Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51021
Title: การใช้พื้นที่อาคารราชการ กรณีศึกษาศูนย์บริหารราชการจังหวัดอำนาจเจริญ
Other Titles: Space utilization of government office building : a case study of Amnatcharoen Administrative-Center buidings
Authors: พิมลชรัตน์ ตั้งตระกูลวงศ์
Advisors: บัณฑิต จุลาสัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Bundit.C@Chula.ac.th,uan1950@hotmail.com,bunditchulasai@yahoo.com
Subjects: อาคารราชการ -- ไทย -- อำนาจเจริญ
อาคารสำนักงาน -- ไทย -- อำนาจเจริญ
อาคารสำนักงาน -- การใช้ประโยชน์
การจัดการอาคาร
Office buildings -- Thailand -- Amnatcharoen
Office buildings -- Utilization
Building management
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศูนย์บริหารราชการจังหวัดอำนาจเจริญ สร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.2539 เพื่อรวมหน่วยงานราชการไว้ในสถานที่เดียวกัน แต่ต่อมามีการก่อสร้างและวางแผนสร้างอาคารเฉพาะหน่วยงานเพิ่มขึ้น จึงมีวัตถุประสงค์จะศึกษาการใช้พื้นที่และปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงอาคารที่มีอยู่เดิม และการก่อสร้างอาคารใหม่ โดยใช้วิธีการสำรวจ สังเกตการณ์ และสัมภาษณ์ข้าราชการที่เกี่ยวข้อง ศูนย์บริหารราชการจังหวัดอำนาจเจริญ ประกอบด้วยอาคารศูนย์บริหารราชการ เป็นอาคารหลัก และอาคารหอประชุมพญานาครินทร์ เป็นอาคารประกอบ พื้นที่รวมทั้งสองอาคาร เท่ากับ 21,400 ตารางเมตร แต่เป็นพื้นที่สุทธิใช้งานได้เพียง 14,312 ตารางเมตร แบ่งเป็นพื้นที่ทำงาน 6,514 ตารางเมตร และพื้นที่สนับสนุน 7,798 ตารางเมตร ปัจจุบันเป็นที่ทำการของ 43 หน่วยงาน มีข้าราชการทำงานรวม 688 คน จากการสำรวจพบว่า 17 หน่วยงานมีพื้นที่เพียงพอแล้ว อีก 18 หน่วยงานมีพื้นทำงานเพียงพอ แต่พื้นที่สนับสนุนไม่เพียงพอ มีเพียง 8 หน่วยงานที่ต้องการทั้งพื้นที่ทำงานและพื้นที่สนับสนุน สำหรับหน่วยงานที่ต้องการพื้นที่สนับสนุนนั้น บางหน่วยงานมีหน้าที่ในการบริการประชาชน จึงต้องการพื้นที่รองรับประชาชนที่เข้ามาติดต่อครั้งละจำนวนมาก หลายหน่วยงานต้องการพื้นที่เก็บเอกสาร ที่ไม่สามารถทำลายได้ภายใน 10 ปี นอกจากนี้ยังพบว่า หลายหน่วยงานได้เปลี่ยนพื้นที่ทำงาน เป็นพื้นที่จัดเก็บเอกสาร เก็บวัสดุเครื่องใช้ พื้นที่ต้อนรับและพักคอย และประชุม หลายหน่วยงานจึงได้ก่อสร้างหรือวางแผนจะก่อสร้างอาคารเฉพาะหน่วยงาน เพื่อเพิ่มพื้นที่เก็บเอกสารเป็นหลัก รองลงมาคือพื้นที่ต้อนรับและพักคอย รวมทั้งพื้นที่เก็บวัสดุเครื่องใช้ พื้นที่ประชุม และพื้นที่สำหรับคนพิการ หากคำนวณพื้นที่ทำงานต่อคน ตามมาตรฐานกรมโยธาธิการและการผังเมือง พบว่ามีความต้องการพื้นที่ทำงานเพียง 4,993 ตารางเมตร ซึ่งต่อไปยังจะมีพื้นที่ทำงานเพิ่มมากขึ้น เมื่อสำนักงานประกันสังคม สำนักงานจัดหางาน และสำนักงานศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ย้ายออกไปใช้อาคารเฉพาะหน่วยงาน ที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2560 การศึกษาครั้งนี้จึงมีข้อสรุปว่า ศูนย์บริหารราชการจังหวัดอำนาจเจริญ แม้จะมีพื้นที่ทำงานเพียงพอ แต่ยังขาดพื้นที่สนับสนุน จึงมีข้อเสนอแนะว่า เมื่อมีหน่วยงานโยกย้ายออก ให้ปรับพื้นที่ทำงานเดิม เป็นพื้นที่สนับสนุนของหน่วยงานที่ยังคงอยู่ หากมีแผนการก่อสร้างอาคารเพิ่ม ให้สร้างอาคารเก็บเอกสาร วัสดุ และครุภัณฑ์ และอาคารศูนย์ปฏิบัติการ สำหรับหน่วยงานที่มีภาระหน้าที่ในการบริการประชาชน เพื่อเป็นการแก้ปัญหาพื้นที่สนับสนุนไม่เพียงพอ ทั้งยังเป็นดำเนินการตามผังแม่บทศูนย์ราชการที่ เคยกำหนดให้มีการก่อสร้างอาคารเก็บเอกสารเป็นอาคารประกอบ รวมทั้งในการก่อสร้างอาคารใหม่ ให้ผู้ออกแบบจัดเตรียมพื้นที่สนับสนุนให้เพียงพอต่อไป
