Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36684
Title: ปัญหาทางกฎหมายของการแบ่งกลุ่มพฤติกรรมการตกลงร่วมกันเพื่อจำกัดการแข่งขันและระบบการขออนุญาตตามมาตรา 27 ของพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542
Other Titles: Legal problems of restrictive conduct segmentation and authorization system under section 27 of The Competition Act B.E. 1999
Authors: ผกาวีร์ ผาติเวทย์
Advisors: ศักดา ธนิตกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Sakda.T@chula.ac.th
Subjects: การแข่งขันทางการค้า
การแข่งขันทางการค้า -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
สินค้า -- การแข่งขัน
การค้าผูกขาด
พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542
Competition -- Law and legislation
Competition
Monopolies
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้าพ.ศ. 2542 มีหลักว่าพฤติกรรมการตกลงร่วมกันของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อจำกัดการแข่งขันตามมาตรา27(5)คือ การแบ่งท้องที่หรือแบ่งลูกค้า ที่ผู้ประกอบธุรกิจจะจำหน่ายสินค้าหรือบริการ หรือมาตรา 27(6)การกำหนดแบ่งท้องที่หรือแบ่งตัวผู้ประกอบธุรกิจที่จะซื้อสินค้าหรือบริการ และมาตรา 27(7) การกำหนดปริมาณของสินค้าหรือบริการที่ผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายจะผลิต ซื้อ จำหน่าย หรือบริการ เพื่อจำกัดปริมาณให้ ต่ำกว่าความต้องการของตลาด พฤติกรรมที่กล่าวมานี้ตามกฎหมายไทยเป็นความผิด แต่อาจขออนุญาตเพื่อกระทำได้ ซึ่งหากพิจารณาจากลักษณะของพฤติกรรมแล้ว พฤติกรรมทั้ง 3 รูปแบบนี้น่าจะถูกจัดอยู่ในส่วนของพฤติกรรมที่ร้ายแรง ไม่อาจขออนุญาตได้ เนื่องจากพฤติกรรมดังกล่าวมีลักษณะที่เป็นความผิดในตัวเองอย่างชัดเจน และในส่วนของพฤติกรรมที่สามารถขออนุญาตได้ นับตั้งแต่มีพระราชบัญญัตินี้จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการยื่นขออนุญาตแม้แต่รายเดียว จึงเป็นปัญหาที่จะต้องนำมาแก้ไขปรับปรุงระบบของการขออนุญาตให้สามารถบังคับใช้ได้จริง ดังนั้นผู้เขียนจึงเสนอแนะให้ในกรณีแรก พฤติกรรมตามมาตรา 27(5)-(7) ถูกกำหนดให้อยู่ในกลุ่มของพฤติกรรมที่ร้ายแรง ไม่สามารถขออนุญาตเพื่อกระทำได้ โดยมีเหตุผลสนับสนุนทั้งในทางเศรษฐศาสตร์ เปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ และพิจารณาจากบริบทของประเทศไทย ในกรณีที่สอง ระบบการขออนุญาตยังคงใช้บังคับอยู่โดยมีการกำหนดแนวปฏิบัติที่ละเอียดชัดเจนพร้อมทั้งระบุขั้นตอนการขออนุญาตและเหตุผลในการพิจารณาอนุญาตอย่างเหมาะสม โดยมีการเพิ่มข้อยกเว้นให้การกระทำบางรูปแบบและระบุยกเว้นให้สำหรับผู้ประกอบการรายเล็กที่ตกลงร่วมกันจำกัดการแข่งขันโดยไม่ต้องขออนุญาต
Other Abstract: From The Competition Act B.E.1999, the collusions of undertakings to restrict the competition in section 27(5) allocation of market or customer for selling products or services, section 27(6) allocation of market or customer for buying products or services and section 27(7) restriction of output lower than the market demand are illegal but these collusions can be authorized from The Competition Commission. However, the nature of all these collusions is hard core and should not be authorized because these collusions are per se illegal conduct. About the authorization system, there is no application applying for authorization since the enactment of this Act, so this is the reason to improve the authorization system for efficiency enforcement. Thus, my proposal is to suggest as follows: firstly, the collusions in section 27(5)-(7) should be hard core conduct and cannot be authorized by supporting reasons such as economical reason, foreign law comparison and Thailand economic context. Secondly, maintaining the authorization system by setting the detailed guideline with steps of procedure and appropriate reasons for Competition Commission to make the decision to authorize and set the criteria for exemption of the collusions of small size undertakings.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36684
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1552
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1552
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phakawee_ph.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.