Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42923
Title: การลดความแปรปรวนของคุณสมบัติของกระดาษทิชชู่ประเภทกระดาษชำระม้วนใหญ่
Other Titles: VARIATION REDUCTION OF JUMBO ROLL TISSUE PROPERTIES
Authors: ศิรเวทย์ อัศวไชยวงศ์
Advisors: นภัสสวงศ์ โรจนโรวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Napassavong.O@chula.ac.th
Subjects: การควบคุมกระบวนการผลิต
การควบคุมคุณภาพ -- มาตรฐาน
Process control
Quality control -- Standards
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อลดความแปรปรวนของคุณสมบัติ 4 เรื่องของกระดาษทิชชูประเภทกระดาษชำระม้วนใหญ่ได้แก่ คุณสมบัติความต้านทานต่อแรงดึงในทิศทางขนานเครื่องจักร (MDT), ความต้านทานต่อแรงดึงในทิศทางขวางเครื่องจักร (CDT), ความเหนียว (MDS) และความหนา (Bulk) งานวิจัยนี้ได้ใช้แนวทางของซิกซ์ ซิกมาในการระบุปัญหา การวิเคราะห์หาสาเหตุของความแปรปรวนรวมไปถึงแนวทางการแก้ไข ซึ่งพบว่าสามารถลดความแปรปรวนของคุณสมบัติทั้งสี่ได้โดยการปรับปรุงเครื่องจักร การจัดทำมาตรฐานในการทำงาน นอกจากนั้น ผู้วิจัยได้ใช้เทคนิคการออกแบบการทดลองแบบ Central Composite Design ในการศึกษาผลกระทบของปัจจัยนำเข้า 2 ปัจจัย ได้แก่ พลังงานที่ใช้ในกระบวนการบดเยื่อ และอัตราการใช้สารเพิ่มความแข็งแรงเมื่อแห้งที่มีต่อค่า TI ของคุณสมบัติทั้งสี่ และใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความถดถอยในการหาสมการความสัมพันธ์ของตัวแปรนำเข้ากับค่า TI ของคุณสมบัติแต่ละตัวก่อนที่จะผ่านขั้นตอนการหาค่าของตัวแปรนำเข้าที่เหมาะสมที่สุดด้วยวิธี Desirability function ซึ่งผลจากการปรับปรุงพบว่าค่า TI ของคุณสมบัติ MDT ปรับปรุงจาก 0.08 เป็น 0.04 คุณสมบัติ MDS ปรับปรุงจาก 0.40 เป็น 0.02 คุณสมบัติ Bulk ปรับปรุงจาก 0.59 เป็น 0.23 ส่วนคุณสมบัติ CDT มีค่า TI ภายหลังการปรับปรุงสูงขึ้นจาก 0.13 เป็น 0.15 เมื่อพิจารณาเทียบกับขอบเขตที่กำหนด (TI < 0.15) พบว่าคุณสมบัติ Bulk ยังมีค่าไม่อยู่ในขอบเขตที่กำหนด เนื่องมาจากการเปลี่ยนของเครื่องจักรภายในกระบวนการผลิต ขณะที่ค่า CI ของทุกคุณสมบัติอยู่ภายในขอบเขตที่ควบคุมทั้งหมด (CI < 0.85) โดย MDT มีค่าปรับปรุงจาก 1.27 เป็น 0.56 คุณสมบัติ CDT ปรับปรุงจาก 1.17 เป็น 0.32 คุณสมบัติ MDS เปลี่ยนแปลงจาก 0.92 เป็น 0.73 และคุณสมบัติ Bulk ดีขึ้นจาก 0.90 เป็น 0.68
Other Abstract: The purpose of this study is to reduce the variation of four characteristics of Jumbo roll tissue, which are the machine direction tensile strength (MDT), the cross machine direction tensile strength (CDT), the stretch (MDS) and the bulk. The Six-Sigma approach was applied to define the problem, analyze for the causes and determine the improvement methods. It was found that the variation could be reduced by improving the machine capability and revise the work instruction. In addition, this research used the Central Composite Design method to generate the experimental runs to study the effects of two factors, which were the refiner load and the dry strength chemical addition rate. Then, the Stepwise regression was utilized to determine the relationship equation between the significant terms and the responses. The Desirability function was then used to find the optimal setting. The improvement results showed that the Target index (TI) of the MDT was reduced from 0.08 to 0.04, the TI of MDS was improved from 0.40 to 0.02. The TI of Bulk was decreased from 0.59 to 0.23 while the TI of CDT increased from 0.13 to 0.15. Based on the controlled target (TI < 0.15), the TI of the Bulk was still over the target. Regarding the Capability index (CI), after improvement, all characteristics had the CI in the controlled target (CI < 0.85). The CI of MDT was reduced from 1.27 to 0.56. The CI of CDT was reduced from 1.17 to 0.32. The CI of MDS was improved from 0.92 to 0.73 and The CI of the Bulk was improved from 0.90 to 0.68.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42923
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.391
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.391
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5471012021.pdf5.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.