Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43279
Title: ผลของการใช้เฟนตานิลชนิดแผ่นติดผิวหนังต่อระดับความเข้มข้นของไอโซฟลูเรนที่ต้องการในสุนัขระหว่างการแก้ไขสะบ้าเคลื่อน
Other Titles: EFFECT OF FENTANYL PATCH ON REQUIRED ISOFLURANE CONCENTRATION IN DOGS DURING PATELLAR LUXATION REPAIR
Authors: ปฐมพงศ์ ทาปัน
Advisors: มาริษศักร์ กัลล์ประวิทธ์
สุมิตร ดุรงค์พงษ์ธร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: marissak.k@chula.ac.th
Sumit.D@Chula.ac.th
Subjects: สุนัข -- ศัลยกรรม
ยาระงับความรู้สึก
Dogs -- Surgery
Anesthetics
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้ประเมินฤทธิ์ระงับปวดในระหว่างการผ่าตัดของเฟนตานิลชนิดแผ่นติดผิวหนังเมื่อเปรียบ เทียบกับมอร์ฟีนที่ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ โดยเปรียบเทียบความเข้มข้นท้ายลมหายใจออกและความเข้มข้นขั้นต่ำของไอโซฟลูเรนในถุงลมปอดที่ต้องการ ขณะผ่าตัดแก้ไขสะบ้าเคลื่อนเข้าด้านในระดับ 2 หรือ 3 จำนวน 20 เข่า ของสุนัข17 ตัว โดยสุ่มจัดสุนัขเข้ากลุ่มมอร์ฟีนให้ได้รับแผ่นติดผิวหนังที่ไม่มียา หรือกลุ่มเฟนตานิลให้ได้รับเฟนตานิลชนิดแผ่นติดผิวหนังที่มีเฟนตานิล (25 มคก/ชม) สุนัข 3 ตัวมีสะบ้าเคลื่อนเข้าด้านในทั้ง 2 ขาจึงถูกจัดเข้าอยู่ในทั้ง 2 กลุ่ม ทำให้มีการผ่าตัด 10 รายในแต่ละกลุ่ม สุนัขทุกตัวได้รับการติดแผ่นติดผิวหนังที่ตอนบนของด้านข้างผนังช่องอกก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ในการวางยาสลบสุนัขกลุ่มมอร์ฟีนได้รับการนำสลบด้วยการฉีดเอซโปรมาซีนขนาด 0.03 มก/กก และมอร์ฟีนขนาด 0.5 มก/กก เข้ากล้ามเนื้อ ขณะที่สุนัขกลุ่มเฟนตานิลได้รับการนำสลบด้วยการฉีดเอซโปรมาซีนขนาดเดียวกันกับกลุ่มมอร์ฟีนและน้ำเกลือในปริมาตรที่เทียบเท่ามอร์ฟีนเข้ากล้ามเนื้อ หลังจากนั้นชักนำสลบด้วยการฉีดโปรโปฟอลฉีดเข้าหลอดเลือดดำและควบคุมระดับความลึกของการสลบด้วยไอโซฟลูเรนในออกซิเจนและการช่วยหายใจ การเฝ้าระวังการสลบและการวัดค่าต่างๆ ในสุนัขทุกตัวกระทำโดยคนเดียวกันที่ไม่ทราบชนิดของแผ่นติดผิวหนังและยาที่ใช้นำสลบ สุนัขได้รับการเฝ้าระวังสัญญาณชีพและบันทึกความเข้มข้นของไอโซฟลูเรนท้ายลมหายใจออกและความเข้มข้นขั้นต่ำของไอโซฟลูเรนในถุงลมปอดก่อนกรีดผ่าผิวหนังเป็นค่าก่อนผ่าตัดและหลังกรีดผ่าทุก 5 นาทีเป็นค่าระหว่างผ่าตัด สะบ้าเคลื่อนทุกรายได้รับการแก้ไขโดยผู้ผ่าตัดและวิธีเดียวกัน ค่าเฉลี่ย±ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (ค่ามัธยฐาน) ของค่าก่อนผ่าตัดและค่าระหว่างผ่าตัดของความเข้มข้นขั้นต่ำของไอโซฟลูเรนในถุงลมปอดสำหรับกลุ่มมอร์ฟีนมีค่าเท่ากับ 1.22±0.25% (1.2%) และ 1.1±0.27% (1.1%) ตามลำดับ และสำหรับกลุ่มเฟนตานิลมีค่าเท่ากับ 1.1±0.31% (1.05%) และ 1.1±0.26% (1%) ตามลำดับ ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ระหว่างค่าที่วัดก่อนผ่าตัดและที่วัดระหว่างผ่าตัดของความเข้มข้นขั้นต่ำของไอโซฟลูเรนในถุงลมปอดในแต่ละกลุ่มและระหว่างกลุ่ม แสดงว่าการให้เฟนตานิลผ่านผิวหนังกับการให้มอร์ฟีนฉีดเข้ากล้ามเนื้อมีฤทธิ์ระงับปวดระหว่างผ่าตัดเท่าเทียมกัน โดยสรุปเฟนตานิลชนิดแผ่นติดผิวหนังสามารถใช้ก่อนมีการกระตุ้นให้เกิดความปวดเพื่อลดความเข้มข้นของไอโซฟลูเรนที่ต้องการระหว่างผ่าตัด
Other Abstract: This study assess the intraoperative analgesic effect, based on the required end-tidal and minimum alveolar concentrations (MAC) of isoflurane, of transdermal fentanyl when compared with intramuscular morphine during surgical repair of grade II or III of medial patellar luxation in 20 stifles of 17 dogs. The animals were randomly assigned to morphine group receiving a sham patch or fentayl group receiving a transdermal fentanyl patch (25 mcg/h) applied on the skin over the dorsolateral thorax at least 24 hours prior to surgery. For anesthesia, dogs in morphine group were premedicated IM with 0.03 mg/kg acepromazine and 0.5 mg/kg morphine while dogs in fentanyl group were premedicated IM with the same dose of acepromazine and normal saline at the equivalent volume to morphine. Anesthesia was induced with propofol IV and maintained with isoflurane in oxygen and assisted respiration. Monitoring of anesthesia and measurement of all parameters in all dogs were performed by the same investigator blinded to the applied patches and premedications. Vital signs, end-tidal concentration and MAC of isoflurane were monitored and recorded before making surgical incision (preoperative values) and at 5-min intervals after making the incision (intraoperative values). All patellar luxation were repaired by the same surgeon and techniques. Mean±SD (median) preoperative and intraoperative MACs of isoflurane for morphine group were 1.22±0.25% (1.2%) and 1.1±0.27% (1.1%), respectively; and for fentanyl group were 1.1±0.31% (1.05%) and 1.1±0.26% (1%), respectively. Significant differences between the preoperative and intraoperative isoflurane MACs within each group and between groups were not observed (p > 0.05); indicating that transdermal fentanyl and intramuscular morphine have comparable intraoperative analgesic effects. In conclusion, transdermal fentanyl patches can be used for preemptive analgesia to reduce the required isoflurane concentration during surgery.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43279
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.687
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.687
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5375557331.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.