Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44879
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศศิลักษณ์ ขยันกิจ-
dc.contributor.authorเพ็ญศรี ศักดิ์ศรีสนอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-09-02T06:09:10Z-
dc.date.available2015-09-02T06:09:10Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44879-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ วิเคราะห์การดำเนินงานการบริโภคศึกษาสำหรับเด็กวัยอนุบาลโรงเรียนแกนนำ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใน 3 ด้าน ได้แก่ การบริหาร การนำไปปฏิบัติ และการประเมินผล ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 52 คน ครูอนุบาล จำนวน 67 คน และผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ปกครองเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 1 และ 2 จำนวน 420 คน ของโรงเรียนแกนนำ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เข้าร่วมสัมมนาครูระดับปฐมวัย “บริโภคศึกษาพัฒนาสุขภาวะเด็กปฐมวัย” เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบสำรวจเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย เป็นดังนี้ 1. การบริหาร ผู้บริหารจัดทำแผนการดำเนินงานการบริโภคศึกษา คิดเป็นร้อยละ 94.1 โดยสาระที่จัดทำแผนมากที่สุด คือ การใช้และดูแลรักษาทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า และมีการกำหนดผู้รับผิดชอบโครงการ/ กิจกรรม ผู้บริหารทุกคนจัดให้มีการฝึกอบรมความรู้แก่ครู และจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงาน 2. การนำไปปฏิบัติ ครูอนุบาลจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การบริโภคศึกษา คิดเป็นร้อยละ 79.4 สาระที่จัดมากที่สุด 3 สาระ ได้แก่ การเลือกรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัยและมีคุณค่า การใช้จ่ายอย่างประหยัดและการเก็บออม และการใช้และดูแลรักษาทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า ส่วนใหญ่ใช้วิธีการสนทนา โดยสื่อการสอนที่ใช้มากที่สุด คือ หนังสือนิทาน ทั้งนี้มีการจัดกิจกรรมพิเศษส่งเสริมเด็กวัยอนุบาล คิดเป็นร้อยละ 93.7 ครูอนุบาลเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ มากที่สุด ในขณะที่ชุมชนมีส่วนร่วมในลักษณะการเข้ามาเป็นวิทยากรมากที่สุด 3. การประเมินผล ผู้บริหารกำหนดให้มีการติดตามตรวจสอบด้านการบริหาร ใน 3 งาน ได้แก่ งานนโยบาย วางแผน งานบุคคล และงานทรัพยากร คิดเป็นร้อยละ 100, 94.1 และ 90.2 ตามลำดับ โดยใช้วิธีการพูดคุยซักถามกับผู้ที่เกี่ยวข้องมากที่สุด และติดตามตรวจสอบการนำไปปฏิบัติ ใน 3 ประเด็น ได้แก่ การจัดประสบการณ์การบริโภค โดยใช้วิธีเยี่ยมชั้นเรียนมากที่สุด ส่วนการจัดกิจกรรมพิเศษส่งเสริมเด็ก วัยอนุบาลและการประสานความร่วมมือระหว่างบ้าน โรงเรียนและชุมชน ทั้ง 2 ประเด็น ใช้วิธีพูดคุยซักถามผู้ที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ผลการประเมินพฤติกรรมการบริโภคของเด็กวัยอนุบาลโดยครูอนุบาลและผู้ปกครอง อยู่ในระดับดี ([Mean] = 3.77) และ ( [Mean] = 3.54)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study on the operation of consumer education for preschoolers in the lead schools under the office of the basic education commission in 3 areas: administration, implementation and evaluation. The population were 52 administrators, 67 teachers and informants were 420 parents of lead schools under the office of the basic education commission which joined in early childhood workshop “Consumer Education develops early childhood well being”. The research instruments were a questionnaire form, an interview form, a focus group form, an observation form and a survey form. The data were analyzed by using frequency, percentage, arithmetic mean and contents analysis The results were as follows: 1. Administration: administrators made a plan of the operation of consumer education for preschoolers by 94.1 percent, the most operation planning was the use and maintenance of the resources and assigned person in charge. All administrators provided training and an environment to support the operation. 2. Implementation: all preschooler teachers provided consumer education instructional organization for preschoolers by 79.4, the most instructional organization providing was the healthy food choosing, the spending and saving and the use and maintenance of the resources. Mostly teacher used conversation method. The most media using was story book, other than this teacher arranged extra activities to promote preschoolers by 93.7. Teachers allowed parents and communities to participate; parents participated by given materials and tools at most while communities participated as lecturers at most. 3. Evaluation: administrators monitored administration in 3 areas; policy planning, personnel and resources and budget, using an informal conversation at most, followed by observation and the least were questionnaires. Administrators monitored implementation in 3 areas; for the instructional organization was monitored by visiting classroom at most, extra activities and cooperation between home school and communities both of these were monitored by an informal conversation at most. The evaluation result of consumption behaviors of preschoolers evaluated by parents and teachers were at the good level ([Mean] = 3.54) and ([Mean] = 3.77) respectivelyen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.42-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectนักเรียนอนุบาลen_US
dc.subjectบริโภคศึกษาen_US
dc.subjectConsumer educationen_US
dc.titleการวิเคราะห์การดำเนินงานการบริโภคศึกษาสำหรับเด็กวัยอนุบาล ในโรงเรียนแกนนำ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานen_US
dc.title.alternativeAn analysis of the operation of consumer education for preschoolers in the lead schools under The Office of the Basic Education Commissionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการศึกษาปฐมวัยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsasilak.k@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.42-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pensri_sa.pdf3.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.