Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46507
Title: การเปลี่ยนแปลงคุณภาพอากาศและน้ำ จากการพัฒนาที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
Other Titles: A CHANGE OF AIR QUALITY AND WATER QUALITY FROM LAND DEVELOPMENT OF CHULALONGKORN UNIVERSITY AT KAENG KHOI DISTRICT SARABURI PROVINCE
Authors: สุรวิชญ์ อินทรสันติ
Advisors: พันธวัศ สัมพันธ์พานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Pantawat.S@Chula.ac.th,spantawa@hotmail.com
Subjects: คุณภาพอากาศ
คุณภาพน้ำ
การติดตามตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม -- ไทย -- สระบุรี -- แก่งคอย
Air quality
Water quality
Environmental monitoring -- Thailand -- Saraburi -- Kaeng Khoi
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากแผนการพัฒนาพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี มีการตระหนักถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของชุมชนโดยรอบพื้นที่ จึงได้มีการศึกษาและเฝ้าระวังคุณภาพอากาศและน้ำ โดยได้กำหนดจุดเก็บตัวอย่าง ประกอบด้วยพื้นที่ตำบลตาลเดี่ยว ตำบลห้วยแห้ง ตำบลชำผักแพว และพื้นที่ตัวแทนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยประเด็นคุณภาพอากาศใช้หลักการ Gravimetric Method ในการเก็บตัวอย่างอากาศประเภทฝุ่นละออง 2 ชนิด คือ ฝุ่นละอองรวม (TSP) และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM10) และเก็บตัวอย่างเป็นระยะเวลา 3 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เป็นเวลา 4 ปี (2554-2557) เพื่อเปรียบเทียบและศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาณฝุ่นละอองทั้งสองชนิดที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่และฤดูกาล รวมทั้งศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณของฝุ่นละอองทั้งสองชนิดในพื้นที่ศึกษา จากผลการศึกษาในครั้งนี้ พบว่า ในปี 2554 พื้นที่ตำบลตาลเดี่ยว มีค่า TSP และ PM10 สูงที่สุด ในฤดูหนาว รองลงมาคือ ฤดูร้อน และฤดูฝนน้อยที่สุด ซึ่งในปี 2554 เป็นปีแรกที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการพัฒนาอาคาร ถนน และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ จึงอาจทำให้ค่าฝุ่นละอองทั้งสองชนิดในพื้นที่สูงขึ้นได้ ทั้งนี้พบค่า PM10 สูงกว่ามาตรฐาน ในพื้นที่ตำบลตาลเดี่ยว และพื้นที่ตัวแทนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีค่าเท่ากับ 0.1283 และ 0.1722 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า ค่าของ TSP และ PM10 มีความสัมพันธ์กันดังค่าสัมประสิทธิ์ R2 มีค่าเท่ากับ 0.8291 จึงสามารถสรุปผลการทดลองได้ว่า ในทุกพื้นที่ที่ทำการศึกษา ตั้งแต่ปี 2554-2557 พบว่า ฤดูหนาวเป็นฤดูกาลที่มีค่าปริมาณของฝุ่นละอองทั้ง TSP และ PM10 สูงที่สุดและมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น กระแสลม และกิจกรรมของมนุษย์ เป็นต้น ซึ่งคาดว่าจะส่งผลต่อปริมาณของฝุ่นละอองในแต่ละฤดูกาลและในแต่ละพื้นที่ด้วย สำหรับคุณภาพน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน พบค่า BOD5 ในแต่ละพื้นที่ที่ทำการศึกษามีค่าค่อนข้างสูง และพบการปนเปื้อนโลหะหนักอยู่บ้างในปริมาณน้อยทั้งในคุณภาพน้ำผิวดินและใต้ดิน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงคุณภาพอากาศและคุณภาพน้ำจึงไม่มีสาเหตุมาจากการพัฒนาที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หากแต่ควรให้มีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
Other Abstract: From the development of Chulalongkorn University (CU) in Kaengkhoi district, Saraburi province, there are many concerns about environment impact about the public health, therefore, the air quality monitoring had been conducted around this area. The sampling points were selected in Tan Diew, Huai Haeng, Cham Pak Paew, and CU area by using Gravimetric Method. Two types of particulate matter including TSP and PM10 were monitored in 3 seasons during 4 years (2011-2014) in order to comparing the amount of particulate in each area during which season, and studying the correlation of TSP and PM10, as well as to identify the important factor related to the particulate level in the study area. When comparing the result from each area such as in 2011 the data found in Tan Diew identified that TSP and PM10 were found the highest in winter season, summer and rainy season, respectively. The year 2011 was the first year of the development of the constructions and also showed high TSP and PM10, especially PM10 which exceeded the standard in two areas, Tan Diew as of 0.1283 mg/m3 and CU area as of 0.1722 mg/m3. Furthermore, the results showed the (R2) of TSP and PM10 at 0.8291. Therefore, it can be concluded that, in each study area, there is the highest level of both TSP and PM10 in winter and the following factors such as wind direction and human activities etc. also effect the particulate level in each season and each area. The qualities of the water in each study areas have shown a high level of BOD5 and less amount of Heavy metal, both in surface water and ground water. Accordingly, the development of Chulalongkorn University does not have an impact on air quality and water quality. As a consequence, the monitoring should be done continuously.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46507
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1283
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1283
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5487239920.pdf7.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.