Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47745
Title: แบบพฤติกรรมในการจัดการความขัดแย้งระหว่างบุคคลของบุคลากร ในองค์กรธุรกิจตามการรับรู้ของผู้บริหารระดับกลาง
Other Titles: Behavioral styles in managing interpersonal conflicts of personnel in business organizations as perceives by middle managers
Authors: ลัดดา วิศิษฐานนท์
Advisors: ชัยพร วิชชาวุธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chaiyaporn.W@Chula.ac.th
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาแบบพฤติกรรมในการจัดการความขัดแย้งระหว่างบุคคลของบุคลากรในองค์กรธุรกิจตามการรับรู้ของผู้บริหารระดับกลาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารระดับกลาง (ในกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม กลุ่มธุรกิจการค้า กลุ่มธุรกิจธนาคารและการเงิน และกลุ่มธุรกิจโรงแรม) จำนวนรวมทั้งสิ้น 370 คน การสุ่มกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบพฤติกรรมในการจัดการความขัดแย้งของชัยพร วิชชาวุธ ซึ่งแต่ละชุดประกอบด้วยข้อความที่วัดพฤติกรรมในการจัดการความขัดแย้ง 5 แบบ ในแต่ละแบบมีข้อความ 12 ข้อรวม 5 แบบเป็นข้อความทั้งสิ้น 60 ข้อซึ่งแบ่งเป็น 30 คู่ผู้ตอบเลือกตอบข้อความเพียง 1 ข้อความจาก 1 คู่ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เอส พี เอส เอส พีซี (SPSSPC) คำนวณค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบใช้ t-test และ F-test สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล 1. ผู้บริหารระดับกลางจัดการความขัดแย้งกับบุคลากรด้วยพฤติกรรม “นกฮูก” (เผชิญหน้ากัน) เป็นอันดับหนึ่ง และ “ตุ๊กตาหมี” (สัมพันธภาพราบรื่น) เป็นอันดับสองและ”เต่า” (ถอนตัว) เป็นอันดับสุดท้าย 2. ผู้บริหารระดับกลางรับรู้ว่าบุคลากรในองค์กรธุรกิจจัดการความขัดแย้งกับตนด้วยพฤติกรรม “นกฮูก” เป็นอันดับหนึ่ง และ “จิ้งจอก”(ประนีประนอม)เป็นอันดับสองและ”เต่า”เป็นอันดับสุดท้าย 3. ผู้บริหารระดับกลางที่มีอายุมากขึ้นหรือมีประสบการณ์มากขึ้นจัดการความขัดแย้งกับหัวหน้าด้วยพฤติกรรม “จิ้งจอก” ลดลง 4. ผู้บริหารระดับกลางที่มีระดับการศึกษาสูงขึ้นหรือมีจำนวนผู้ใต้บังคับบัญชามากขึ้นจัดการความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานด้วยพฤติกรรม”จิ้งจอก” และ “ฉลาม”(บังคับ)สูงกว่าผู้บริหารระดับกลางที่มีระดับการศึกษาน้อยหรือมีจำนวนผู้ใต้บังคับบัญชาน้อยตามลำดับและผู้บริหารระดับกลางที่มีประสบการณ์ด้านบริหารน้อยจัดการความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานด้วยพฤติกรรม "ตุ๊กตาหมี” สูงและลดลงเมื่อมีประสบการณ์ด้านบริหารมากขึ้นและสูงขึ้นเมื่อมีประสบการณ์ด้านบริหารมากที่สุดและผู้บริหารระดับกลางที่มีประสบการณ์ด้านบริหารน้อยจัดการความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานด้วยพฤติกรรม “จิ้งจอก” น้อยและเพิ่มขึ้นเมื่อมีประสบการณ์ด้านบริหารมากขึ้นและลดลงเมื่อมีประการณ์ด้านบริหารมากที่สุด 5. ผู้บริหารระดับกลางที่มีอายุมากขึ้นหรือมีจำนวนผู้ใต้บังคับบัญชามากขึ้นจัดการความขัดแย้งกับผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยพฤติกรรม “ฉลาม” และ “เต่า” ลดลงตามลำดับและผู้บริหารระดับกลางที่แต่งงานแล้วหรือมีจำนวนผู้ใต้บังคับบัญชามากขึ้นจัดการความขัดแย้งกับผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยพฤติกรรม “นกฮูก” สูงกว่าผู้บริหารระดับกลางที่โสดหรือมีจำนวนผู้ใต้บังคับบัญชาน้อย 6. ผู้บริหารระดับกลางเพศหญิงรับรู้ว่าหัวหน้าจัดการความขัดแย้งกับตนด้วยพฤติกรรม “จิ้งจอก” สูงกว่าผู้บริหารระดับกลางเพศชายและผู้บริหารระดับกลางที่มีประสบการณ์ในงานด้านบริหารมากขึ้นหรือมีจำนวนผู้ใต้บังคับบัญชามากขึ้นรับรู้ว่าหัวหน้าจัดการความขัดแย้งกับตนด้วยพฤติกรรม “จิ้งจอก” ลดลง 7. ผู้บริหารระดับกลางที่มีประสบการณ์ด้านบริหารน้อยรับรู้ว่าเพื่อนร่วมงานจัดการความขัดแย้งกับตนด้วยพฤติกรรม “ตุ๊ตาหมี” สูงและลดลงเมื่อมีประสบการณ์ด้านบริหารมากขึ้นและสูงขึ้นเมื่อมีประสบการณ์ด้านบริหารมากที่สุด 8. ผู้บริหารระดับกลางที่มีจำนวนผู้ใต้บังคับบัญชามากขึ้นรับรู้ว่าผู้ใต้บังคับบัญชาจัดการความขัดแย้งกับตนด้วยพฤติกรรม “นกฮูก” สูงกว่าผู้บริหารระดับกลางที่มีจำนวนผู้ใต้บังคับบัญชาน้อย