Other Abstract: AMNATCHAROEN ADMINISTRATIVE-CENTER BUILDINGS was founded in 1996 in order to unite all governmental office within the same place. After that, the planning and construction for individual office was increasing, as a result, the objective for studying in space utilization and problem was established so that it can be a resolution for the existing building and the construction for the new building, through the investigation, observation and interview with the governmental officer. AMNATCHAROEN ADMINISTRATIVE-CENTER BUILDINGS is consisted of governmental ADMINISTRATIVE-CENTER BUILDINGS as the main building, the Phayanakarin auditorium as a minor building. The combined space of these two buildings is 21,400 squared meters but the net occupiable area (NOA) is 14,312 squared maters, which can be departed as following: working space 6,514 squared meters, supporting space 7,798 square meters. Currently, there are 43 offices with 688 officers operating in this area. From the research, 17 offices already have enough space, 18 offices have enough working space but not enough supporting space, only 8 offices that require more working and supporting space. The offices that request more supporting space is because they serve people directly so they need more space to provide for a number of visitors who come to these offices. Many offices need more space to store the document that cannot be destroyed within 10 years. Moreover, it was founded that many offices have changed their working space into the storage for document, equipment, reception and waiting area and meeting room. Therefore, a lot of offices have constructed or planned to construct their own building mostly to store the document, secondly is for the reception and waiting area, including equipment storage area, meeting area and handicapped area. The evaluated space per person combined, based on the department of public works and town &country planning standard, is only 4,993 square meter of which the working space is likely to increase since the social security office, employment office, homeless people protection center will be removed to the newly-constructed building that due to finish in 2017. The conclusion from this research is that even the AMNATCHAROEN ADMINISTRATIVE-CENTER BUILDINGS have adequate working space, the supporting space is still insufficient. Accordingly, the suggestion is that after some offices move out, the remain space should be utilized as supporting space for the existing offices. If there is a plan to construct the new building, there should be the building for storing document, material, durable articles and specific ADMINISTRATIVE-CENTER BUIDINGS for those office who directly serve the people as a solution for inadequate supporting space, furthermore, this can be applied to the major plan that has an objective to construct a document storage building as a minor building, in addition the architect must provide sufficient supporting space in further construction plan in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51021
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.460
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.460
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773570425.pdf18.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.