Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50313
Title: การจัดตารางการผลิตชิ้นส่วนพลาสติก สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
Other Titles: Plastic parts production scheduling for automotive parts industry
Authors: พิรุณพร พิพัฒนพร
Advisors: ปวีณา เชาวลิตวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Paveena.C@Chula.ac.th,cpaveena@gmail.com
Subjects: อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์
การวางแผนการผลิต
Automobile supplies industry
Production planning
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนพลาสติกเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า ขึ้นรูปง่ายกว่า มีความสวยงามกว่าและคุณสมบัติของพลาสติกที่ใกล้เคียงกับวัตถุดิบประเภทโลหะ ผู้ผลิตจึงหันมาใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตจากพลาสติกเพิ่มมากขึ้น โดยกระบวนการผลิตที่สำคัญในการผลิตชิ้นส่วนพลาสติก คือ กระบวนการฉีดขึ้นรูปชิ้นงาน ซึ่งงานวิจัยนี้จะนำเสนอฮิวริสติกเกี่ยวกับการวางแผนการผลิตของอุตสาหกรมผลิตชิ้นส่วนพลาสติก ภายใต้สภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมที่ทำการศึกษาเป็นระบบการผลิตแบบตามงานที่มีการจัดวางเครื่องจักรในแต่ละขั้นตอนการแบบขนานและไม่สัมพันธ์กัน โดยมีเวลาปรับตั้งเครื่องจักรขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้ผลิตชิ้นงานลำดับก่อนหน้า วัตถุประสงค์ของการวางแผนการผลิตเพื่อให้มีเวลาปิดงานการผลิตที่ต่ำภายใต้เงื่อนไขหรือข้อกำหนดของกระบวนการผลิตที่ทำการศึกษา ฮิวริสติกสามารถแบ่งขั้นตอนการทำงานได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการจัดลำดับความสำคัญของเส้นทางการผลิตชิ้นงาน ขั้นตอนการจัดสรรงานลงเครื่องจักร และขั้นตอนการปรับปรุงคำตอบของแผนการผลิต โดยจะทำการประเมินประสิทธิภาพของฮิวริสติกด้วยการเปรียบเทียบกับวิธีการวางแผนการผลิตของโรงงานตัวอย่าง ซึ่งวิธีการวางแผนการผลิตของโรงงานตัวอย่างใช้หลักการเรียงลำดับการผลิตชิ้นงานด้วยเวลาผลิตชิ้นงานจากมากไปน้อย (Longest processing time: LPT) และกำหนดชิ้นงานให้สามารถผลิตบนเครื่องจักรใดเครื่องจักรหนึ่งได้เพียงเครื่องเดียว วิธีการวางแผนการผลิตของโรงงานตัวอย่างนี้เป็นวิธีการวางแผนการผลิตที่หลายๆโรงงานในอุตสหกรรมผลิตชิ้นส่วนพลาสติกใช้ในการวางแผนผลิต ผลลัพธ์ของการวางแผนการผลิตด้วยฮิวริสติกให้ผลลัพธ์ของเวลาปิดงานการผลิต (Makespan) ที่ดีกว่าวิธีการวางแผนการผลิตของโรงงานตัวอย่างประมาณ 28%
Other Abstract: Automotive plastic part industry plays more important role in Thailand automotive industry. The manufacturers increasingly change from using metal parts to plastic parts, because the resin production cost is cheaper than metal production cost, resin is easier to be formed than metal, resin is more attrractive than metal, and the plastic's properties are similar to the metal's properties. One of the key process in plastic part manufacturing is injection molding. This research presents a heuristic for scheduling production of plastic automotive parts based on a usual production environment, i.e., job shop production where each shop represents each production process which possesses non-identical parallel machines, and the setup of machines (considering both time and types of resins) depends on the sequence of jobs assigned. The objective is to lower makespan based on production constraints. The heuristic is composed of 3 steps: prioritizing production routes, allocating jobs to injection machines, and improving solutions. The heuristic performance is evaluated by comparing with basic dispatching rule LPT, (Longest Processing Time) along with fixing product with a specific machine having the highest production rate which is one of common used rule in practice. The results show that the heuristic can outperform LPT method by approximately 28%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50313
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.567
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.567
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670317421.pdf11.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.