Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37407
Title: การใช้มาตรการอื่นแทนการลงโทษจำคุกระยะสั้น
Other Titles: Alternative measures to a short-term imprisonment
Authors: กุณฑิกา ช่วยพนัง
Advisors: มัทยา จิตติรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Mattaya.J@Chula.ac.th
Subjects: มาตรการแทนการจำคุก
การจำคุก
Alternatives to imprisonment
Imprisonment
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาถึงมาตรการแทนการลงโทษจำคุกระยะสั้น ซึ่งเป็นการลงโทษผู้กระทำความผิดที่ได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ด้วยมาตรการลงโทษในชุมชนที่มีความเหมาะสมและได้สัดส่วนกับการกระทำความผิด โดยไม่จำต้องส่งผู้กระทำความผิดเข้าสู่เรือนจำ ผลการศึกษาพบว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษได้นำมาตรการคุมประพฤติแบบเข้มข้น การให้ทำงานบริการสังคม และการควบคุมผู้กระทำความผิดไว้ในที่อยู่อาศัยโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ มาใช้แทนการลงโทษจำคุกในลักษณะของโทษทางเลือกหรือโทษทดแทนโทษจำคุกซึ่งเป็นโทษหลัก รวมทั้งใช้เป็นเงื่อนไขในการปล่อยตัวผู้กระทำความผิดออกจากเรือนจำก่อนครบกำหนด ในลักษณะของการบังคับโทษจำคุกนอกเรือนจำ มาตรการเหล่านี้เป็นมาตรการลงโทษระดับกลาง ซึ่งมีความยากลำบากหรือความเข้มงวดในการควบคุมพฤติกรรม มากกว่าการคุมประพฤติแบบปกติแต่เบากว่าการลงโทษจำคุก สามารถนำมาใช้กับผู้ที่กระทำความผิดอาญาร้ายแรง แต่ไม่มีนิสัยเป็นอาชญากร หรือได้กระทำผิดไปด้วยความประมาท และมีแนวโน้มที่จะไม่กระทำความผิดซ้ำอีกในอนาคต การปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดเหล่านี้ด้วยมาตรการลงโทษในชุมชน จึงเพียงพอและเหมาะสมกว่าการลงโทษจำคุกระยะสั้น ด้วยเหตุนี้ จึงสมควรนำมาตรการคุมประพฤติแบบเข้มข้น การให้ทำงานบริการสังคม และการควบคุมผู้กระทำความผิดไว้ในที่อยู่อาศัยโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ มาใช้แทนการลงโทษจำคุกระยะสั้นในระบบกฎหมายไทย เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ศาลในการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดที่ไม่สมควรได้รับโทษจำคุกระยะสั้น หรือกรณีที่การรอการลงโทษเป็นมาตรการที่เบาเกินไป รวมทั้งกรณีที่ไม่เข้าเงื่อนไขในการรอการลงโทษ หรือการเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขัง หรือการยกโทษจำคุกด้วย ทั้งนี้เพื่อมิให้ผู้กระทำความผิดได้รับผลกระทบจากการลงโทษจำคุกระยะสั้น ผู้เสียหายและสังคมมีความพึงพอใจในการลงโทษผู้กระทำความผิด และยังสอดคล้องกับแนวความคิดในการหลีกเลี่ยงมาตรการ ที่เป็นการควบคุมตัวที่แพร่หลายอยู่ในนานาอารยประเทศขณะนี้ด้วย
Other Abstract: To study alternative measures to a short-term imprisonment which is an appropriate community punishment to offenders being sentenced not exceed 3 years imprisonment without sending them into prison. The study indicates that the United States of America and the United Kingdom have applied intensive probation, community service order and home confinement with electronic monitoring as alternative measures to imprisonment. These measures are intermediate punishment which is more restrictive and stricter than traditional probation. However, it is less severe than imprisonment penalty. These measures are applicable to the crime committed by offenders having no crime habit or negligent offenders. Therefore, applying intensive probation, community service order and home confinement with electronic monitoring in Thailand legal system will provide the court alternative punishments for offenders who are not supposed to receive short-term imprisonment or those who probation seems to be non-severe measure, including the cases which do not conform to the conditions of probation or altering the imprisonment to confinement or even imprisonment repealing. The measures mentioned make victims and community satisfied. Moreover, it also conforms to the concept of non-custodial measures which pervade in the developed countries.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37407
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1090
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1090
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kundhika_ch.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.