Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50466
Title: เทคนิคการวิเคราะห์และประเมินคุณภาพของสัญญาณดาวเทียม GNSS ในการจัดตั้งสถานีรับสัญญาณดาวเทียม GNSS แบบต่อเนื่อง
Other Titles: ANALYSIS AND ASSESSMENT OF GNSS SIGNAL QUALITY FOR AN ESTABLISHMENT OF GNSS CONTINUOUS OPERATING REFERENCE STATION (CORS)
Authors: เสริม ชินรัตน์
Advisors: เฉลิมชนม์ สถิระพจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chalermchon.S@Chula.ac.th,Chalermchon.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการวิเคราะห์และประเมินคุณภาพของสัญญาณดาวเทียม Global Navigation Satellite Systems (GNSS) เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นเบื้องต้นก่อนที่จะมีการประมวลผลและจัดตั้งโครงข่ายสถานีรังวัดสัญญาณดาวเทียม GNSS อัตโนมัติ โดยอาศัยซอฟแวร์ TEQC (Translate Edit and Quality Checking) ที่มีความสามารถในการตรวจสอบและประเมินคุณภาพความสมบูรณ์ของข้อมูลและความคลาดเคลื่อน จากค่ามาตรฐานที่อ้างอิงจาก IGS (International GNSS Service) ได้กำหนด ผลลัพธ์ของการรังวัดในการจัดตั้งสถานีรับสัญญาณดาวเทียม GNSS แบบต่อเนื่องออกเป็นประเภทต่างๆ ซึ่งจะมีค่าประสิทธิภาพของข้อมูลอยู่ระหว่างจาก 65 – 95 ค่า Cycle Slip Ratio (CSR) จะมีค่าไม่เกิน 10 ค่าความคลาดเคลื่อนของคลื่นหลายวิถีในคลื่น L1 มีค่าอยู่ระหว่างจาก 0.30 - 0.56 และ ค่าความคลาดเคลื่อนของคลื่นหลายวิถีในคลื่น L2 มีค่าอยู่ระหว่างจาก 0.55 - 0.85 ตามลำดับ ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐานในการจัดตั้งสถานีรับสัญญาณดาวเทียม GNSS แบบต่อเนื่อง ประเภทต่าง ๆ เพื่อให้รองรับกับการใช้งานได้ทุกประเภท โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษามาจากกรมแผนที่ทหาร ซึ่งเป็นหมุดในโครงข่ายอ้างอิงและโครงข่ายหลัก รวมทั้งหมด 18 หมุด ปีที่ทำการสำรวจ พ.ศ.2556 ได้กำหนด อัตราการบันทึกข้อมูลที่ 15 วินาที และ และมุมกั้นฟ้าที่ 10 องศา ระยะเวลาบันทึกข้อมูล 24 ชั่วโมง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากค่าความคลาดเคลื่อนของคลื่นหลายวิถีในคลื่น L1 จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0.25 - 0.50 ค่าความคลาดเคลื่อนของคลื่นหลายวิถีในคลื่นหลายวิถี L2 จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0.25-0.70 ซึ่งค่าที่ได้ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์งานมาตรฐาน แต่จะมีเพียง 3 หมุดเท่านั้นที่มีค่าความคลาดเคลื่อนเกินเกณฑ์มาตรฐานในการจัดตั้งสถานีรับสัญญาณดาวเทียม GNSS แบบต่อเนื่อง
Other Abstract: This Research aims to explore approaches to analyze and evaluate the quality of GNSS signal to increase confidence prior to the processing and establishment of GNSS CORS with the use of the TEQC (Translate Edit and. Quality Checking) software. TEQC has an ability to monitor and assess the quality of GNSS data, its integrity and variability of error effect. According to the standard of the IGS (International GNSS Service), the result reveals that a sampling efficiency of observation station ranges from 65 to 95 and Cycle slip ratio (CSR) must be no greater than 10. In addition, the multipath effect on L1 and L2 value is between 0.03 to 0.56 and 0.55 to 0.85, respectively. In this Research, an analysis and evaluation of GNSS signal quality are classified using the standard to the processing and establishment of GNSS CORS for appropriate each job. The GNSS data sets collected by the Royal Thai Survey Department (RTSD) were used in this study. A total of 18 stations (including the zero and first order Thai geodetic network) were observed for a 24-hr time span in Nov 2013 with a 15-second sampling rate and 10-degrees cut-off angle. The results show that values of the multipath effect on L1 range from 0.25 to 0.5 while values of the multipath effect on L2 range from 0.25 to 0.7. Most of the stations are satisfied with the IGS standard, while only three stations are not satisfied.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสำรวจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50466
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770511921.pdf5.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.