกษาพบว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตของกลุ่มผู้ใช้เทคโนโลยีหลอมรวมสื่อ จัดกลุ่มได้ 5 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้เชื่อใจอินเทอร์เน็ต 2) กลุ่มผู้ใช้ชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกับอินเทอร์เน็ต 3) กลุ่มผู้ใช้ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตในการดำเนินชีวิตทั่วไป 4) กลุ่มผู้มุ่งมั่นความสำเร็จต้องการใช้เทคโนโลยีหลอมรวมสื่อ และ 5) กลุ่มผู้เชื่อมั่นเป็นตัวของตัวเอง ส่วนกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช้เทคโนโลยีหลอมรวมสื่อ จัดกลุ่มได้ 6 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างระมัดระวัง 2) กลุ่มผู้หวาดระแวงอินเทอร์เน็ต 3) กลุ่มผู้สนใจสื่อเก่าไม่พึ่งพาอินเทอร์เน็ต 4) กลุ่มผู้เชื่อมั่นสูงมุ่งมั่นความสำเร็จ 5) กลุ่มคนเป็นตัวของตัวเองและรักอิสระ และ 6) กลุ่มทำงานหนักรักความก้าวหน้า ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ตัวแปร 1) ลักษณะประชากร ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อครัวเรือน และเขตพื้นที่พักอาศัย 2) ลักษณะทางจิตวิทยา ได้แก่ รูปแบบการดำเนินชีวิต ลักษณะนิสัย อารมณ์ความรู้สึก และ 3) พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีหลอมรวมสื่อ และการใช้เนื้อหาของกลุ่มผู้ใช้ และกลุ่มผู้ไม่ใช้ เทคโนโลยีการหลอมรวมสื่อ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้นยังพบว่า 1) ลักษณะทางประชากร ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และรายได้ต่อครัวเรือน 2) ลักษณะทางจิตวิทยา ได้แก่ รูปแบบการดำเนินชีวิต ลักษณะนิสัย อารมณ์ความรู้สึก มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีหลอมรวมสื่อและการใช้เนื้อหา
Other Abstract: The purpose of this study is to test the Composite Audience Profile (CAP model) and to compare the lifestyle profile of Media Convergence Mediated users (internet phone users) to Non-Media Convergence Mediated users. This study also observed the consumers mobile usage and the content they consume. The survey was conducted by collecting data from 1,035 respondents, aged 15-60 years old, in urban community. Findings revealed that the Composite Audience Profile (CAP model) can be used to explain Thai Media Convergence Mediated (MCM) users and Non-Media Convergence Mediated (Non-MCM) users. Moreover, the CAP model makes us understand and become aware of the differences between MCM and Non-MCM users. Results showed that lifestyles of the MCM users can be classified into 5 categories: 1) users who trust the internet 2) user who become one with the internet 3) the general internet users 4) the achievers who rely on MCM technology and 5) the self-confident internet users. The Non-MCM users can be classified into 6 groups : 1) the cautious internet users 2) the distrust internet users 3) the conventional and non-reliance on internet users 4) the achievers 5) the individual with independent lifestyle and 6) the hard-workers. The hypothesis test found that 1) the demographic variables such as age, education, career, income and region, 2) the psychological variables such as lifestyle patterns, sub-personality and emotion, and 3) the media convergence and content usage behavior of the MCM and Non-MCM users were significantly different. Also, the research found that 1) the demographic variables such as gender, age, education, career, income and 2) the psychological variables such as lifestyle patterns, sub-personality and emotion correlated with media convergence technology and content usage behavior.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36215
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.481
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.481
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
parichart_sa.pdf8.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.