Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50820
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรทัย ชวาลภาฤทธิ์en_US
dc.contributor.advisorธนาพล ตันติสัตยกุลen_US
dc.contributor.authorญาดา บุญยะมนิตย์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:04:18Z
dc.date.available2016-12-02T02:04:18Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50820
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเข้มคาร์บอนและความเข้มพลังงานของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติและเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าจากการวิเคราะห์เอ็กซ์เซอยี ใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์จากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติกรณีศึกษาในประเทศไทยจำนวน 3 โรงงาน รวบรวมข้อมูลเป็นระยะเวลา 2 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ถึง พ.ศ. 2557 ผลการศึกษาพบว่าค่าความเข้มคาร์บอนและความเข้มพลังงานเฉลี่ยของโรงไฟฟ้ากรณีศึกษามีค่าเท่ากับ 0.406 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง และ 7.422 จิกะจูลต่อเมกะวัตต์ชั่วโมง ตามลำดับ โดยแหล่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หลักเกิดจากกิจกรรมการเผาไหม้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ และเมื่อเปรียบเทียบค่าความเข้มคาร์บอนและความเข้มพลังงานของงานวิจัยนี้กับการศึกษาอื่นพบว่าค่าความเข้มคาร์บอนและความเข้มพลังงานของโรงไฟฟ้ากรณีศึกษาในงานวิจัยนี้มีค่าอยู่ในช่วงที่ต่ำแล้ว ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าโดยการวิเคราะห์เอ็กซ์เซอยี ใช้ข้อมูลของโรงไฟฟ้าตัวอย่าง 1 โรงงาน แบ่งเป็นการวิเคราะห์อัตราการทำลายเอ็กซ์เซอยีและประสิทธิภาพเอ็กซ์เซอยีของอุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ กังหันก๊าซ (GT) เครื่องผลิตไอน้ำจากความร้อนเหลือทิ้ง (HRSG) และกังหันไอน้ำ (ST) ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบที่มีศักยภาพในการปรับปรุงสูงที่สุด คือ HRSG เนื่องจากมีอัตราการทำลายเอ็กซ์เซอยีที่สูง ด้วยประสิทธิภาพเอ็กซ์เซอยีที่ต่ำที่สุด (57.84%) รองลงมา คือ GT ในขณะที่ประสิทธิภาพเอ็กซ์เซอยีพบมากที่สุดในกังหันไอน้ำความดันสูง (97.36%) ดังนั้นแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้ากรณีศึกษาสามารถทำได้โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพของ HRSG และ GT ซึ่งผลจากการปรับปรุงนี้จะส่งผลต่อปริมาณการใช้พลังงานที่ลดลงและลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงไฟฟ้าได้en_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to estimate energy and carbon intensities of natural gas combined-cycle power plants and to improve the efficiency of power plants through an exergy analysis. Three plants in Thailand were evaluated as case studies in this research using data collected in 2013 – 2014. The results showed that the average carbon and energy intensities of three Combined-Cycle Power Plants were 0.406 kgCO2/kWh and 7.422 GJ/MWh, respectively. The major source of carbon emissions was the natural gas combustion process. The range of energy and carbon intensities in this study was slightly lower than that of other studies. An efficiency analysis of system components through an exergy analysis classifying into 2 parts including exergy destruction and exergy efficiency with the data was collected from one power plant. In this study, the exergy analysis was performed with Gas turbine (GT), Heat Recovery Steam generator (HRSG) and Steam turbine (ST). The results illustrated that the HRSG has lowest exergy efiiciency (57.84%), while the HPST has the highest exergy efficiency (97.36%). To sum up, an exergy analysis is one approach has been used to improve the performance of power plants. The results showed that the HRSG has the most efficiency improvement potential followed by the GT. And improving the performance of HRSG and GT will result in lower energy use and emission reduction.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1295-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคาร์บอน
dc.subjectโรงไฟฟ้า
dc.subjectโรงจักรต้นกำลังความร้อนร่วม
dc.subjectCarbon
dc.subjectElectric power-plants
dc.subjectCombined cycle power plants
dc.titleศักยภาพการลดความเข้มคาร์บอนของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ โดยการวิเคราะห์เอ็กซ์เซอยีen_US
dc.title.alternativeCarbon intensity reduction potential of natural gas combined cycle power plants by exergy analysisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorOrathai.C@Chula.ac.th,Orathai.C@Chula.ac.then_US
dc.email.advisorthanapolosk@hotmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.1295-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670175621.pdf5.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.