Other Abstract: The purpose of this research was to study the behavioral styles in managing interpersonal conflicts of personnel in business organizations as perceived by middle managers. The subjects, comprising three hundred and seventy persons from business organization, selected by Stratified Sampling, were assigned to do the questionnaire consisting of thirty-pair items of five styles of managing conflict (The Turtle =>Withdrawing; The Shark =>Forcing; The Teddy Bear =>Smoothing; The Fox =>Compromising; The Owl =>Confronting). The full mark for each type was six, thus the total mark was thirty. The data were analyzed through SPSSPC, frequency, means, standard deviation, t-test, and F-test. Findings are as follow: 1. In dealing conflicts with others, the styles they used most were Confronting and Smoothing consecutively; the least-used type was Withdrawing. 2. The styles others used most with them were Confronting and Compromising consecutively; the least-used type was Withdrawing. 3. In dealing conflicts with their leaders, Compromising style was usedless by the group with more work experience or with more age. 4. In dealing conflicts with their co-workers, the frequency of using Compromising style varied as their educational level; that of Forcing varied as the number of their subordinates. The more work experience they had, the less Smoothing style was used. Nevertheless, the tendency reversed when they had much more work experience. In addition, Compromising style was used increasingly when they gained more work experience. 5. In dealing conflicts with their subordinates the Forcing and Withdrawing styles used varied reversely with their age and number of their subordinates. Furthermore, the married group or the group with more subordinates used Confronting style more than the single group or the group with less subordinates. 6. The female group perceived that their leaders used Compromising style with them more than the male group. Moreover the tendency declined when their experience or their subordinates increased. 7. The tendency of the perception on their co-worker using the Smoothing style with them varied reversely with their work experience. Nevertheless, that was changed in the contrary direction with those having most work experience. 8. The group with more subordinates perceived that their subordinates used Confronting style with them more than the one with less subordinates.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการปรึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47745
ISBN: 9745792411
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ladda_vis_front.pdf991.95 kBAdobe PDFView/Open
Ladda_vis_ch1.pdf490.85 kBAdobe PDFView/Open
Ladda_vis_ch2.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open
Ladda_vis_ch3.pdf478.38 kBAdobe PDFView/Open
Ladda_vis_ch4.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open
Ladda_vis_ch5.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Ladda_vis_back.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.