Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51182
Title: กลยุทธ์การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับการจัดการศึกษาโรงเรียนประถมเพื่อนำไปสู่ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: การใช้วิธีการเทียบเคียงสมรรถนะ
Other Titles: STRATEGIES OF INTEGRATING INFORMATION AND COMMUNICATION TECHNOLOGY FOR PRIMARY SCHOOL EDUCATIONAL MANAGEMENT TOWARD 21st CENTURY STUDENTS’ SKILLS: AN APPLICATION OF BENCHMARKING
Authors: ชวาลี สกุลเอี่ยมไพบูลย์
Advisors: ใจทิพย์ ณ สงขลา
ศิริเดช สุชีวะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Jaitip.N@Chula.ac.th,jaitipn@gmail.com,jatip.n@chula.ac.th
Siridej.S@Chula.ac.th,sujiva.siridej@gmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรฐานสำหรับการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโรงเรียน สำหรับเสริมสร้างทักษะที่มีความจำแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อศึกษาและเทียบเคียงสมรรถนะการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโรงเรียน ระหว่างโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) กับโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาประเภทสามัญ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ในด้านการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเพื่อพัฒนากลยุทธ์การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับการจัดการศึกษาเพื่อนำไปสู่ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาประเภทสามัญ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาทั่วประเทศไทย จำนวน 277 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความเหมาะสม แบบสอบถาม และผู้บริหารโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 5 คน ที่ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์ช่วงห่าง การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของมาตรฐานการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาในโรงเรียนระดับประถมศึกษา มี 4 องค์ประกอบ องค์ประกอบที่ 1 การบูรณาการ ICT ในโรงเรียน องค์ประกอบที่ 2 สมรรถนะผู้บริหาร องค์ประกอบที่ 3 สมรรถนะครูผู้สอน และองค์ประกอบที่ 4 สมรรถนะนักเรียน โดยองค์ประกอบทั้งหมดสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรร่วมกันได้ร้อยละ 56.15 ผลของการเทียบเคียงสมรรถนะพบว่า โรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนทั่วประเทศไทย มีคะแนนรวมเฉลี่ยของมาตรฐานการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ต่ำกว่า โรงเรียนที่ได้รับรองมาตรฐานสากลในประเทศไทย และโรงเรียนในประเทศสิงคโปร์ ในภาพรวม (ช่วงห่างที่ 11.20% -16.13% ตามลำดับ) และรายด้าน (ช่วงห่าง 6.19 % - 25.26% ตามลำดับ) ยกเว้นใน ด้านกระบวนการเรียนรู้ เป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจและเป็นแบบอย่างของพลเมืองยุคดิจิทัล และผลสัมฤทธิ์ ที่มีคะแนนรวมเฉลี่ยสูงกว่า (ช่วงห่าง -13.85%, -1.5% และ -4.00 % ตามลำดับ) กลยุทธ์การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ประกอบด้วย 1 วิสัยทัศน์ 6 พันธกิจ 22 กลยุทธ์ และ 89 แนวปฏิบัติ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1) ร่วมสร้าง ICT Roadmap 2) นโยบายมุ่งสู่ปฏิบัติ 3) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT ให้มีความมั่นคง มีประสิทธิภาพและทันสมัย 4) ใช้งานเทคโนโลยีอย่างเต็มศักยภาพ 5) แผนบำรุงดูแลรักษาวัสดุอุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ 6) สื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ 7) สร้างบรรยากาศการเรียนรู้นอกห้องเรียน 8) บูรณาการ ICT ตามแนวทางของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 9) สร้างแรงจูงใจในการบูรณาการ ICT ในการเรียนการสอน10) เรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 11) วินัยและจิตสำนึกในการใช้ ICT อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม 12) รณรงค์ให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ 13) ICT สร้างสัมพันธ์เครือข่าย 14) ICT พัฒนาการสื่อสารประชาสัมพันธ์ 15) ศูนย์ ICT บริการเบ็ดเสร็จ 16) ส่งเสริมการใช้ ICT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการบริการด้านการศึกษา 17) กำกับ ติดตาม ประเมินผลและตรวจสอบผลการดำเนินงานด้าน ICT 18) ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้าน ICT กับการจัดการศึกษา 19) ทักษะ ICT ขั้นสูงกับผู้บริหาร 20) ICT เสริมสร้างสมรรถนะบุคลากร 21) ยกระดับผู้สอนสู่มาตรฐานสากล และ22) พัฒนาภาวะผู้นำของครู
Other Abstract: This research aims to analyze and present the information communications and technology competencies standards and indicators for the integration of in primary schools, to benchmark the integration of information and communications technology of the primary schools under the Office of Private Education with the best practices school in the integration of information and communications technology and to propose the strategies of integrating of information and communications technology for primary school education toward 21st century students’ skills. The sample group was as follows 277 private school administrators were selected by cluster sampling while 5 school administrators from best practices schools were selected by purposive sampling. Data were collected by using questionnaires, assessment forms, interview form and document analysis forms. Descriptive statistics, exploratory factor analysis, gap analysis, SWOT analysis and content analysis were applied to analyze data. The study found the 4 factors of the integration of information and communications technology for education in primary schools include Factor 1 Integrating ICT in school performance, Factor 2 Administrators’ Competencies, Factor 3 Teachers’ Competencies and Factor 4 Students’ Competencies. All factors can be explained in 56.15 % of the variability of the variable. The result of benchmarks revealed that primary school under the Office of Private Education in Thailand had a lower total mean scores of integrating ICT for education than World Class Standard Schools and Singapore School both overall (gap 11.20% and gap 16.13% respectively) and in the individual category (gap 6.19 and gap 25.26% respectively) excluding the standard of Learning Process, Students’ Inspiration and Leaning Achievement which had a higher total mean scores. (gap -13.85%, gap -4.00 and gap -1.5% respectively) Strategies of integrating of information and communications technology in primary schools under the Office of Private Education has 1 vision 6 missions 22 strategies and 89 practices, namely, 1) ICT Roadmap 2) Just Do It 3) ICT infrastructure 4) Utilization of technology 5) ICT maintenance’s plan 6) Digital content for learning 7) ICT-rich learning environment 8) ICT for 21st century skills 9) Create teachers' motivation to use ICT in teaching 10) Ubiquitous learning 11) ICT ethical awareness 12) Encourage students to use technology for learning 13) ICT Partnership 14) ICT for communications 15) ICT 1 Stop Service Center 16) ICT for management and services 17) ICT for monitoring and evaluation 18) ICT transformational leadership 19) ICT advanced skills for administrator 20) ICT enhance performance 21) World-class standard teacher and 22) Teacher leaders.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51182
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5484454927.pdf8.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.