Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38727
Title: ต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกน้อยหน่า
Other Titles: Cost and return on investment in sweet sop crowing
Authors: กาญจนา ทวีศักดิ์
Advisors: ฉลองชัย แบบประเสริฐ
บุญเสริม วิมุกตะนันทน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: น้อยหน่า -- การปลูก -- ต้นทุน
น้อยหน่า -- การปลูก -- อัตราผลตอบแทน -- ไทย
ค่าใช้จ่าย
น้อยหน่า -- การตลาด
Sugar apple -- Planting -- Costs
Sugar apple -- Planting -- Rate of return
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การทำสวนผลไม้เป็นอาชีพหนึ่งที่ทำกันมานาน และก่อให้เกิดรายได้ให้แก่ประเทศ เป็นอย่างมาก ในบรรดาไม้ผลทั่ว ๆ ไป น้อยหน่าจัดเป็นไม้ผลยืนต้นชนิดหนึ่งที่มีผู้นิยมปลูกเป็นการค้ากันมาก ทั้งนี้เนื่องจากคุณลักษณะพิเศษของน้อยหน่า คือ เป็นพืชที่สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกประเภท และทนต่อความแห้งแล้งได้ดี วิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งศึกษาถึงต้นทุน และผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกน้อยหน่า โดยได้ทำการศึกษาข้อมูลซึ่งได้จากการสัมภาษณ์ เกษตรกรในเขตตำบลกลางดง และตำบลหมูลี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อันเป็นแหล่งที่ปลูกน้อยหน่าที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ในการเลือกสวนตัวอย่างได้ใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 90 ราย และได้จัดแบ่งตามขนาดเนื้อที่เพาะปลูกออกเป็น 3 ขนาด คือ เนื้อที่เพาะปลูก 1-20 ไร่ จำนวน 30 ราย เนื้อที่เพาะปลูก 21-40 ไร่ จำนวน 30 ราย และเนื้อที่เพาะปลูก 41-100 ไร่ จำนวน 30 ราย ผลการศึกษาทราบว่า ต้นน้อยหน่ามีอายุประมาณ 12 ปี และเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป โดยมีรายละเอียดจำแนกตามขนาดเนื้อที่เพาะปลูกดังนี้ 1. เนื้อที่เพาะปลูก 1-20 ไร่ ตลอดอายุการปลูกน้อยหน่า 12 ปี มีต้นทุนเฉลี่ยรวม 18,675.33 บาท/ไร่ มีปริมาณผลผลิตเฉลี่ยรวม 9,633 .74 กิโลกรัม/ไร่ จากการวิเคราะห์รายได้และผลตอบแทนการลงทุน ณ ระดับราคาจำหน่ายกิโลกรัมละ 5.-บาท 3.-บาท และ 2.- บาท ปรากฏว่า ถ้าขายน้อยหน่าในราคากิโลกรัมละ 5.-บาท จะได้รับกำไรสุทธิเฉลี่ยรวมทั้งลิ้น 29,493.37 บาท/ไร่ จะได้รับทุนคืนภายในเวลาประมาณ 4 ปี 1 เดือน จากอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่กำหนดไว้เท่ากับร้อยละ 13 จะได้มูลค่า ปัจจุบันสุทธิสูงกว่า 0 และได้รับอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงเท่ากับร้อยละ 66 .22 ถ้าขายน้อยหน่าในราคากิโลกรัมละ 3 .-บาท จะได้รับกำไรสุทธิ เฉลี่ยรวมทั้งสิ้น 10 ,225.89 บาท/ไร่ จะได้รับทุนคืนภายในเวลาประมาณ 5 ปี 4 เดือน จากอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่กำหนดไว้เท่ากับร้อยละ 13 จะได้มูลค่าปัจจุบันสุทธิสูงกว่า 0 และได้รับอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง เท่า กับร้อยละ 35 .82 ถ้าขายน้อยหน่าในราคากิโลกรัมละ 2.-บาท จะได้รับกำไรสุทธิเฉลี่ยรวมทั้งลิ้น 592.15 บาท/ไร่ จะได้รับทุนคืนภายในเวลาประมาณ 7 ปี เดือน จากอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่กำหนดไว้เท่ากับร้อยละ 13 จะได้มูลค่าปัจจุบันสุทธิต่ำกว่า 0 และได้รับอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงเท่ากับร้อยละ 4.16 2. เนื้อที่เพาะปลูก 21-40 ไร่ ตลอดอายุการปลูกน้อยหน่า 12 ปี มีต้นทุนเฉลี่ยรวม 18,628.05 บาท/ไร่ มีปริมาณผลผลิตเฉลี่ยรวม 9,459.27 กิโลกรัม/ไร่ จากการวิเคราะห์รายได้และผลตอบแทนจากการลงทุน ณ ระดับราคาจำหน่ายกิโลกรัมละ 5. -บาท 3. -บาท และ 2.-บาท ปรากฏว่า ถ้าขายน้อยหน่าในราคากิโลกรัมละ 5.