Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46692
Title: ผลของนิกเกิลต่อการกำจัดไซยาไนด์ในน้ำเสียโดยวิธีการออกซิไดซ์ด้วยเฟอร์เรต
Other Titles: Effect of nickel cyanide removal by ferrate oxidation
Authors: ภัทรวรรณ ติยานนท์
Advisors: เขมรัฐ โอสถาพันธุ์
พิชญ รัชฎาวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Khemarath.O@chula.ac.th
Pichaya.R@Chula.ac.th
Subjects: Nickel
Cyanides
Oxidation
Electroplating
Ferrites (Magnetic materials)
นิกเกิล
ไซยาไนด์
ออกซิเดชัน
การชุบเคลือบผิวด้วยไฟฟ้า
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ไซยาไนด์เป็นสารเคมีอันตรายที่มักพบอยู่ในน้ำเสียจากอุตสาหกรรมการชุบโลหะ วิธีการกำจัดไซยาไนด์ที่ใช้กันทั่วไปคือ การกำจัดโดยการออกซิเดชัน งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลของนิกเกิลต่อการกำจัดไซยาไนด์โดยวิธีการออกซิไดซ์ด้วยเฟอร์เรต โดยในส่วนแรกได้ทำการศึกษาถึงผลของนิกเกิลต่อการกำจัดไซยาไนด์โดยวิธีออกซิไดซ์ด้วยเฟอร์เรต โดยในส่วนแรกได้ทำการศึกษาถึงผลของนิกเกิลต่อประสิทธิภาพ และอัตราการเกิดปฏิกิริยาในการกำจัดไซยาไนด์ และส่วนต่อมาได้ทำการศึกษาถึงผลของนิกเกิล และอีดีทีเอต่อประสิทธิภาพการกำจัดไซยาไนด์ โดยทดลองในช่วงความเข้มข้นไซยาไนด์ และอีดีทีเอเท่ากับ 500 ไมโคโมลาร์ และใช้ความเข้มข้นนิกเกิลที่ความเข้มข้นอิ่มตัวที่แต่ละพีเอช ซึ่งทำการทดลองที่พีเอช 8 9 10 และ 11 ผลการทดลองในส่วนแรกพบว่า ประสิทธิภาพในการกำจัดไซยาไนด์มีค่าประมาณ 58% ที่พีเอช 8 ประมาณ 50% ที่พีเอช 9 และ 10 ประมาณ 38% ที่พีเอช 11 ซึ่งนิกเกิลมีผลทำให้ประสิทธิภาพในการกำจัดไซยาไนด์ลดลง และอัตราการเกิดปฏิกิริยาช้าลงที่ทุกๆ พีเอช แต่ไมมีผลต่อสารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น โดยสารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากการกำจัดไซยาไนด์คือ ยาเนต ในส่วนต่อมาเป็นการทดลองกับน้ำเสียสังเคราะห์ของไซยาไนด์ อีดีทีเอ และนิกเกิล ผลการทดลองพบว่าประสิทธิภาพในการกำจัดไซยาไนด์มีค่าประมาณ 61% ที่พีเอช 8 ประมาณ 95% ที่พีเอช 9 และ 10 ประมาณ 80% ที่พีเอล 11 ดังนั้น ในสารละลายที่มีอีดีทีเออยู่นั้นจะทำให้นิกเกิลไม่มีผลต่อประสิทธิภาพในการกำจัดไซยาไนด์ และสารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นคือ ไซยาเนต
Other Abstract: Cyanide is hazardous chemical widely found in the metal-plating wastewater. Typical cyanide removal method is the chemical oxidation. This research studied the effect of nickel on cyanide removal by ferrate oxidation. In the first part, the effect of nickel on cyanide removal efficiency and the chemical reaction rate were investigated with pH ranging from 8 to 11. In the second part, the effect of nickel and EDTA on cyanide removal efficiency was studied with pH ranging from 8 to 11. From the first part, cyanide removal efficiency was 58%, 50%, 50% and 48% at pH 8, 9, 10 and 11 respectively. It was found that nickel decreased the cyanide removal efficiency and slowed the chemical reaction rate for all pH, but had no effect on the reaction by-product, which was cyanate. From the second part, cyanide removal efficiency was 61%, 95%, 95%and 809% at pH 8, 9, 10 and 11 respectively. It might be concluded that in the presence of both EDTA and nickel gave minimal effect on cyanide removal efficiency.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46692
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.879
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.879
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patarawan.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.