Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50424
Title: การสืบทอดดนตรีไทยสำนักเกตุคง จังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: THAI MUSIC TRANSMISSION OF KEDKONG SCHOOL NAKHON RATCHASIMA PROVINCE
Authors: สันติ วิลัยสูงเนิน
Advisors: ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Patarawdee.P@Chula.ac.th,patarawdee@gmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมประวัติความเป็นมาของสำนักเกตุคงในจังหวัดนครราชสีมาและกระบวนการสืบทอดดนตรีไทยของสำนักเกตุคงในจังหวัดนครราชสีมา ผลจากการศึกษาพบว่า สำนักเกตุคงจังหวัดนครราชสีมาก่อตั้งประมาณปี พ.ศ.2493 โดยครูบุญยัง เกตุคง การถ่ายทอดความรู้มี 3 วิธีคือ 1.การถ่ายทอดโดยตรง 2.การถ่ายทอดจากศิษย์ถึงศิษย์ 3.การถ่ายทอดภายหลังจากศิษย์ได้ศึกษาด้วยตนเอง บทเพลงที่ถ่ายทอดนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1.เพลงที่ใช้ประกอบอาชีพ ได้แก่ เพลงประกอบการแสดงลิเก เพลงเสภา และเพลงมอญ 2.เพลงพิเศษ ซึ่งครูบุญยัง เกตุคง จะคัดเลือกถ่ายทอดให้กับศิษย์เฉพาะคน ได้แก่ เพลงหน้าพาทย์และเพลงเดี่ยว นอกจากความรู้เรื่องเพลงแล้วครูบุญยัง เกตุคง ยังประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับศิษย์จนกลายเป็นขนบและวิธีการปฏิบัติของสำนัก ได้แก่ การแต่งกาย การบรรเลง และการประพฤติตนให้เหมาะสม การสืบทอดความรู้ของสำนักนั้นพบว่าสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบ 1.การสืบทอดความรู้ของวงศิษย์เกตุคง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งในปัจจุบันคงเหลือเพียงการรวมตัวของศิษย์เพื่อบรรเลงในงานไหว้ครูเท่านั้น 2. การสืบทอดความรู้ดนตรีไทยในสายอาชีพนักดนตรีไทย โดยมีทั้งศิษย์ที่เป็นเจ้าของวงดนตรีไทย ได้แก่ วงปี่พาทย์มอญคณะรัตนบรรเลง วงปี่พาทย์ประยุกต์คณะ ร.รุ่งเรืองศิลป์ และกลุ่มอนุรักษ์ดนตรีไทยบ้านภูเขาลาด และศิษย์ที่ประกอบอาชีพเป็นนักดนตรีไทยอิสระ 3. การสืบทอดความรู้ดนตรีไทยในหน่วยงานราชการจากศิษย์ที่ทำงานในระบบราชการทั้งในและนอกจังหวัดนครราชสีมา ทั้งนี้การสืบทอดของศิษย์สำนักเกตุคง ยังคงรักษาขนบและวิธีการปฏิบัติของสำนัก
Other Abstract: The objective of this research is to study and gather the historical background of Kedkong School, Nakhon Ratchasima as well as the inherited process of Thai traditional music of Kedkong School in Nakhon Ratchasima province. The study result shown that Kedkong School, Nakhon Ratchasima was founded in 1950 by a well-known teacher, “Boonyang Kedkong”. There are 3 methods of musical knowledges transmission composed of 1) direct transmission, 2) disciples to disciples and 3) knowledge transmission after self-study of disciples. The songs utilized to pass on are classified by 2 types. 1) The songs that use to carry out the musical profession comprising the songs conducted in “Likay” performing, “Sae Pha” Song and “Mon” Song. 2) The particular song that “Boonyang Kedkong” specifically selected to pass on his knowledge to the individual disciple consisting of “Nah Phat” Song and “Deaw” Song. Not only musical knowledges passed on by “Boonyang Kedkong” but also he always conduct like a wonderful role model for all disciples until it becomes the typical manners of Kedkong School, for instance, formal dressing, musical performing and being well-behaved. The inherited knowledge of Kedkong School is classified by 3 methods consisting. 1) The musical knowledge transmission of Kedkong ensembles inherited by disciples in Nakhon Ratchasima province which is currently remaining for reunion of Kedkong disciples to perform music in the particular ceremony held to respect their teacher. 2) The inheritance of Thai traditional music for the professional’s Thai musician including the disciples who have their own ensembles composed of the applied Phi Phat ensembles, “Rung Reang Sin”, The Phi Phat Mon ensembles, “ Rattana Banleng” and the Thai musical conservative ensembles, “Ban Phu Khao Lad” and other disciples who are freelance working as Thai professionals musician. 3) The inherited knowledge of Thai traditional music in government sector carried out by the disciples who work as government officer both in Nakhon Ratchasima province and other province. The inheritance of Thai traditional music of Kedkong disciples are still conservatively carried out by typical manners of Kedkong School.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดุริยางค์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50424
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5686733535.pdf14.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.