-บาท จะได้รับกำไรสุทธิ เฉลี่ยรวมทั้งลิ้น 28,668.30 บาท/ไร่ จะได้รับทุนคืนภายในเวลาประมาณ 4 ปี 4 เดือน จากอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่กำหนดไว้เท่ากับร้อยละ 13 จะได้มูลค่าปัจจุบันสุทธิสูงกว่า 0 และได้รับอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง เท่ากับร้อยละ 54 .99 ถ้าขายน้อยหน่าในราคากิโลกรัมละ 3.-บาท จะได้รับ กำไรสุทธิเฉลี่ยรวมทั้งสิ้น 9,749.76 บาท/ไร่ จะได้รับทุนคืนภายในเวลาประมาณ 5 ปี 9 เดือน จากอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่กำหนดไว้เท่ากับร้อยละ 13 จะได้มูลค่าปัจจุบันสุทธิสูงกว่า 0 และได้รับอัตราผลตอบแทนที่แท้จริ ง เท่ากับร้อยละ 28.87 ถ้าขายน้อยหน่าในราคากิโลกรัมละ 2.-บาท จะได้รับกำไรสุทธิเฉลี่ยรวมทั้งสิ้น 290 .49 บาท /ไร่ จะได้รับทุนคืนภายในเวลาประมาณ 7 ปี 1 เดือน จากอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่กำหนดไว้ เท่ากับร้อยละ 13 จะได้มูลค่าปัจจุบันสุทธิต่ำกว่า 0 และได้รับอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงเท่ากับร้อยละ 1.42 3. เนื้อที่เพาะปลูก 41-100 ไร่ ตลอดอายุการปลูกน้อยหน่า 12 ปี มีต้นทุนเฉลี่ยรวม 19,265 .64 บาท/ไร่ มีปริมาณผลผลิตเฉลี่ยรวม 10 ,050 .79 กิโลกรัม/ไร่ จากการวิเคราะห์รายได้และผลตอบแทนจากการลงทุน ณ ระดับราคาจำหน่ายกิโลกรัมละ 5.-บาท 3.-บาท และ 2.-บาท ปรากฏว่า ถ้าขายน้อยหน่าในราคากิโลกรัมละ 5.-บาท จะได้รับกำไรสุทธิเฉสี่ยรวมทั้งสิ้น 30,988.31 บาท/ไร่ จะได้รับทุนคืนภายในเวลาประมาณ 4 ปี 9 เดือน จากอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่กำหนดไว้เท่ากับร้อยละ 13 จะได้มูลค่าปัจจุบันสุทธิสูงกว่า 0 และได้รับอัตราผล ตอบแทนที่แท้จริงเท่ากับร้อยละ 42.07 ถ้าขายน้อยหน่าในราคากิโลกรัมละ 3.-บาท จะได้รับกำไรสุทธิเฉลี่ยรวมทั้งลิ้น 10 ,886 .73 บาท/ไร่ จะได้รับทุนคืนภายในเวลาประมาณ 6 ปี 3 เดือน จากอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่กำหนดไว้เท่ากับร้อยละ 13 จะได้มูลค่าปัจจุบันสุทธิสูงกว่า 0 และได้รับอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง เท่ากับร้อยละ 21.97 ถ้าขายน้อยหน่าในราคากิโลกรัมละ 2. -บาท จะได้รับผลกำไรสุทธิเฉลี่ยรวมทั้งสิ้น 835.94 บาท จะได้รับทุนคืนภายในเวลาประมาณ 8 ปี 4 เดือน จากอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่กำหนดไว้ เท่ากับร้อยละ 13 จะได้มูลค่าปัจจุบันสุทธิต่ำกว่า 0 และจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำกว่า 1% สรุปได้ว่า เนื้อที่เพาะปลูก 21-40 ไร่ มีต้นทุน ตลอดอายุการปลูก 12 ปี เฉลี่ยต่อไร่ต่ำสุด เนื้อที่เพาะปลูก 41-100 ไร่ ได้รับผลกำไรสุทธิเฉลี่ยต่อไร่สูงสุด และเนื้อที่เพาะปลูก 1-20 ไร่ จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนสูงสุด และการลงทุนปลูกน้อยหน่าในเนื้อที่เพาะปลูกทั้ง 3 ขนาด จะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับกา ร ลงทุนเมื่อเกษตรกรสามารถขายน้อยหน่าได้ในราคากิโลกรัมละ 3 .- บาทขึ้นไป ญหาสำคัญในการปลูกน้อยหน่า คือ ปัญหาเกี่ยวกับการจำหน่าย บัญหาเกี่ยวกับผลผลิต ปัญหาการส่งออก ปัญหาเกี่ยวกับต้นทุนการผลิต ปัญหาเรื่องน้ำ ปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนเงินทุน ปัญหาเรื่องโรคและแมลง และปัญหาเกี่ยวกับเกษตรกรขาดความรู้ทางด้านเทคโนโลยีในการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต ปัญหาหล่านี้อาจแก้ไขได้ ถ้าทุกฝ่ายทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาลร่วมมือกัน ซึ่งได้เสนอแนะแนวทางแก้ไขไว้ดังนี้ ข้อเสนอแนะสำหรับเกษตรกร 1. เกษตรกรควรร่วมมือกันจัดตั้งกลุ่มการตลาด เพื่อที่จะได้มีอำนาจต่อรองกับพ่อค้าคนกลางมากยิ่งขึ้น ตลอดจนควรศึกษาวิธีการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต และวิธีการบังคับให้น้อยหน่าให้ผลผลิตนอกฤดูกาลปกติ 2. เกษตรกรควรศึกษาถึงสรรพคุณ วิธีการใช้ปุ๋ย ฮอร์โมน และยาป้องกันและกำจัดศัตรูพืช และปริมาณการใช้อย่างถูกต้อง ตลอดจนควรเลือกทำเลปลูกน้อยหน่าที่ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อที่จะสามารถนำน้ำมาใช้ได้ในยามขาดแคลน ข้อเสนอแนะสำหรับภาครัฐบาล 1. รัฐบาลควรช่วยเหลือโดยการหาทางขยายตลาด สนับสนุนให้มีการค้นคว้าวิจัยเพื่อปรับปรุงและแปรรูปผลผลิต ตลอดจนพัฒนารูปแบบการหีบห่อ และความสะดวกรวดเร็วในการขนส่ง
