Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4010
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับโครงการห้องเรียนสีเขียวของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ที่เข้าร่วมโครงการห้องเรียนสีเขียว
Other Titles: Factors affecting the adoption of green learning room project of teachers in the elementary schools under the jurisdiction of the Office of National Primary Education Commission participating in green learning room project
Authors: ศยามล วงศ์สุวัฒน์, 2514-
Advisors: สมเชาว์ เนตรประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Somchaw.n@chula.ac.th
Subjects: ครูประถมศึกษา -- ไทย
พลังงานไฟฟ้า -- การอนุรักษ์
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการยอมรับโครงการห้องเรียนสีเขียวของครูโรงเรียนประถมศึกษาแห่งชาติ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ที่เข้าร่วมโครงการห้องเรียนสีเขียว (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับโครงการห้องเรียนสีเขียวของครูประถมศึกษา กับปัจจัยด้านสถานภาพส่วนตัว ปัจจัยด้านสภาพสังคมในโรงเรียน ปัจจัยด้านการสนับสนุน ปัจจัยด้านการดำเนินงานโครงการห้องเรียนสีเขียว และปัจจัยด้านคุณลักษณะห้องเรียนสีเขียว (3) ศึกษาปัจจัยที่ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับโครงการห้องเรียนสีเขียวของครูโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูประถมศึกษา จำนวน 1,091 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูโรงเรียนประถมศึกษาแห่งชาติ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ที่เข้าร่วมโครงการห้องเรียนสีเขียว มีการยอมรับโครงการห้องเรียนสีเขียวในระดับปานกลาง 2. ในการหาความสัมพันธ์ระหว่งปัจจัยทั้ง 5 ด้านกับการยอมรับโครงการห้องเรียนสีเขียว พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 พบว่า 3 อันดับแรกได้แก่ โรงเรียนของท่านมีนโยบายการใช้ห้องเรียนสีเขียวในการจัดการเรียนการสอน ห้องเรียนสีเขียวมีกิจกรรมที่หลากหลายเหมาะสำหรับจัดการเรียนการสอน และห้องเรียนสีเขียวมีสื่อและอุปกรณ์ที่ครบถ้วนสำหรับใช้งาน และพบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 พบว่า 3 อันดับแรกได้แก่ ประสบการณ์ทำงาน 11-15 ปี ประสบการทำงาน 6-10 ปี และอายุต่ำกว่า 30 ปี 3. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Method) พบว่าตัวแปรที่สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับโครงการห้องเรียนสีเขียวได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 จำนวน 7, 13, 17, 3 และ 9 ตามลำดับโดยปัจจัยทั้งหมดทุกตัวในแต่ละขั้นสามารถกันอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับโครงการห้องเรียนสีเขียวทั้ง 5 ขั้นได้เท่ากับ 72.30%, 76.40%, 70.90%, 69.70% และ 58.90% ตามลำดับ และพบปัจจัยที่สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับโครงการห้องเรียนสีเขียว ทั้ง 4 ขั้น จำนวน 1 ตัวคือ ห้องเรียนสีเขียวมีสื่อและอุปกรณ์ที่ครบถ้วนสำหรับใช้งาน 4. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มปัจจัยทีละตัว (Stepwise Method) พบว่าตัวแปรที่สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับโครงการห้องเรียนสีเขียวได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 จำนวน 7, 3, 11, 6 และ 5 ตามลำดับโดยปัจจัยทั้งหมดทุกตัวในแต่ละขั้นสามารถอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับโครงการห้องเรียนสีเขียวทั้ง 5 ขั้นได้เท่ากับ 55.50%, 64.60% 61.70%, 31.80% และ 31.30% ตามลำดับ และพบปัจจัยที่สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับโครงการห้องเรียนสีเขียวทุกขั้น จำนวน 1 ตัวคือ ท่านได้รับข่าวสารการประชาสัมพันธ์โครงการห้องเรียนสีเขียว การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ให้ข่าวสารการประชาสัมพันธ์กับโครงการห้องเรียนสีเขียว
Other Abstract: The purposes of this research were (1) to study the adoption of Green learning room project of teachers in the elementary schools under the jurisdiction of the Office of National Primary Education Commission participating in green learning room project. (2) to study the relationships between the adoption of green learning room project of elementary schools teachers and five categories of the selected variables : teacher status, school society status, administrator support, project implementation and characteristics of green learning room project, and (3) to identify predictor variables in the adoption of green learning room project of teachers in the elementary schools. The samples were 1,091 elementary schools under the jurisdiction of the Office of National Primary Education Commission participating in green learning room project. The findings revealed that: 1. Teachers in the elementary schools under the jurisdiction of the Office of National Primary Education Commission adopted the green learning room in moderate level. 2. There were statistically significant positive relationships at .05 level between the adoption of green learning room project and five categories selected variables. The first three variables were policy of school to use green learning room, various activities of green learning room consistent to the subject in class and the green learning room well equipped with materials and equipment. There were statistically significant negative relationships at .05 level between the adoption of green learning room project and five categories selected variables. The first three variables were teaching experiences of teacher between 11-15 years, teaching experiences of teacher between 6-10 years and teacher's age less than 30 years. 3. In multiple regression analysis (Enter Method) at .05 level, there were 7, 13, 17, 3 and 9 predictors variables were able to accounted for 72.30%, 76.40%, 70.90%, 69.70% and 58.90% of the variance. The variable found in four adoption stages was green learning room was well equipped with materials and equipment. 4. In stepwise multiple regression analysis at .05 level, there were 7, 3, 11, 6 and 5 predictors variables together were able to accounted for 55.50%, 64.60%, 61.70%, 31.80% and 31.30% of the variance. The variable found in five adoption steps was Electric Generating Authority of Thailand provide information about green learning room project
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4010
ISBN: 9741309708
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sayamon.pdf4.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.