Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5138
Title: ลงสรงโทน : กระบวนท่ารำในการแสดงละครในเรื่องอิเหนา
Other Titles: Long Song Tone : dance patterns in Lakon Nai-Inao
Authors: วรรณพินี สุขสม
Advisors: ผุสดี หลิมสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การรำ -- ไทย
การอาบน้ำ -- ไทย
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาเรื่อง ลงสรงโทน กระบวนท่ารำในการแสดงละครในเรื่องอิเหนา โดยเลือกศึกษาการรำลงสรงโทนของปันหยี รำลงสรงโทนของสี่กษัตริย์ และรำลงสรงโทนของอิเหนา การวิจัยนี้ใช้วิธีศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ การสังเกตจากวิดีทัศน์และภาพถ่าย การฝึกหัดด้วยตนเองรวมทั้งประสบการณ์ในการแสดง ผลการวิจัยพบว่าการรำลงสรงโทนในการแสดงละครในเรื่องอิเหนา เป็นการรำที่ได้รับอิทธิพลความเชื่อมาจากศาสนาฮินดู ในเรื่องความสำคัญของการสรงน้ำของพระมหากษัตริย์ จนกลายเป็นพระราชพิธีในราชสำนักสืบมาแต่โบราณ แม้ในพิธีที่สำคัญๆ ของชีวิตก็ปรากฏว่ามีการอาบน้ำ รดน้ำ และสรงน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคล จึงทำให้มีการนำความสำคัญของการอาบน้ำไปสอดแทรกไว้ในวรรณศิลป์ และถ่ายทอดออกมาเป็นการแสดงในรูปแบบของการรำลงสรงตามลำดับ โดยเฉพาะรำลงสรงโทนจัดเป็นการรำที่บรมครูทางนาฏยศิลป์ไทย ใช้เป็นเครื่องมือในการนำเสนอกระบวนการทางความคิด เริ่มตั้งแต่บทร้อง กระบวนท่ารำ เครื่องแต่งกาย เพลงดนตรี ด้วยการใช้ตัวผู้รำเป็นสื่อให้เห็นความงดงามเหล่านั้น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการรำลงสรงโทนเพื่อออกรบ เพื่อออกเดินทาง เพื่อเข้าเฝ้า เพื่อปลอมตัว และเพื่อเข้าพิธีสำคัญ กระบวนท่ารำที่ใช้ในการรำเป็นการรำตีบทหรือรำใช้บท เพื่อให้เห็นลักษณะหรือตำแหน่งของเครื่องแต่งกาย ที่ตัวละครสวมใส่โดยมีท่วงท่าและลีลาตามแบบอย่างละครใน มีการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายเข้ามาผสมผสานกับท่ารำแต่ละท่า เพื่อให้เกิดการร้อยเรียงท่าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วยท่ารำหลัก ท่ารำขยาย ท่าเชื่อมและท่ารับ ขั้นตอนของการรำมีอยู่ 3 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 คือการอาบน้ำเรียกว่าลงสรง ขั้นตอนที่ 2 คือการประพรมเครื่องหอมเรียกว่าทรงสุคนธ์ และขั้นตอนที่ 3 คือการแต่งตัวเรียกว่าทรงเครื่อง ซึ่งในการรำลงสรงโทนนั้นขั้นตอนที่สำคัญและจะขาดเสียไม่ได้ คือขั้นตอนของการทรงเครื่อง การรำลงสรงโทนเป็นการรำที่ถือว่างดงามตามแบบแผนละครในของหลวง ที่มีการสืบทอดมาแต่รัชกาลที่ 2 การวิจัยนี้เพื่อให้ได้กระบวนท่ารำที่เป็นแบบแผน และเป็นแนวทางในการศึกษาถึงวิธีการประดิษฐ์ท่ารำและกลวิธีในการรำให้งดงาม ยังประโยชน์ในการฝึกฝนเพื่อพัฒนาฝีมือของผู้เรียนและผู้แสดง ซึ่งควรค่าแก่การศึกษาและการวิจัยในเชิงอนุรักษ์การรำที่เป็นแบบแผนต่อไป
Other Abstract: To study the Long Song Tone or the dance patterns in Lakon Nai named Inao. Long Song is the term of reverence meaning bathing or royal bathing. The Long Song Tone of Panyee, the Long Song Tone of the Four Kings and the Long Song Tone of Inao were selected for this study. This research used various methodologies such as related document study, interviews, videos and photos observation, personal practices and experience. The study revealed that the dance patterns of Long Song Tone in Lakon Nai-Inao, influenced by Hinduism, reflected in the ancient belief in holy water used in taking bath, sprinkling water as blessing and royal bathing ceremony for prosperity. The importance of bathing, brought by poets and embedded in literary works, therefore was demonstrated as Long Song dance patterns. Thai Dance Specialists identified Long Song Tone as a tool in presenting their ideology, starting from dance patterns, costumes, melodies through dancers' grace. Its purpose of this dance is for carrying on war, going on journey, having audience of the King, disguising and being in the important ceremonies. The dance patterns signified the meaning of words in the literary work and described the positions and characteristics of the dancer's costume and accessories. Its postures and graces were conformed to Lakon Nai pattern using the art of human organs movement together with each dance patterns to show the beauty and coherence among the core dance patterns, the subordinate pattern, transition pattern and the pattern used in refrains. The dance steps were 1) the step of bathing called Long Song 2) The step of perfuming or Song Sukon and 3) The step of dressing or Song Kreung. In Long Song Tone, the most important step that cannot be missed is dressing. Long Song Tone is recognized as one of the most gracious dance conforming to the art of Royal Lakon Nai which has been inherited since the reign of King Rama II. It is also the most important pattern for Thai dancers to study on how to choreograph a classical dance. It will also be the stage for practicing and personal development of students and performers worth studying preserving for the future
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5138
ISBN: 9741723717
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vanpinee.pdf13.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.