Other Abstract: Orchard Plantation has been an occupation which has earned a lot of income for the country. Sweet sop is one kind of perennial plants which is very popular to grow for commercial purpose because it can grow in various types of soil and endure dry weather. The objective of this thesis is to study the cost and return on Sweet sop cultivation investment by interviewing the gardeners in Klangkong and Moosi district at Amphor Pakchong in Nakhonratchasima province which is the largest area for Sweet sop cultivation. The purposive sampling of 90 gardens are distributed into 3 groups of different area sizes: 30 gardens of 1-20 rais, 30 gardens of 21-40 rais and 30 gardens of 41-100 rais. The results of the study show that the longest life period of the Sweet sop plant is approximately 12 year. Sweet sop crop harvest begins from the third year after the planting of the crop with following results:- 1) For the group of 1-20 rais, within the yielding period of 12 years, the average cost of cultivation is 18,675.33 bahts per rai and the average productivity is 9,633.74 kilograms per rai. At the selling price of 5, 3 and 2 Bahts per kilogramme the average profit per rai are 29,493.37, 10,225.89 and 592.15 bants respectively and the payback period of investment are 49, 64 and 90 months, respectively. At the minimum required investment return of 13% the net present value is higher than zero when the selling price per kilogramme are 5 and 3 Bahts, but at the selling price of 2 bahts per kilogramme the net present value is lower than zero. The internal rates of return when the selling price are 5, 3 and 2 Bahts per kilogramme are 66.22%, 35.82% and 4.16% respectively. 2) For the group of 21-40 rais, within the yielding period of 12 years, the average cost of cultivation is 18,628.05 bahts per rai and the average productivity is 9,459.27 kilograms per rai. At the selling price of 5, 3 and 2 Bahts per kilogramme the average profit per rai are 28,668.30, 9,749.76 and 290.49 bahts respectively and the payback period of investment are 52, 69 and 85 months, respectively. At the minimum reguired investment return of 13% the net present value is higher than zero when the selling price per kilogramme are 5 and 3 Bahts, but at the selling price of 2 bahts per kilogramme the net present value is lower than zero. The internal rates of return when the selling price are 5,3 aind 2 Bahts per kilogramme are 54.99%, 28.87% and 1.42% respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38727
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1987.125
ISBN: 9745680117
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1987.125
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanchana_th_front.pdf14.4 MBAdobe PDFView/Open
Kanchana_th_ch1.pdf3.34 MBAdobe PDFView/Open
Kanchana_th_ch2.pdf22.22 MBAdobe PDFView/Open
Kanchana_th_ch3.pdf35.03 MBAdobe PDFView/Open
Kanchana_th_ch4.pdf10.52 MBAdobe PDFView/Open
Kanchana_th_ch5.pdf7.72 MBAdobe PDFView/Open
Kanchana_th_back.pdf18.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.