Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52864
Title: แนวทางการใช้ที่ดินเพื่อการท่องเที่ยวในชุมชนมุสลิม : กรณีศึกษาเกาะลันตาใหญ่
Other Titles: Land use guidelines for tourism in Muslim community : a case study of Lanta Yai Island
Authors: สุขุมาลย์ วิริโยธิน
Advisors: สุวัฒนา ธาดานิติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Suwattana.T@Chula.ac.th
Subjects: มุสลิม -- ที่อยู่อาศัย -- ไทย -- กระบี่
การใช้ที่ดิน -- การสำรวจ
การใช้ที่ดิน -- ไทย -- กระบี่
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย -- กระบี่
Muslims -- Housing -- Thailand -- Krabi
Land use -- Surveys
Land use -- Thailand -- Krabi
Tourism -- Thailand -- Krabi
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ภายหลังเหตุการณ์สึนามิเมื่อปี 2547 เกาะลันตากลายเป็นเป้าหมายใหม่ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ เมื่อมีการท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้นทำให้วัฒนธรรมของชาวมุสลิมซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของเกาะเริ่มเปลี่ยนแปลงไป โดยชุมชนมุสลิมบนเกาะนั้นไม่ปฏิเสธการท่องเที่ยว เนื่องจากทำให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของชุมชนมุสลิมบนเกาะลันเตาในการแบ่งเขตการใช้ที่ดินเพื่อการท่องเที่ยว เนื่องจากการแบ่งเขตการใช้ที่ดินนั้นเป็นวิธีการหนึ่งที่จะป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นจากท่องเที่ยวได้ และนำเสนอแนวทางในการแบ่งเขตการใช้ที่ดินเพื่อการท่องเที่ยวที่มาจากความต้องการของชุมชนเอง โดยมุ่งตอบคำถามการวิจัยที่ว่า ชุมชนมุสลิมบนเกาะลันเตาต้องการกำหนดการใช้ที่ดินเพื่อการท่องเที่ยวอย่างไร เพื่อป้องกันผลกระทบทางลบที่เกิดจากการท่องเที่ยว การวิจัยนี้ใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารและการลงภาคสนาม การลงวิจัยภาคสนามนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสำรวจชุมชน การสัมภาษณ์เชิงลึกและสัมภาษณ์กลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แนวคำสัมภาษณ์ ประชากรที่ศึกษาเป็นทั้งผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และชาวบ้านทั่วไป โดยมาจาก 7 หมู่บ้านเกาะลันตาใหญ่ ผลการศึกษาสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ คือ ชาวมุสลิมบนเกาะลันตาต้องการแบ่งเขตการใช้ที่ดินเพื่อการท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์และปกป้องวัฒนธรรม โดยไม่ได้กำหนดเส้นแบ่งเขตที่เป็นสิ่งปลูกสร้าง แต่เป็นการแบ่งเขตการใช้ที่ดินโดยใช้จิตสำนึกรับผิดชอบร่วมกันของคนในชุมชนและนักท่องเที่ยว ซึ่งสถานการณ์การท่องเที่ยวบนเกาะส่งผลให้ชุมชนต้องการเขตการใช้ที่ดิน 3 เขตด้วยกัน ได้แก่ เขตหวงห้าม เขตเสรีสำหรับการท่องเที่ยว และเขตชุมชน เขตหวงห้าม คือ เขตที่ห้ามนักท่องเที่ยวต่างศาสนาเข้าไปโดยเด็ดขาด ได้แก่ ตัวอาคารมัสยิดเพราะเป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมของชาวมุสลิมเท่านั้น ภายในรั้วมัสยิดสามารถเข้าไปได้แต่ต้องมีพฤติกรรมที่ให้เกียรติสถานที่ เขตเสรีสำหรับนักท่องเที่ยว คือ เขตทีนักท่องเที่ยวสามารถดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ ซึ่งได้แก่บริเวณชายหาด บริเวณที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว และสถานบันเทิง และสุดท้ายคือ เขตชุมชน คือ เขตที่นักท่องเที่ยวและชาวบ้านใช้พื้นที่ร่วมกัน นักท่องเที่ยวที่เข้ามาควรให้ความเคารพในวัฒนธรรมของชุมชนมุสลิม เขตชุมชนนี้สามารถแบ่งได้เป็นเขตชุมชนตะวันตกและชุมชนตะวันออก ซึ่งชุมชนฝั่งตะวันออกต้องการที่ปกป้องวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมไว้มากกว่าที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงที่ขัดแย้งกับศาสนา จึงต้องการให้การท่องเที่ยวเขตนี้เป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
Other Abstract: After the tsunami in December 2004, Lanta Island has become a new target area for tourism in Krabi Province. This phenomenon has adversely affected the culture of the majority Muslims living on the island. Muslims can not reject tourism since they rely heavily on tourism as their main source of income. At the same time they still want to preserve their culture. This thesis aims to study the needs of Muslim community on Lanta Island on land classification for tourism. This strategy is one way to prevent the negative impact of tourism on the people. This research also attempts to find an answer on how to identify tourism area which would reduce the negative impact on their culture and identify. This research is based on literature review and extensive field research. The field research comprised of community survey, in-depth interview, and group interview. Tools used during this research were mainly interview of key informants including community leaders, religious leaders, and support villagers from 7 areas in Lanta Island. The result of the study the hypothesis that Muslims on Lanta Island want to classify their land use separately for tourism purposes. This classification does not mean drawing border lines with visible buildings, but by agreeing on shared responsibility of the people in the community and the tourists, in order to avoid adverse impact of tourism on religious belief and daily lives routine. The community recommends that land be classified into three categories: restricted-zone, free-zone, community-zone. Restricted-zone is an area that non-Muslims can not enter including inner compound inside the mosques which are used for religious practice for Muslims. Tourist can enter the mosque surrounding perimeter but they must show respect when visiting. Free-zone is an area where tourist can fully implement their activities. These areas include the beach, tourists housing area, and entertainment area. Lastly community-zone is an area where locals and tourist can utilize. Tourists want to visit this area should pay respect to the Muslim culture. The area can be divided into western community-zone and eastern community-zone. The eastern side can preserve their culture and their ways of life without having to changes in ways which would contradict their religious belief and way of life.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนามนุษย์และสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52864
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1964
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1964
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sukhumam_wi_front.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
sukhumam_wi_ch1.pdf601.91 kBAdobe PDFView/Open
sukhumam_wi_ch2.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open
sukhumam_wi_ch3.pdf572.9 kBAdobe PDFView/Open
sukhumam_wi_ch4.pdf4.93 MBAdobe PDFView/Open
sukhumam_wi_ch5.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open
sukhumam_wi_ch6.pdf5.37 MBAdobe PDFView/Open
sukhumam_wi_ch7.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
sukhumam_wi_back.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.