Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50845
Title: แบบจำลองการวัดความเสถียรสำหรับระบบเซอร์วิซ
Other Titles: A Stability Measurement Model for Service System
Authors: อัคคนัฐ จอมจุมพล
Advisors: ทวิตีย์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Twittie.S@Chula.ac.th,Twittie.S@chula.ac.th
Subjects: เว็บเซอร์วิส
ซอฟต์แวร์ -- การพัฒนา
Web services
Computer software -- Development
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เทคโนโลยีเซอร์วิซ เช่น เว็บเซอร์วิซเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีหลักในการพัฒนาซอฟต์แวร์ เนื่องจากคุณลักษณะเด่น เช่น การแยกส่วนต่อประสานออกจากการพัฒนา ความสามารถใช้ซ้ำได้ง่าย และความสามารถในการประกอบกันได้ง่าย เซอร์วิซมีลักษณะเหมือนซอฟต์แวร์ทั่วไปคือ มีการปรับปรุงและบำรุงรักษาอยู่ตลอดเวลาอันเนื่องมาจากความต้องการหรือสภาพแวดล้อมการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปรวมถึงการแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงของเซอร์วิซที่เกิดขึ้นนั้น โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงส่วนต่อประสานอาจจะส่งผลกระทบต่อส่วนอื่น ๆ ของซอฟต์แวร์ ที่ใช้งานเซอร์วิซนั้น ดังนั้นการพิจารณาความเสถียรของเซอร์วิซ จะช่วยให้นักออกแบบเซอร์วิซทราบว่าระบบเซอร์วิซมีวิวัฒนาการที่ยังคงการออกแบบเดิมไว้อยู่ได้ดีเพียงใด วิทยานิพนธ์เล่มนี้เสนอแบบจำลองการวัดความเสถียรของระบบเซอร์วิซ แบบจำลองนี้มีพื้นฐานมาจากความเสถียรเชิงตรรกะของเว็บเซอร์วิซ ซึ่งวัดค่าความเสถียรจากระดับความไม่เปลี่ยนแปลงของส่วนต่อประสานของเซอร์วิซเมื่อเกิดวิวัฒนาการจากเวอร์ชันหนึ่งไปยังอีกเวอร์ชันหนึ่ง ค่าความเสถียรนั้นพิจารณาระหว่างคู่ของเวอร์ชันใด ๆ ของเซอร์วิซและของระบบเซอร์วิซ รวมทั้งความเสถียรโดยรวมของเซอร์วิซและของระบบเซอร์วิซที่มีวิวัฒนาการแบบเป็นเวอร์ชันคู่ขนาน ค่าความเสถียรที่วัดได้จะช่วยนักออกแบบเซอร์วิซในการบำรุงรักษาระบบเซอร์วิซ เนื่องจากเซอร์วิซเวอร์ชันใหม่ควรได้รับการออกแบบให้คงความเสถียรไว้เพื่อให้เกิดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากนี้นักออกแบบเซอร์วิซยังสามารถทราบได้ว่าเซอร์วิซและระบบเซอร์วิซมีความเสถียรเป็นอย่างไรตลอดช่วงชีวิต ซึ่งช่วยในการตัดสินใจนำเซอร์วิซมาใช้ซ้ำ หรือวางแผนต้นทุนและความพยายามในการบำรุงรักษาเซอร์วิซ
Other Abstract: Service technology, such as Web service, has been part of the mainstream of software development for some time due to its promising characteristics such as interface-implementation decoupling, reusability, and composability. Like other software, a service has to undergo maintenance during its lifetime to cope with changes in requirements and environment or to handle errors. Unfortunately certain changes of a service, especially service interface changes, can have effects on other parts of the system which use the service. It is therefore useful to determine service stability so that a service designer can determine how well the service-oriented system evolves while preserving the design. This thesis proposes a stability measurement model for service-oriented systems. The model is based on logical stability of a Web service which is measured by the degree of unchanged elements of the service interface during its evolution from one version to another. The thesis considers stability between any pair of service and system versions as well as the overall stability of the service and system which involve several parallel versions. The knowledge of service stability can help the service designer during maintenance of the service-oriented system since the new service version should be designed to preserve stability and cause as minimal impacts as possible. The service designer can also observe how stable the services and the whole system are over their lifetime when considering service reuse or planning service maintenance cost and effort.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมซอฟต์แวร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50845
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1350
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1350
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670991321.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.